การศึกษาปัญหาการเขียนภาษาไทยของนักศึกษาจีนจาก Guangxi Agricultural Vocational College
คำสำคัญ:
การเขียนภาษาไทยของนักศึกษาจีน, Guangxi Agricultural Vocational Collegeบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการเขียนภาษาไทยของนักศึกษาจีนจาก Guangxi Agricultural Vocational College มณฑลกว่างซี สาธารณรัฐประชาชนจีน ที่มาฝึกอบรมโครงการภาษาและวัฒนธรรมไทยเพื่อการสื่อสารสำหรับชาวต่างประเทศที่มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บันทึกประจำวันของนักศึกษาจีน ระยะเวลา 5 เดือน จำนวน 22 ฉบับ รวมบันทึกประจำวันทั้งสิ้น 153 วัน ผลการวิจัยพบปัญหาการเขียนภาษาไทยของนักศึกษาจีน 6 ประเด็น ดังนี้ 1) การสะกดคำ 2) การใช้คำ 3) การใช้ประโยค 4) การใช้สำนวน 5) การใช้ตัวเลข 6) การเว้นวรรคตอนและการใช้เครื่องหมายวรรคตอน
References
จินดา เฮงสมบูรณ์. (2542). ภาษาศาสตร์เบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ชนิกา คำพุฒ. (2545). การศึกษาการใช้ภาษาไทยของนักศึกษาจีนวิชาเอกภาษาไทย ชั้นปีที่ 4 สถาบันชนชาติยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ทัศนีย์ ทานตวณิช. (2558). ข้อผิดพลาดในการเขียนเชิงวิชาการของนิสิตสาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยบูรพา วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 23 (43): 1.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และคนอื่นๆ. (2540). ภาษาไทย1. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รสริน ดิษฐบรรจง. (2555). หลักการอ่านการเขียนคำไทย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- บทความในวารสารวิชาการมนุษย์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์ ไม่ใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ และไม่ใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการและ/หรือของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
- บทความที่ได้รับตีพิมพ์จะมีการตรวจความถูกต้องเหมาะสมจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (peer review) จำนวน 3 คน โดยผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบผู้นิพนธ์ และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (double-blind peer review)