ความหมายของคำที่มีรูปคำเหมือนกันในภาษาไทยกับภาษาลาว

ผู้แต่ง

  • วิราพร หงษ์เวียงจันทร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

รูปคำ, ความหมายของคำ, ภาษาไทย, ภาษาลาว

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ทางความหมายของคำที่มีรูปคำเหมือนกันในภาษาไทยกับภาษาลาว โดยเก็บข้อมูลจากพจนานุกรมลาว-ไทย-อังกฤษ ของคณาจารย์ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผลการศึกษาพบคำที่มีรูปคำเหมือนกันจำนวน 238 คำ เมื่อพิจารณาความหมายของคำพบว่าคำเหล่านี้มีความสัมพันธ์ทางความหมาย 6 ลักษณะ ได้แก่ 1) คำที่มีรูปคำเหมือนกันและมีความหมายคล้ายคลึงกัน 2) คำที่มีรูปคำเหมือนกันแต่คำ ในภาษาไทยมีความหมายกว้างกว่าภาษาลาว 3) คำที่มีรูปคำเหมือนกันแต่คำในภาษาไทยมีความหมายแคบกว่าภาษาลาว 4) คำที่มีรูปคำเหมือนกันแต่คำในภาษาไทยมีความหมายมากกว่าภาษาลาว 5) คำที่มีรูปคำเหมือนกันแต่คำในภาษาไทยมีความหมายน้อยกว่าภาษาลาว และ 6) คำที่มีรูปคำเหมือนกันแต่มีความหมายแตกต่างกัน

References

กมลา นาคะศิริ. (2542). เบื้องหลังงานวิจัยเรื่องพจนานุกรมสามภาษา: ลาว-ไทย-อังกฤษ. วารสารมนุษยศาสตร์. 7(1), หน้า 103-109

กัญญนัช ชะนะจิตร. (2560). การสร้างคำและความหมายของสแลงในเฟซบุ๊ก. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์เพื่อการสื่อสาร, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

คณาจารย์ภาควิชาภาษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2543). พจนานุกรมลาว-ไทย-อังกฤษ.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ชัชวดี ศรลัมพ์. (2558). ระบบความหมาย ใน ดียู ศรีนราวัฒน์ และ ชลธิชา บำรุงรักษ์ (บ.ก.), ภาษาและภาษาศาสตร์. (หน้า 169-196). ปทุมธานี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ดุษฎีพร ชำนิโรคศานต์. (2526). ภาษาศาสตร์เชิงประวัติและภาษาไทยเปรียบเทียบ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นันทนา วงษ์ไทย. (2561). ภาษาและความหมาย. กรุงเทพฯ: เค.ซี.อินเตอร์เพรส.

บุนมี เทบสีเหลือง. (2553). ความเป็นมาของชนชาติลาว เล่ม 1 การตั้งถิ่นฐานและสถาปนาอาณาจักร. กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.

สมาคมไทย-ลาว กระทรวงการต่างประเทศ. (2546). ปทานุกรมคำพ้องไทย-ลาว. กรุงเทพฯ: มติชน.

สุริยา รัตนกุล. (2555). อรรถศาสตร์เบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นครปฐม: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหิดล.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. (พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

รัตนา จันทร์เทาว์. (2554). การสัมผัสภาษา: ภาษาไทยและภาษาลาวของคนลาว. วารสารสังคมลุ่มน้ำโขง. 7(3), หน้า 121-134

วีระพงศ์ มีสถาน. (2543). พจนานุกรมลาว-ไทย. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.

สุภา อังกุระวรานนท์. (2527) การศึกษาความหมายแฝงของคำว่า “ผู้หญิง” จากความเปรียบในบทเพลงไทยสากล. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ยิ่งยศ กันจินะ. (2559). การศึกษาความหมายของคำว่า “พม่า” ด้วยคำปรากฏร่วมจากคลังข้อมูลภาษาไทย. สืบค้นจาก https://www.researchgate.net/publication/319618235_

Cruse, D. A. (1986). Lexical Semantics. Cambridge: Cambridge University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2019