ข้อจำกัดของกฎหมายไทยเกี่ยวกับการประกันการชำระหนี้ ด้วยรถยนต์นั่งส่วนบุคคล
คำสำคัญ:
รถยนต์นั่งส่วนบุคคล, ประกันหนี้, เจ้าหนี้มีประกันบทคัดย่อ
ในสังคมไทยปัจจุบันมีประชาชนจำนวนมากที่ต้องการเงินหมุนเวียนใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อการดำรงชีวิต วิธีการหนึ่งที่อาจได้มาซึ่งเงินหมุนเวียนเมื่อมีความจำเป็น คือ การกู้ยืมเงิน และในการกู้ยืมเงินของประชาชน เจ้าหนี้มักจะต้องการหลักประกันเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ แต่การให้หลักประกันในบางกรณีตามกฎหมายยังไม่สอดคล้องกับความต้องการใช้ประโยชน์ในระหว่างเป็นประกัน และเจ้าหนี้ยังไม่มีฐานะเป็นเจ้าหนี้มีประกันตามกฎหมาย ในการนี้ผู้เขียนจึงมีความประสงค์ในการศึกษาวิเคราะห์ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเกี่ยวกับข้อจำกัดของกฎหมายไทยเกี่ยวกับการประกันการชำระหนี้ด้วยรถยนต์นั่งส่วนบุคคล เพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนากฎหมายให้เกิดประโยชน์ต่อการใช้รถยนต์นั่งส่วนบุคคล เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ที่มิใช่หลักประกันทางธุรกิจของประชาชน
จากการศึกษาวิเคราะห์พบว่า กฎหมายไทยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 ยังไม่สอดคล้องกับความต้องการนำรถยนต์นั่งส่วนบุคคลมาเป็นประกันหนี้ของประชาชนโดยทั่วไปได้ จึงเห็นควรปรับปรุงกฎหมายในส่วนของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ให้สอดคล้องกับความต้องการนำรถยนต์นั่งส่วนบุคคลมาเป็นประกันหนี้และทำให้เกิดความเชื่อมั่นแก่เจ้าหนี้ผู้รับหลักประกัน จึงจะสามารถส่งเสริมการประกันการชำระหนี้ด้วยรถยนต์นั่งส่วนบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างเป็นระบบ
References
ดาวพฤหัส. (2519). คำมั่นสัญญา. วารสารดุลพาห, 23 (4): 33.
ถาวร โพธิ์ทอง. (2528). อธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยประกันด้วยบุคคลและทรัพย์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ธานินทร์ กรัยวิเชียร และวิชา มหาคุณ. (2548). การตีความกฎหมาย. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนชวนพิมพ์ จำกัด.
ปกรณ์ นิลประพันธ์. (2543). แนวความคิดเกี่ยวกับการใช้ทรัพย์สินเป็นหลักประกันการชำระหนี้, วารสารกฎหมายปกครอง. 20 (1): 75-89.
ประเสริฐ ตัณศิริ, สุรพล วิเศษโกสิน และชูชาติ ศิรินิล. (2541). คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยค้ำประกัน จำนอง จำนำ สิทธิยึดหน่วงและบุริมสิทธิ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- บทความในวารสารวิชาการมนุษย์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์ ไม่ใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ และไม่ใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการและ/หรือของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
- บทความที่ได้รับตีพิมพ์จะมีการตรวจความถูกต้องเหมาะสมจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (peer review) จำนวน 3 คน โดยผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบผู้นิพนธ์ และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (double-blind peer review)