สถิติเพื่อการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจากสื่อสาธารณะ: ประเด็นวิเคราะห์ตัวแบบผลิตภัณฑ์สุขภาพ

ผู้แต่ง

  • กฤษณ์ รักชาติเจริญ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • อรรถพล กาญจนพงษ์พร คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

บทคัดย่อ

ปัจจุบันพบผู้บริโภคที่ได้รับการคุกคามจากสื่อสาธารณะอย่างต่อเนื่อง โดยพบว่าบางเนื้อหาของสื่อสาธารณะมีการนำเสนอข้อมูลที่บิดเบือนจากความเป็นจริง และปัญหาดังกล่าวนับเป็นปัญหาระดับชาติ ที่ภาครัฐและองค์การที่เกี่ยวข้องต่างให้ความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ทั้งนี้ การส่งเสริมค่านิยมที่ทุกฝ่ายพึงตระหนักต่อการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจากสื่อสาธารณะ ที่มีมุมมองเฉพาะแค่การขับเคลื่อนข้อบังคับและกฎหมาย คงไม่ใช่คำตอบเดียวที่จะมาใช้ประกอบในการตัดสินใจเพื่อการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจากสื่อสาธารณะ เป็นที่แน่ชัดว่า ความตระหนักที่มีความเข้าใจในตัวแปรร่วมอย่างละเอียด พร้อมทั้งมีแนวปฏิบัติร่วมกันในบริบทด้านการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจากสื่อสาธารณะนั้น ต้องการการจัดการที่เป็นระบบ โดยศึกษาจากข้อมูลในองค์รวมด้วยการแสดงตัวแบบสำคัญต่อการบริหาร ซึ่งบทความวิชาการนี้ จะนำเสนอในเรื่องความสำคัญต่อการวิเคราะห์ ตัวแบบสมการเชิงโครงสร้าง (structural equation modeling) เป็นเครื่องมือที่ได้รับการยอมรับในปัจจุบัน ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติและนำมาสู่การสร้างตัวแบบที่มีรายละเอียดของตัวแปรแฝงที่หลากหลายเพื่อการอธิบายปัจจัยภาพรวม และนำมาใช้ในการประกอบการวางแผนการบริหารต่อไป

References

ธีรเดช ฉายอรุณ. (2556). ตัวแบบสมการเชิงโครงสร้าง. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล: สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิมล ติรกานันท์. (2553). การวิเคราะห์ตัวแปรพหุในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อำนวย เลิศชยันตี. (2545). สถิติขั้นสูง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ศิลปสนองการพิมพ์.

Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J., & Amp; Anderson, R.E. (2014). Multivariate data analysis. Harlow: Pearson Education Limited.

Ismail, R. (2011). Food and Consumer Protection: A Study on Food Legislation of Selected Countries ASLI Working Paper (Asian Law Institute) No. 017. Singapore: Asian Law Institute.

Rugchatjaroen et al. (2018). Lesson Learned Advertising Standard Authority. Singapore: Interviewed Advertising Standard Authority Report.

Rugchatjaroen, K., Jiemsuchon, P., & Hongsrisuwan, C. (2018). The Elements of Public Policy to Develop Youth Education; Policy Study of STEM Education. Global &. Stochastic Analysis. 5(8), pp. 191-203.

Saxena, A., and Khanna, U. (2012, December 14). Advertising on Social Network Sites: A Structural Equation Modelling Approach - Anant Saxena, Uday Khanna, 2013. Retrieved from https://journals.sagepub.com/doi/10.1177/0972262912469560

Schumacker, R.E., & Lomax, R.G. (2010). A Beginner's Guide To Structural Equation Modeling (3rd ed.). New York: Routledge.

World Health Organization’s Health Product Safety Programme. (n.d.). Health Product Safety. Retrieved from http://who.int/hpsp

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-04-2021