การจัดระเบียบบริหารราชการฝ่ายรัฐสภา
คำสำคัญ:
ระเบียบบริหารราชการฝ่ายรัฐสภา, ระบบงานรัฐสภาบทคัดย่อ
บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดระเบียบบริหารราชการฝ่ายรัฐสภา ทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา การจัดระบบงาน การบริหารงานบุคคล และวิธีการงบประมาณ สำหรับรองรับระบบงานรัฐสภา เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันการจัดระเบียบบริหารราชการฝ่ายรัฐสภาเป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ.2554 และพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. 2554 ซึ่งมีปัญหาในการบังคับใช้อยู่หลายประการ จำเป็นต้องมีการแก้ไข เพื่อให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาสามารถรองรับระบบงานของรัฐสภาได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์ โดยการแก้ไขให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภามีอำนาจหน้าที่ การจัดระบบงาน การบริหารงานบุคคล และการงบประมาณที่สอดคล้องกัน และต้องมีการทบทวนกฎ ก.ร. ระเบียบ และหลักเกณฑ์การบริหารงานบุคคลให้สอดคล้องกับระบบงานของรัฐสภา ส่วนด้านการงบประมาณ เพื่อให้การบริหารราชการฝ่ายรัฐสภามีอิสระตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญและกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการฝ่ายรัฐสภาจำเป็นต้องแก้ไขให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาเป็นหน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ ส่วนด้าน ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายการเมืองและฝ่ายข้าราชการประจำ ซึ่งมีผลโดยตรงต่อการกำกับการบริหารราชการของ ส่วนราชการสังกัดรัฐสภา จึงจำเป็นต้องกำหนดให้มีคณะกรรมการกำกับการบริหารราชการฝ่ายรัฐสภา ขึ้นทำหน้าที่แทน ก.ร. และแก้ไขวิธีการสรรหากรรมการ ก.ร. ผู้ทรงคุณวุฒิและอำนาจหน้าที่ของ ก.ร. โดยให้ ก.ร. มีอำนาจหน้าที่เฉพาะที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลเท่านั้น
References
กระทรวงการต่างประเทศ. (2552). สหรัฐอเมริกา. สืบค้นจาก http://www.mfa.go.th/web/2388.php?id=266
ณ กมล ไม้ประดิษฐ์. (2546). รัฐสภาเครือรัฐออสเตรเลีย (The Parliament of the Commonwealth of Australia). กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2543). การปรับปรุงระบบงานของหน่วยงานในสังกัดรัฐสภา. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2552). รายงานการศึกษาดูงานต่างประเทศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ก.ร.) ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศแคนาดา ประเทศนิวซีแลนด์และประเทศออสเตรเลีย. กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
สถาบันพระปกเกล้า. (2543). โครงการศึกษาวิจัยเพื่อปรับปรุงระบบงานของหน่วยงานในสังกัดรัฐสภา. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.
รัฐสภา. (2490, มกราคม 27). พระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2490, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 64 ตอนที่ 2.
รัฐสภา. (2518, กุมภาพันธ์ 6). พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2518, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอนที่ 27 ฉบับพิเศษ.
รัฐสภา. (2544, ตุลาคม 11). ประกาศรัฐสภา เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา พ.ศ. 2544, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 118 ตอนที่ 101ง พิเศษ.
รัฐสภา. (2545, กรกฎาคม 25). ประกาศรัฐสภา เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2545, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 119 ตอนที่ 60 ง.
รัฐสภา. (2554, พฤษภาคม 11). พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการฝ่ายรัฐสภาพ.ศ. 2554, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 128 ตอนที่ 34 ก.
Couderc, M. (2010). The administrative and financial autonomy of parliamentary assemblies, adopted at the Moscow Session. Retrieved from http://www.asgp.co/sites/default/files/documents//OMQJLYHYSWWZWJFVQGFGIIDSANRDGW.pdf
Parliamentary of Australia. (2010). Parliamentary Departments. Retrieved from http://www.aph.gov.au/department/index.htm
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- บทความในวารสารวิชาการมนุษย์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์ ไม่ใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ และไม่ใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการและ/หรือของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
- บทความที่ได้รับตีพิมพ์จะมีการตรวจความถูกต้องเหมาะสมจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (peer review) จำนวน 3 คน โดยผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบผู้นิพนธ์ และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (double-blind peer review)