แนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวของตลาดน้ำภาคกลางเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
คำสำคัญ:
ตลาดน้ำภาคกลาง, แนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยว, ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวของตลาดน้ำภาคกลาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความคิดเห็นของนักท่องเที่ยว 2) สภาพปัญหาการจัดการตลาดน้ำเพื่อการท่องเที่ยว 3) แนวทางการพัฒนาศักยภาพด้านการท่องเที่ยวของตลาดน้ำภาคกลางเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงผสานวิธี เครื่องมือการวิจัยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากนักท่องเที่ยวในตลาดน้ำทั้ง 4 พื้นที่ จำนวน 405 คนใช้การ focus group กลุ่มประชาชน ผู้นำท้องถิ่น ผู้ประกอบการร้านค้าพื้นที่ละ 10 คน และสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพนักท่องเที่ยว ผู้นำท้องถิ่นและเจ้าหน้าที่ของรัฐพื้นที่ละ 3 คน ผลการศึกษาพบว่าศักยภาพการท่องเที่ยว และสภาพปัญหาโดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก แนวทางการพัฒนาศักยภาพควรพัฒนาเจ้าหน้าที่รัฐและสถานประกอบการให้มีความรู้เพิ่มมากขึ้น รวมถึงควรจัดทำป้ายภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และควรประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวตามสื่อต่าง ๆ ควรมีการสร้างเครือข่ายระหว่างผู้ประกอบการกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ข้อเสนอแนะจากการวิจัยควรพัฒนาตลาดน้ำทั้ง 4 แห่งด้านสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกในแหล่งท่องเที่ยวให้ได้มาตรฐาน
References
กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2554). แผนยุทธศาสตร์การตลาดด้านการท่องเที่ยวอาเซียน พ.ศ. 2555-2558 (ASEAN Tourism Marketing Strategy 2012-2015). สืบค้นจาก http://www.tourismkm-asean.org/wp-content/pdf/Plan-ASEAN-Tourism/ASEAN-Tourism-Marketing-Strategy-ATMS-2012-2015.pdf
จินตนา แสนวงค์. (2542). การจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในเขตทหาร: กรณีศึกษา กองพลรบพิเศษที่ 2. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ .
ณัฐวุฒิ คําหวั่น. (2545). แนวทางการพัฒนาเมืองสุไหง-โกลกเพื่อรองรับการท่องเที่ยวชายแดน.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวางแผนภาคและเมือง, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิมพ์ชนก มูลมิตร์. (2551). การศึกษาทรัพยากรท่องเที่ยวเพื่อเป็นแนวทางพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนของจังหวัดชุมพร. ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวางแผนปและการจัดการการท่องเที่ยวเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
มณีวรรณ ผิวนิ่ม และคณะ. (2546). โครงการพัฒนาการและผลกระทบของการท่องเที่ยว กรณีศึกษาชุมชนตลาดน้ำ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
วัชณุพันธ์ วณิชชาภิวงศ์. (2543). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในอุทยานแห่งชาติภูกระดึง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายและการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม, มหาวิทยาลัยเกริก.
ศุภรัตน์ รัตนมุขย์. (2541). อีโคทัวร์: การท่องเที่ยวเพื่อการอนุรักษ์และการศึกษา. จุลสารวิชาการสำนักบัณฑิตอาสาสมัคร, 6, หน้า 46-53.
สุภางค์ จันทรวานิช. (2548). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อภิรมย์ พรหมจรรยา, ชุติมา ต่อเจริญ, และคมสัน รัชตพันธ์. (2547). โครงการพัฒนาการท่องเที่ยวชนบทจังหวัดภูเก็ต. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
Cronbach, L.J. (1970). Essentials of Psychological Test (5th Ed.). New York: Harper Collins.
Graneheim, B.L. (2004). Qualitative Content Analysis in Nursing Research: Concepts, Procedures and Measures to Achieve Trustworthiness. Nurse Education Today, 24, pp. 105-112.
Martin, Mowforth& Ian, Munt. (2003). Tourism and Sustainability: Development and New Tourism in the Third World. (2nd Ed). London: Routledge.
Miles, M.B. & Huberman, A.M. (1994).Qualitative Data Analysis. (2nd Ed). Thousand Oaks: SAGE.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- บทความในวารสารวิชาการมนุษย์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์ ไม่ใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ และไม่ใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการและ/หรือของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
- บทความที่ได้รับตีพิมพ์จะมีการตรวจความถูกต้องเหมาะสมจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (peer review) จำนวน 3 คน โดยผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบผู้นิพนธ์ และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (double-blind peer review)