การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ในประเทศไทย
คำสำคัญ:
การรื้อฟื้น, คดีอาญา, พระราชบัญญัติบทคัดย่อ
การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่เป็นมาตรการเยียวยาความผิดพลาดในกระบวนการยุติธรรมในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยเป็นผู้กระทำความผิด แต่ต่อมาภายหลังพบว่าพยานหลักฐานหลักที่ศาลใช้ในการพิจารณาลงโทษนั้นเป็นพยานเท็จหรือมีหลักฐานใหม่แสดงว่าจำเลยที่ได้รับโทษไปแล้วไม่ได้เป็นผู้กระทำความผิด ทำให้ผู้นั้นตกเป็นผู้กระทำความผิดและรับโทษอยู่ทั้ง ๆ ที่ความจริงแล้วเป็นผู้บริสุทธิ์ ซึ่งผู้บริสุทธิ์จะได้รับความเสียหายมากกว่าเพราะมีคำพิพากษาว่าเป็นผู้กระทำความผิดและเป็นเหตุให้ไม่อาจรับราชการได้หรือมีประวัติต้องโทษในคดีอาญาด้วย
เงื่อนไขในการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นมาพิจารณาใหม่ตามพระราชบัญญัติการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 คือ พยานหลักฐานที่ศาลใช้ประกอบการพิพากษาคดีถึงที่สุดนั้นเป็นพยานหลักฐานเท็จ หรือมีพยานหลักฐานใหม่อันชัดแจ้งและสำคัญซึ่งถ้าได้นำมาสืบในคดีจะแสดงว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิด ซึ่งกระบวนการที่จะทำให้ศาลมีคำพิพากษาว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ต้องใช้เวลานาน โดยนับตั้งแต่มีการประกาศใช้ในประเทศไทย ยังไม่เคยมีคดีอาญาเรื่องใดได้รับอนุญาตให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ เนื่องจากเงื่อนไขในการที่จะขอรื้อฟื้นคดีจำกัดเป็นเหตุให้การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่เป็นไปได้ยาก
References
คณิต ณ นคร. (2546). กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. กรุงเทพมหานครวิญญูชน.
จรัญ ภักดีธนากุล. (2526, มีนาคม-เมษายน). “การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่.” ดุลพาห, 2(30) : 45–46.
ณรงค์ ใจหาญ. (2017). กระบวนการพิจารณาในคดีอาญาผิดพลาด : แนวทางการแก้ไขเยียวยา. ค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2560, จาก https://www.siamrath.co.th/n/9399
ธนกฤต วรธนัชชากุล. (2017). อัยการเปิดขั้นตอนคดีครูจอมทรัพย์. ค้นเมื่อ 19 มกราคม 2560, จาก https://www.matichon.co.th/news/736543
พงษ์พลัย วรรณราช, สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. ค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2560, พฤษภาคม 2547, จาก https://wed.krisdika.go.th/data/lawabout/lawdetail/lawdetail_007.htm
พัลลภ แพทย์ไชยวงษ์. (2548). การรื้อฟื้นคดีอาญา : ศึกษากรณีการรื้อฟื้นคดีอาญาในทางที่เป็นโทษ.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์ กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต
สันทัด สุจริต. (2528). การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชา นิติศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สุพร อิศรเสนา, หม่อมหลวง. (2540). การขอพิจารณาคดีใหม่ พระราชบัญญัติรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ การทำหนังสือทูลเกล้าถวายฎีกา. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์นิติบรรณการ.
สำนักวิชาการ. (2018). สำนักงานศาลยุติธรรม. ค้นเมื่อ20 สิงหาคม 2561, จาก http://deka.supremecourt.or.th/search
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- บทความในวารสารวิชาการมนุษย์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์ ไม่ใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ และไม่ใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการและ/หรือของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
- บทความที่ได้รับตีพิมพ์จะมีการตรวจความถูกต้องเหมาะสมจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (peer review) จำนวน 3 คน โดยผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบผู้นิพนธ์ และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (double-blind peer review)