การพัฒนาระบบสารสนเทศทางการตลาดเพื่อพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของ เกษตรกรและผู้ประกอบการในพื้นที่ตำบลเขาคันทรง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เพื่อยกระดับสู่การเป็นผู้ประกอบการออนไลน์

Main Article Content

Saowakhon Nookhao

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศทางการตลาดในรูปแบบตลาดกลางออนไลน์สำหรับสินค้าเกษตร สินค้าชุมชนศรีราชา จังหวัดชลบุรี และ 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของเกษตรกรและผู้ประกอบการในพื้นที่ตำบลเขาคันทรง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี โดยดำเนินการวิจัยใน 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 เป็นการพัฒนาระบบสารสนเทศทางการตลาดในรูปแบบตลาดกลางออนไลน์สำหรับสินค้าเกษตร สินค้าชุมชนศรีราชา จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ เกษตรกรและผู้ประกอบการ จำนวน 60 คน ได้มาด้วยวิธีแบบเจาะจง ใช้ตลาดกลางออนไลน์สำหรับสินค้าเกษตร สินค้าชุมชนศรีราชา จังหวัดชลบุรีที่พัฒนาขึ้น และแบบประเมินความพึงพอใจเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระยะที่ 2 คือ การเปรียบเทียบทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของเกษตรกรและผู้ประกอบการในพื้นที่ตำบลเขาคันทรง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ซึ่งดำเนินการวิจัยแบบกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ เกษตรกรและผู้ประกอบการ จำนวน 24 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ตลาดกลางออนไลน์สำหรับสินค้าเกษตร สินค้าชุมชนศรีราชา จังหวัดชลบุรี แบบทดสอบทักษะใช้การเทคโนโลยีดิจิทัล และแบบประเมินตรวจสอบรายการ ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที


ผลการวิจัยระยะที่ 1 พบว่า ผู้ใช้งานระบบตลาดกลางออนไลน์สำหรับสินค้าเกษตร สินค้าชุมชนศรีราชา จังหวัดชลบุรี มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x}=4.39, S.D. = 0.57) และผลการวิจัยระยะที่ 2 พบว่า ทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของเกษตรและผู้ประกอบการในพื้นที่ตำบลเขาคันทรง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี หลังการอบรมสูงกว่าก่อนอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001

Article Details

How to Cite
Nookhao, S. (2023). การพัฒนาระบบสารสนเทศทางการตลาดเพื่อพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของ เกษตรกรและผู้ประกอบการในพื้นที่ตำบลเขาคันทรง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เพื่อยกระดับสู่การเป็นผู้ประกอบการออนไลน์. วารสารบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, 13(1), 61–76. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/fam/article/view/260835
บท
บทความวิจัย

References

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2564). สถิติการเกษตรของประเทศไทย ปี 2563. กรุงเทพฯ: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา. (2559). รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน. สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา.

สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดชลบุรี. (2560). ข้อมูลด้านการเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดชลบุรี ประจำปี 2559/60. ชลบุรี : กลุ่มสารสนเทศการเกษตร สำนักงานการเกษตรและสหกรณ์จังหวัดชลบุรี.

แพรวไพลิน วงษ์สินธุวิเศษ และณัชพล จรูญพิพัฒน์กุล. (2560). Middle Income Trap: กับดักเศรษฐกิจที่รอการก้าวข้าม. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2566 จาก https://www.bot.or.th/Thai/Research AndPublications/DocLib_/ Article_ 7Nov2017.pdf

Alant, B.P. & Bakare, O.O. (2021). A case study of the relationship between smallholder farmers' ICT literacy levels and demographic data w.r.t. their use and adoption of ICT for weather forecasting. Heliyon, 7, 1-9.

Roger, E. (1995). Diffusion of Innovations. New York: Free Press.

จันทร์จิรา ตลับแก้ว และเพ็ญพันธ์ เพชรศร. (2559). การประเมินประสิทธิภาพการใช้งานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน. อินฟอร์เมชั่น, 23(1), 23-38.

ฤติมา มุ่งหมาย. (2564). การพัฒนาระบบสารสนเทศทางการบัญชีเพื่อการบริหารจัดการและสนับสนุนการตัดสินใจของกลุ่มผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารจากเนื้อสัตว์จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 23(1), 43-55.

พรรณธิภา เพชรบุญมี และ จักรพันธ์ วงศ์ฤกษ์ดี. (2563). การพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผลิตภัณฑ์บ้านโฮ่ง ตำบลแม่ระมาด อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.สุวรรณภูมิ, 4(2), 1-11.

มาลินี คำเครือ และ จรัสพงษ์ โชคชัยสิริ. (2562). การพัฒนาแอปพลิเคชันบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์สนับสนุนงานท้องถิ่น เทศกาลเมืองกาญจนบุรี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 21(2), 189-197.

Delone, W. H., & McLean, E. R. (2003). The DeLone and McLean model of information systems success:

A ten-year update. Management Information System, 19(4), 9–30.

สุวิมล ติรกานันท์. (2548). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศึกษา: แนวทางสู่การปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2560). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สามลดา.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2563). ขนาดอิทธิพล การวิเคราะห์อำนาจ การคำนวณขนาดตัวอย่างที่เหมาะสมโดยใช้โปรแกรม G*Power. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2565). Digital Literacy คืออะไร. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2565 จาก https://www.ocsc.go.th/DLProject/mean-dlp

กมลวรรณ ตังธนกานนท์. (2557). การวัดและประเมินทักษะการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพศาล วรคำ. (2559). การวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 8). มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.

สุภาวดี ชัยวิวัฒน์ตระกูล (2563). การใช้โมบายแอปพลิเคชันสำหรับตลิดสินค้าเกษตรออนไลน์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 22(2), 88-97.

กฤษณะ วุฒิพันธุ์ชัย. (2559). ต้นแบบโมบายแอปพลิเคชันแพลตฟอร์มเพื่อการเกษตรยุคดิจิตอล. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Thailandsupply. (2564). E-Marketplace คืออะไร. สืบคืนเมื่อ 12 มกราคม 2565 จาก https:// Thailandhttps: //blog.sogoodweb.com /Article /Detail/9344/E-Marketplace

ณิชนันทน์ จงใจสิทธิ์ และ วัชรีภรณ์ ดีสุทธิ. (2559). การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์ OTOP อำเภอผาขาว จังหวัดเลย. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย, 16(57), 100-109.

พรรณธิภา เพชรบุญมี และจักรพันธ์ วงศ์ฤกษ์ดี. (2563). การพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกสำหรับผลิตภัณฑ์บ้านโฮ่ง ตำบลแม่ระมาด อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.สุวรรณภูมิ, 4(2), 1-11.

ทัศนีย์ เกริกกุลธร, ศักดิ์ธัช ทิพวัฒน์, จันทิมา เขียวแก้ว, ธนณัฎฐ์ สากระสันต์, และสุพรรษา พรหมสุคนธ์. (2561).

การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี. วารสารวิจัย สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ, 11(2), 61-77.

ญดาภัค กิจทวี, ปรณัฐ กิจรุ่งเรือง, สิริวรรณ ศรีพหล, และอรพิณ ศิริสัมพันธ์. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างทักษะวิชาชีพของนักศึกษาครูสังคมศึกษา. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน, 10(28), 199-210.

ธนพล นามนวม. (2562). การจัดการคลังปัญญาดิจิทัลเชิงอรรถศาสตร์ด้วยกระบวนการถอดบทเรียนบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะผู้ประกอบการดิจิทัล. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

นันธิดา ปฎิวรณ์ ภาณุพงศ์ บุญรมย์ และพงษ์ธร สิงห์พันธ์. (2564). รูปแบบการพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 9(5), 1927-1939.