ถอดบทเรียนหลักการบริหารงานจากการเนรเทศสู่ป่า ในละครโทรทัศน์ “สีดาราม ศึกรักมหาลงกา”

ผู้แต่ง

  • ชลลดา พงศ์พัฒนโยธิน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

การบริหารงาน, ผู้บริหาร, ถอดบทเรียน

บทคัดย่อ

มหากาพย์เรื่องรามายณะของอินเดียในฉบับละครโทรทัศน์ เป็นวรรณกรรมที่สะท้อนแนวคิดรอบด้านทั้งในเชิงศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการบริหารงานของผู้บริหารระดับสูง การถอดบทเรียนหลักการบริหารงานครั้งนี้มุ่งเน้นตอนที่ตัวละครเอกฝ่ายชายคือพระราม และตัวละครเอกฝ่ายหญิงคือพระนางสีดาถูกเนรเทศสู่ป่าต่างวาระโอกาสกัน แต่ทั้งสองเหตุการณ์นั้นก่อให้เกิดสภาวะที่ยากลำบากสำหรับการตัดสินใจในฐานะผู้บริหารจนสามารถถอดบทเรียนหลักการบริหารงานได้ดังนี้ ความประนีประนอมการยอมเพื่อชัยชนะ การเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส การสละสุขส่วนตนเพื่อส่วนรวม การยึดแนวทางประชาธรรมและการมีส่วนร่วมซึ่งหลักการบริหารงานดังกล่าวนี้ยังสอดคล้องกับหลักพรหมวิหาร 4 ซึ่งเป็นหลักธรรมสำหรับผู้บริหารในการครองคน ประกอบด้วย เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา

References

โกวิท ตั้งตรงจิตร. (2547). คุยเฟื่องเรื่องรามเกียรติ์. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

คณะกรรมการธรรมาภิบาลทางการเมือง และการบริหารสภาพัฒนาการเมือง. (2556). ถอดบทเรียนการเสริมสร้างธรรมาภิบาลในท้องถิ่น. นนทบุรี: สำนักงานสภาพัฒนาการเมือง สถาบันพระปกเกล้า.

คาเฮน, อดัม. (2556). ถอดบทเรียนเปลี่ยนอนาคต. แปลจาก Transformative Scenario Planning โดย สันติ กนกธนาพร สุมิท แช่มประสิทธิ์ และชัยวัฒน์ถิระพันธ์. กรุงเทพฯ: มูลนิธิส่งเสริการรออกแบบอนาคตประเทศไทย.

จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร. (2561). ถอดบทเรียนอย่างไร...ไม่ยาก (ตอนที่ 1) ถอดบทเรียนคืออะไร?. ค้นเมื่อ 19 กรกฎาคม 2561, จาก https://www.gotoknow.org/posts/631835

จอแก้ว เรื่องย่อ ‘สีดาราม ศึกรักมหาลงกา. (2561). ค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2561, จาก http://www.komchadluek.net/news/ent/258732

เชื้อชื่น ศรียาภัย. (2514). ศึกรามเกียรติ์. กรุงเทพฯ: คลังวิทยา.

พุทธเลิศหล้านภาลัย, พระบาทสมเด็จพระ. (2559). บทละครเรื่องรามเกียรติ์ และบ่อเกิดแห่งรามเกียรติ์. กรุงเทพฯ : บรรณกิจ.

มณฑา เก่งการพานิช. (2556). การถอดบทเรียน. ค้นเมื่อ 19 กรกฎาคม 2561, จาก https://ph.mahidol.ac.th/sos/group6/lesson_learned.pdf

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน.

วรางคณา จันทร์คง. (2557). การถอดบทเรียน ตอนที่ 1. จุลสารสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพออนไลน์. ค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2561, จาก http://www.stou.ac.th/Schools/Shs/booklet/book571/rsearch571.pdf

ศุภวัลย์ พลายน้อย. (2556). นานาวิธีวิทยาการถอดบทเรียนและสังเคราะห์องค์ความรู้. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: พี.เอ.ลิฟวิ่ง.

อโณทัย โภคาธิกรณ์. (2555). พรหมวิหาร 4 ภาคภาษาอังกฤษ - Four sublime states of mind. ค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2561, จาก https://www.gotoknow.org/posts/25867

Downloads

เผยแพร่แล้ว

23-07-2021