การก่อความไม่สงบโดยอาชญากร : กรณีศึกษาประเทศเม็กซิโก
บทคัดย่อ
หน้าที่ประการหนึ่งที่สำคัญของรัฐคือ การธำรงรักษาไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อยเพื่อนำไปสู่สันติภาพภายในรัฐนั้นเอง แต่ในโลกที่ยังมีความขัดแย้งทั้งด้านการเมืองและปัญหาที่เป็นเงื่อนไขเริ่มต้นในการก่อความไม่สงบ จึงยังมีสถานการณ์มากมายที่เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความมั่นคงของรัฐ หนึ่งในปัญหาที่ส่งผลต่อความมั่นคงในหลายประเทศคือ เครือข่ายอาชญากรรมยาเสพติด ซึ่งได้เปลี่ยนรูปแบบการปฏิบัติการและแรงจูงใจไปจากเดิม โดยเฉพาะกลุ่มพ่อค้ายาเสพติดที่ใช้วิธีการก่อความไม่สงบในการควบคุมเขตการค้ายาเสพติด ผ่านการสร้างอำนาจครอบงำพร้อมกับการสร้างความท้าทายให้กับรัฐผ่านการเป็นอำนาจอธิปไตยคู่ขนาน และการใช้ความรุนแรงในการตอบโต้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อสร้างความชอบธรรม บทความนี้ต้องการนำเสนอถึงการก่อความไม่สงบอีกรูปแบบหนึ่งในเกิดขึ้นในหลายประเทศ โดยเฉพาะในประเทศแถบทวีปอเมริกา นั่นคือ การก่อความไม่สงบโดยอาชญากร ซึ่งเป็นการก่อความไม่สงบเพื่อวัตถุประสงค์ทางเศรษฐกิจและทางการเมือง โดยการใช้การควบคุมพื้นที่เขตแดนและการสร้างพื้นที่ของอาชญากรรม ผ่านรูปแบบอำนาจอธิปไตยคู่ขนานพร้อมการลดความชอบธรรมของรัฐจากการเข้าไปทำหน้าที่แทนรัฐและการปรับเปลี่ยนเชิงวัฒนธรรม ประเทศเม็กซิโกเป็นหนึ่งในประเทศที่กำลังประสบกับปัญหาของการก่อความไม่สงบโดยอาชญากร เนื่องจากปัญหายาเสพติดและการขยายอำนาจของกลุ่มพ่อค้ายาเสพติด การทำความเข้าใจโดยการศึกษาถึงการควบคุมพื้นที่เขตแดนของอาชญากรกลุ่มพ่อค้ายาเสพติดในเม็กซิโก การใช้ความรุนแรงต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐและการปรับเปลี่ยนเชิงวัฒนธรรมของกลุ่มพ่อค้ายาเสพติด จะช่วยให้มองเห็นภาพของภัยคุกคามความมั่นคงจากองค์กรอาชญากรรมที่มีต่อรัฐได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
References
รชาติ บำรุงสุข. (2554). การก่อความไม่สงบร่วมสมัย. กรุงเทพ: รัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Bruneau, T. C. (2005, May). The Maras and National Security in Central America. Straight Inside,IV (5).
Bunker, R. J. (2013). Introduction: The Mexican cartels—organized crime vs. crimi nalinsurgency. Trends in Organized Crime,16(2), 129-137. doi:10.1007/s12117-013-9194-4
Bunker, R. J., & Sullivan, J. P. (2010). Cartel evolution revisited: Third phase cartel potentials and alternative futures in Mexico. Small Wars & Insurgencies, 21(1), 30-54. doi:10.1080/09592310903561379
Corchado, Alfredo, “Drug cartels taking over government roles in parts of Mexico,” The Dallas Morning News, 30 April 2011. Retrieved from https://www.dallasnews.com/news/texas/2011/04/30/drug-cartels-taking-overgovern-ment-roles-in-parts-of-mexico
Davis, Diane E. "Irregular Armed Forces, Shifting Patterns of Commitment, and Fragmented Sovereignty in the Developing World." Theory and Society (2010) 39:397–413.
Gilman, N., Goldhammer, J., & Weber, S. (2011). Deviant globalization: Black market economy in the 21st century. New York: Continuum.
Guillermoprieto, Alma. (2009). “ TheNarcovirus,” Berkeley Review of Latin American Studies, Spring. PP.2-9.
Hobsbawm, E. J. (2000). Bandits. New York: The New Press.
Insight Crime. Narcomantas' Herald Chapo's Incursion into Mexico Border State. Available at http://www.insightcrime.org/news-analysis/narcomantas-herald-chapos-incursion-into-mexico-border-state
Sullivan, J. P. (1997). Third Generation Street Gangs: Turf, Cartels, and Net Warriors. Transnational Organized Crime :3 95-108.
Sullivan, J. P. and Elkus, Adam, “Red Team Criminal Insurgency” GroupIntel, 22 December 2009 available at http://redteamjournal.com/2009/01/red-teaming-criminal-insurgency-1/
Sullivan, J. P. (2012a). From Drugs Wars to Criminal Insurgency: Mexican Cartels, Criminal Enclaves and Criminal Insurgency in Mexico and Central America. Implications for Global Security. MSH-WP2012-09. 2011.
Sullivan, J. P. (2012b). Criminal Insurgency: Narcocultura, Social Banditry, and Bloomington: iUniverse.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 02-12-2022 (2)
- 26-04-2018 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- บทความในวารสารวิชาการมนุษย์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์ ไม่ใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ และไม่ใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการและ/หรือของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
- บทความที่ได้รับตีพิมพ์จะมีการตรวจความถูกต้องเหมาะสมจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (peer review) จำนวน 3 คน โดยผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบผู้นิพนธ์ และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (double-blind peer review)