การสื่อความหมายของคำบอกเวลาในวรรณกรรมเพลงไทยลูกทุ่ง

ผู้แต่ง

  • ราตรี แจ่มนิยม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

บทคัดย่อ

การศึกษาการใช้ภาษาในวรรณกรรมเพลงไทยลูกทุ่งส่วนใหญ่เป็นการวิเคราะห์เกี่ยวกับ การใช้คำตามหลักภาษา ได้แก่ คำสัมผัสอักษรและคำสัมผัสสระ คำซ้ำ ค้ำซ้อน คำประสม คำสแลง และคำภาษา ต่างประเทศ การใช้คำสื่ออารมณ์ อาทิ อารมณ์โศกเศร้าเสียใจ อารมณ์ประชดประชัน เสียดสีเยาะเย้ย อารมณ์สุขสดชื่น อารมณ์ขบขัน ฯลฯ และการใช้โวหารและภาพพจน์ นอกเหนือจากการศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมเพลงไทยลูกทุ่งในแง่มุมดังกล่าวแล้ว

การศึกษาความหมายของคำในวรรณกรรมเพลงไทยลูกทุ่งเป็นอีกแง่มุมหนึ่งที่น่าสนใจ โดยเฉพาะคำบอกเวลา หากได้ศึกษาจะช่วยทำให้เข้าใจและเข้าถึงความหมายของเนื้อเพลงที่ผู้ประพันธ์ต้องการสื่อถึงผู้ฟังด้วยภาษาที่เรียบง่าย ตรงไปตรงมา และมีความหมายที่สะท้อนสังคมและวัฒนธรรมในทุกยุคทุกสมัยไว้อย่างน่าสนใจ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็น “เพลงไทยลูกทุ่งเป็นมรดกแห่งการบันเทิงที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์” นับเป็นผลิตผลทางปัญญาที่ผู้ประพันธ์เพลงได้พยายามถ่ายทอดข้อมูลที่สะท้อนสังคมและวัฒนธรรมทุกยุคทุกสมัยไว้อย่างน่าสนใจ “การสื่อความหมายของคำบอกเวลาในวรรณกรรมเพลงไทยลูกทุ่ง” กรณีตัวอย่างการศึกษาโดยพบว่า คำบอกเวลาที่สื่อความหมายในวรรณกรรมเพลงไทยลูกทุ่งมีหลายลักษณะ ได้แก่ การสื่อความหมายบอกจุดของเวลาภายใน 1 วัน การสื่อความหมาย บอกจุดของเวลาเกี่ยวกับวันและเดือนตามระบบปฏิทิน และการสื่อความหมายบอกระยะเวลา

References

กรมอุตุนิยมวิทยา. (2560). ความรู้ด้านอุตุนิยมวิทยา. ค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2560, จาก https://www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=60

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. (2544). นิทานโบราณคดี. กรุงเทพฯ: บริษัทเอกพิมพ์ไท จำกัด.

เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมเด็จพระ. (2534). พระนิพนธ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ลูกทุ่งกับเพลงไทย ใน กึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย ภาค 2. (หน้า 24).กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

ราตรี แจ่มนิยม. (2559). คำบอกจุดของเวลาในภาษาพม่า. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 36, 159-186.

ราตรี แจ่มนิยม. (2558). การศึกษาเปรียบเทียบคำบอกเวลาที่สะท้อนโลกทัศน์ในภาษาไทยกับภาษาพม่า. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2551). เพลงลูกทุ่ง ใน สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน (เล่มที่ 33, หน้า 41).กรุงเทพฯ: โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว.

Kullavanijaya, P. 2003. “A Historical Study of Time Markers in Thai.” Journal of Humanities. 6: 88-106.

Memoir, M. (2552). ลมข้าวเบา ตะวันอ้อมข้าว ฤกษ์ดาวโจร . ค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2560, จาก http://tamagozzilla.blogspot.com/2009/09/mo-memoir_13.html

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-04-2018