มหาวิทยาลัยราชภัฏ...พัฒนาท้าทายอย่างไร…จึงจะไปรุ่ง

ผู้แต่ง

  • วิเศษ ชิณวงศ์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

คำสำคัญ:

การพัฒนาอย่างยั่งยืน, ราชภัฏ, มหาวิทยาลัยราชภัฏ, การพัฒนาท้องถิ่น

บทคัดย่อ

มหาวิทยาลัยราชภัฏ ที่มีพัฒนาการมาจากโรงเรียนฝึกหัดครูเป็นจุดเริ่มต้น ผ่านการฝึกฝนหล่อหลอมมายาวนานจนพัฒนาตนเองเป็นมหาวิทยาลัยที่มีการจัดการศึกษาหลากหลายสาขามากขึ้น นอกเหนือจากการผลิตและพัฒนาครู และเมื่อยกฐานะเป็นสถาบันอุดมศึกษาแล้ว มหาวิทยาลัย ราชภัฏจึงต้องสร้างพันธกิจให้สัมพันธ์กับความเป็นอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นให้เข้มข้นทั้งด้านเศรษฐกิจ เทคโนโลยี การเมือง วัฒนธรรม สังคมและท้องถิ่นอย่างแท้จริง บนฐานการบริหารจัดการที่เน้นธรรมาภิบาล โดยการพัฒนาหลักสูตรด้านการเรียนการสอน งานวิจัยและงานสร้างสรรค์ การบริการวิชาการแก่สังคม ตลอดจนงานส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม ที่มีชุมชนท้องถิ่นเป็นฐานในการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

ด้วยความเป็น “ราชภัฏ” ที่หมายถึง “คนของพระราชา ข้าของแผ่นดิน” ซึ่งมีความหมายที่สำคัญและลึกซึ้งมาก เปรียบเสมือนว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏทุกแห่งทั่วประเทศ ได้เป็นผู้ทำงานถวาย เพื่อสนองพระราชกรณียกิจของพระเจ้าแผ่นดิน ในเรื่องการพัฒนาประชาชนทุกหมู่เหล่าให้ได้มีโอกาสทางการศึกษา มุ่งยกระดับการผลิตครู การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น เสริมสร้างพลังปัญญาของแผ่นดิน ฟื้นฟูพลังการเรียนรู้ เชิดชูภูมิปัญญาของท้องถิ่น สร้างสรรค์ ศิลปวิทยา เพื่อความเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืนของปวงชน มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ รวมทั้งการบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม รักษาการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน

ดังนั้น ผู้บริหารและบุคลากรทุกภาคส่วนของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ควรอย่างยิ่งที่จะต้องเร่งพัฒนาศักยภาพของตนเอง เพื่อสนองแนวทางการพัฒนาดังกล่าว ให้เป็นความหวังและเป็นที่พึ่งของประชาชนในแต่ละท้องถิ่นตามภูมิภาคของประเทศไทย ตามกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และ การพัฒนาท้องถิ่น การผลิตและพัฒนาครู การยกระดับคุณภาพการศึกษา การพัฒนาระบบบริหารจัดการ เพื่อพัฒนาการศึกษาให้มหาวิทยาลัยราชภัฏเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นที่สง่างามอย่างแท้จริง

References

ภัทรษมน รัตนางกูร. (2553). ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม มุมมองบริบททฤษฎีขบวนการทางสังคมใหม่ (New Social Movement NSM). ค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2561, จาก http://www.phatrasamon.blogspot.com/2010/01/new-socialmovement-nsn

ยุทธศาสตร์ใหม่มหาวิทยาลัยราชภัฏ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นตามพระบรมราโชบายระยะ 20 ปี. (2560 – 2579) ค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2561, จาก http://council.vru.ac.th/kcfinder-upload/files/8_2560/vara41/41.pdf

รัฐพงศ์ บุญญานุวัตร. (2561). ราชภัฏ มหาวิทยาลัยแห่งพระราชา. มติชน ออนไลน์ ค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2559, จาก https://www.matichon.co.th/columnists/news

ราชภัฏแห่งประเทศไทย. (2561). ความเป็นมา ความหมายของราชภัฏ. ค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2561, จาก https://www.facebook.com/rajabhat2020/posts

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2561) มหาวิทยาลัยราชภัฏ. ค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2561, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/มหาวิทยาลัยราชภัฏ

สงบ ลักษณะ. (2544). มหาวิทยาลัยราชภัฏ ภารกิจที่ท้าทาย. ค้นเมื่อ 9 สิงหาคม 2561, จาก http://www.moe.go.th/main2/article/duty_dare.htm

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2560). แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2561, จาก http://www.nesdb.go.th/download/plan12/สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่12.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-08-2018