ภาษาพาดหัวข่าว “หมูป่าติดถ้ำหลวงฯ” ในหนังสือพิมพ์ออนไลน์ The Language of News Headlines
คำสำคัญ:
ภาษาพาดหัวข่าว, หนังสือพิมพ์ออนไลน์, กลวิธีทางภาษาในข้อความบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์การใช้ภาษาพาดหัวข่าวในหนังสือพิมพ์ออนไลน์ จำนวน 67 พาดหัวข่าว โดยใช้กรอบแนวคิดกลวิธีทางภาษาในข้อความ (linguistic strategies) ของ จันทิมา อังคพณิชกิจ (2561) วิเคราะห์โดยพิจารณาถ้อยคำ ความหมายของถ้อยคำ ตามบริบทภายใน ตัวบท (internal context) โดยนับความถี่และใช้ค่าสถิติร้อยละของรูปภาษาที่ปรากฏในตัวบท ผลการศึกษา พบว่า การใช้ภาษาพาดหัวข่าวในหนังสือพิมพ์ออนไลน์มี 2 ลักษณะ คือ 1) กลวิธีทางศัพท์ และ 2) กลวิธี ทางโครงสร้างของพาดหัวข่าว กลวิธีทางศัพท์พบ 4 ลักษณะ ได้แก่ 1) การเรียกชื่อ 2) การปฏิบัติต่อ ผู้ประสบเหตุ 3) สภาพของผู้ประสบเหตุ และ 4) สภาพผู้ช่วยเหลือผู้ประสบเหตุ โดยพบรูปภาษา การเรียกชื่อมากที่สุด ส่วนกลวิธีทางโครงสร้างของพาดหัวข่าว พบ 3 ลักษณะ ได้แก่ 1) การใช้คำตัดสั้นหรือกร่อนคำ 2) การละประธานของประโยค และ 3) การละคำเชื่อม
References
กัญชลิกา ตรีกลางดอน. (2560). กลวิธีทางภาษาที่หนังสือพิมพ์ไทยใช้ในการนำเสนอกลุ่มชาติพันธุ์ โรฮีนจา. วรรณวิทัศน์, 2560(17), หน้า 162-187.
เด่นออนไลน์. (2561, กรกฎาคม 3). ลำดับเหตุการณ์ค้นหาทีมหมูป่า จากวันแรกถึงวันที่พบ 13 ชีวิต. ข่าวสด. สืบค้นจาก https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_1291506
จันทิมา อังคพณิชกิจ. (2561). การวิเคราะห์ข้อความ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ธรรมศาสตร์.
ชุติมา สาตร์ร้าย. (2556). ภาษาข่าวหน้าหนึ่งในหนังสือพิมพ์แจก M2F. ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการพัฒนาอาชีพ, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ธีร์วรา ขะบูรณ์. (2557). วิเคราะห์การใช้ภาษาพาดหัวข่าวในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 11(2), หน้า 105-116
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
สุทธิดา นาคเจริญ. (2559). การพาดหัวข่าวในสื่อออนไลน์. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 12(6), หน้า 143-152.
อารยะ ศรีกัลยาบุตร. (2550). การออกแบบสิ่งพิมพ์. กรุงเทพฯ: ภาควิชานฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- บทความในวารสารวิชาการมนุษย์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์ ไม่ใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ และไม่ใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการและ/หรือของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
- บทความที่ได้รับตีพิมพ์จะมีการตรวจความถูกต้องเหมาะสมจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (peer review) จำนวน 3 คน โดยผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบผู้นิพนธ์ และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (double-blind peer review)