ระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการให้บริการ ของตลาดน้ำดอนหวาย จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • กัญญารัตน์ แห้วเพ็ชร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • สุทธิดา ถิตย์ไชย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • พิมพงา เพ็งนาเรนทร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการให้บริการของตลาดน้ำดอนหวาย 2) ปัญหาการให้บริการนักท่องเที่ยวของตลาดน้ำดอนหวาย 3) แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการนักท่องเที่ยวของตลาดน้ำดอนหวาย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ตัวแทนนักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการร้านค้าในตลาดน้ำดอนหวาย จังหวัดนครปฐม จำนวน 364 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม และใช้การสัมภาษณ์นักท่องเที่ยวในตลาดน้ำดอนหวาย ผลการวิจัยพบว่านักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจต่อการให้บริการของตลาดน้ำดอนหวายอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านสถานที่ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือด้านค่าใช้จ่าย และด้านการให้บริการของผู้จัดจำหน่ายสินค้าและผู้ให้บริการมีค่าเฉลี่ยเป็นลำดับสุดท้าย สภาพปัญหาการให้บริการนักท่องเที่ยวของตลาดน้ำดอนหวาย คือ 1) ทางเดินบริเวณภายในตลาดน้ำดอนหวายค่อนข้างแคบถ้าจะขยายหรือต่อเติมจะเป็นเรื่องยากเพราะถ้ามีการเริ่มทำโครงการผู้ประกอบการร้านค้าจะขาดรายได้ 2) ตลาดน้ำดอนหวายไม่มีศูนย์สำหรับบริการนักท่องเที่ยวทำให้นักท่องเที่ยวไม่สามารถสอบถามข้อมูลข่าวสารหรือแจ้งข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการให้บริการของผู้ประกอบการร้านค้าได้ ส่วนแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการนักท่องเที่ยวของตลาดน้ำดอนหวาย คือ หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น เทศบาลตำบลบางกระทึก ควรอำนวยความสะดวกโดยจัดทำป้ายต่าง ๆ เช่น ป้ายบอกทางและระยะทางไปสถานที่ท่องเที่ยว ป้ายเตือนทางโค้ง ทางชัน ที่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ควรเพิ่มจำนวนห้องน้ำเพราะยังมีไม่เพียงพอต่อนักท่องเที่ยวและควรให้ห้องน้ำมีความสะดวกและปลอดภัยสำหรับผู้ใช้บริการเช่น ผู้สูงอายุ และผู้พิการ คณะกรรมการตลาดควรมีมาตรการดูแลสุขอนามัยของร้านอาหาร ควรอำนวยความสะดวกด้านที่พักอาศัยให้กับนักท่องเที่ยวที่อยากพักค้างแรม และควรจัดจุดสำหรับบริการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศให้กับนักท่องเที่ยว

References

นภาพร คงคาหลวง.(2548). “การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน : กรณีศึกษาโรงเรียนประถมศึกษา จังหวัดปทุมธานี”. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พิมพ์ชนก มลูมิตร์. (2551). การศึกษาทรัพยากรท่องเที่ยวเพื่อเป็นแนวทางพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนของจังหวัดชุมพร. ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบณัฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศุภรัตน์ รัตนมุขย์. (2541). อีโคทัวร์: การท่องเที่ยวเพื่อการอนุรักษ์และการศึกษา. จุลสารวิชาการสำนักบัณฑิตอาสาสมัคร. 6 (พฤศจิกายน 2540-มกราคม 2541): 46-53.

สุภางค์ จันทวานิช. (2552). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 9 : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ส. พลายน้อย (2538). เกร็ดโบราณคดีประเพณีไทย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: รวมสาส์น.

Denzin, N. K. (1970). Sociological Methods: A source Book. Chicago: Aldine.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-08-2018