“พญามังราย” ปฐมกษัตริย์แห่งการปกครองแผ่นดินล้านนาโดยธรรม

ผู้แต่ง

  • จรูญ แดนนาเลิศ สำนักวิชาบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ประยูร อิมิวัตร์ สำนักงานบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

พญามังราย, อาณาจักรล้านนา, การปกครองแผ่นดินโดยธรรม

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีจุดหมาย เพื่อศึกษาแนวทางการปกครองอาณาล้านนาตามหลักการปกครองแผ่นดินโดยธรรมของพญามังราย ที่ทำให้ทำให้อาณาจักรล้านนาในช่วงดังกล่าวมีความเจริญรุ่งเรืองมาก ประการที่สอง คือ การนำเสนอแนวทางการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตามหลัก “มังรายศาสตร์” ผู้เขียนใช้การสังเคราะห์จากเอกสาร หนังสือ งานวิจัย บทความวิชาการเป็นหลักและมีเกร็ดความรู้จากเว็บไซต์ประกอบการอธิบาย บทความนี้แยกเนื้อหาออกเป็นสามส่วนหลัก ๆ ส่วนแรกเป็นการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ของรัฐล้านนาซึ่งมีพื้นฐานมาจากรัฐพื้นเมือง คติเกี่ยวกับรัฐและกษัตริย์ล้านนามีรูปแบบเฉพาะของท้องถิ่นเรียบง่าย โดยรับเอาแนวคิดจารีตท้องถิ่นและแนวคิดที่รับจากพระพุทธศาสนา ลักษณะการปกครองแบบหลวม ๆ เมืองราชธานีไม่มีอำนาจมากนัก สังคมล้านนาสมัยโบราณมีศูนย์กลางอยู่ที่สถาบันพระมหากษัตริย์ ลักษณะเด่นของสถาบันพระมหากษัตริย์ล้านนาคือสถาบันกษัตริย์มีลักษณะเรียบง่าย และกษัตริย์ไม่มีฐานะเป็นเทพเจ้าหรือเทวราชา ส่วนที่สองเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับโครงสร้างการปกครองอาณาจักรล้านนาตามคติจักรวาลของรัฐโบราณ ให้ความสำคัญต่อศูนย์กลางอำนาจซึ่งเป็นเมืองราชธานีมีฐานะเป็นศูนย์กลางจักรวาลและหัวเมืองขึ้นเป็นเมืองบริวารตั้งอยู่รายรอบส่วนเมืองชายขอบที่อยู่ห่างจากเมืองราชธานีมีความสำคัญลดลงตามลำดับ และเนื้อหาส่วนสุดท้ายเป็นการรวบรวมข้อมูลหลัก “มังรายศาสตร์” กฎหมายเก่าแก่ที่สุดแห่งอาณาจักรล้านนา เป็นกฎหมายที่พัฒนาขึ้นมาจากระเบียบแบบแผน ขนบธรรมเนียมท้องถิ่นศาสนาและจารีตประเพณีที่สั่งสมกันมาจนเป็นระบบ ดังนั้นแนวความคิดธรรมราชาแบบล้านนา คือแนวคิดที่เน้นความเป็นกษัตริย์ผู้ทรงทำตามคติพระพุทธศาสนากษัตริย์ควรปฏิบัติตนอยู่ในความดีงามในกรอบพระพุทธศาสนากษัตริย์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาโดยถือว่าพระองค์คือองค์อุปถัมภ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ในอาณาจักร กษัตริย์ทำหน้าที่ทำนุบำรุงและส่งเสริมพระพุทธศาสนาให้แพร่หลายและแนวทางการสร้างการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตามหลัก “มังรายศาสตร์” การใช้หลักนิติธรรมในการปกครองรักษาความสงบเรียบร้อยของพสกนิกรในแผ่นดินให้เกิดความมั่งคงเชื่อมั่นในชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งเป็นอิทธิพลของการนำเอาอักษรแบบสุโขทัยมาใช้ในอาณาจักรล้านนา

References

ประเสริฐ ณ นคร. (2528). มังรายศาสตร์ ฉบับวัดเชียงมั่น: อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ วิทยาลัยครูเชียงใหม่.

ประเสริฐ ณ นคร. (2549). ประวัติศาสตร์เบ็ดเตล็ด .กรุงเทพฯ: มติชน.

ภาสกร วงศ์ตาวัน. (2555). เมืองโบราณเหนือแผ่นดินสยาม: จากอดีตถึงปัจจุบัน-ประวัติศาสตร์เรื่องบ้านเมืองสำคัญ. กรุงเทพฯ: ยิปซี กรุ๊ป.

สงวน โชติสุขรัตน์. (2552). ตำนานเมืองเหนือ. นนทบุรี: ศรีปัญญา.

สรัสวดี อ๋องสกุล. (2553). ประวัติศาสตร์ล้านนา. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-12-2018