การศึกษาและพัฒนาตราสัญลักษณ์บนบรรจุภัณฑ์ทางการเกษตร กรณีศึกษาศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
คำสำคัญ:
ตราสัญลักษณ์, ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง, บรรจุภัณฑ์ทางการเกษตรบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาบริบทพื้นที่และตราสัญลักษณ์เดิมบนบรรจุภัณฑ์ ทางการเกษตร กรณีศึกษาศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 2) เพื่อพัฒนาตราสัญลักษณ์บนบรรจุภัณฑ์ทางการเกษตร กรณีศึกษาศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจที่มีต่อตราสัญลักษณ์บนบรรจุภัณฑ์ทางการเกษตร กรณีศึกษาศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้นำชุมชนและปราชญ์ท้องถิ่น จำนวน 3 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบกราฟิก จำนวน 3 ท่าน และสมาชิกศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (standardized or structured interview) และ การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (participant observation) แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของแบบร่างตราสัญลักษณ์บนบรรจุภัณฑ์ทางการเกษตร และแบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อตราสัญลักษณ์บนบรรจุภัณฑ์ทางการเกษตร วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย (x̅) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า สมาชิกศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ให้ความเห็นว่ามีความพึงพอใจต่อตราสัญลักษณ์บนบรรจุภัณฑ์ทางการเกษตรรูปแบบที่ 3 ในระดับมากที่สุด (x̅= 4.54, S.D. = 0.63)
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2548). การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย spss for window. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ทวีเดช จิ๋วบาง. (2547). เรียนรู้ทฤษฎีสี. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์
ทรงวุฒิ เอกวุฒิวงศา. (2557). หลักการคิดวิเคราะห์เพื่อการออกแบบผลิตภัณฑ์ พื้นฐานการคิดเชิงพัฒนาผลิตภัณฑ์. กรุงเทพฯ: มีน เซอร์วิสซัพพลาย
ทองเจือ เขียดทอง. (2548). การออกแบบสัญลักษณ์. กรุงเทพฯ: สิปประภา.
นิรัช สุดสังข์. (2548). การวิจัยการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์
นวลน้อย บุญวงษ์. (2539). หลักการออกแบบ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ประชิด ทิณบุตร. (2530). การออกแบบกราฟิก. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์.
พรสนอง วงศ์สิงห์ทอง. (2550). วิธีวิทยาการวิจัยการออกแบบผลิตภัณฑ์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิรุณ ตั้งเจริญ. (2526). การออกแบบ. กรุงเทพฯ: โอ.เอส. พริ้นติ้งเฮ้าส์.
วรพงศ์ วรชาติอุดมพงศ์. (2540). ออกแบบกราฟิก. กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร.
อุดมศักดิ์ สาริบุตร. (2545). การออกแบบอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- บทความในวารสารวิชาการมนุษย์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์ ไม่ใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ และไม่ใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการและ/หรือของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
- บทความที่ได้รับตีพิมพ์จะมีการตรวจความถูกต้องเหมาะสมจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (peer review) จำนวน 3 คน โดยผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบผู้นิพนธ์ และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (double-blind peer review)