An Analysis and evaluation report of the annual action plan : the office of the president of Kasetsart University รายงานการวิเคราะห์การติดตามและประเมินผลแผนปฏิบัติการประจำปี พ.ศ.2562 สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Main Article Content

nida praphudtham

Abstract

รายงานการวิเคราะห์การติดตามและประเมินผล แผนปฏิบัติการ (Action Plan) ประจำปี พ.ศ.2562 ของสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดทำขึ้นเพื่อวิเคราะห์และติดตามการประเมินผลแผนฯ ในด้านประสิทธิผลหรือผลสัมฤทธิ์ (Output) ของโครงการ หรือกิจกรรมในแผนฯ ที่ดำเนินการโดยหน่วยงานสังกัดสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 14 หน่วยงาน ว่าสามารถบรรลุผลสำเร็จตรงตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่กำหนดไว้หรือไม่เพียงใด และเพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะจากการดำเนินงานตามแผนฯ เพื่อให้ผู้บริหารและหน่วยงานสามารถนำข้อมูลจากการวิเคราะห์ไปปรับใช้ได้อย่างเหมาะสมต่อไป โดยมีสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ การหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) และค่าเฉลี่ย (Mean)  และมีเครื่องมือในการติดตามและประเมินผลคือ แบบฟอร์มการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี และแบบฟอร์มการรายงานผลการปฏิบัติงานรอบ 6 เดือน และรอบ 12 เดือน       


      สำหรับข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์ความสอดคล้องคือ ข้อมูลทุติยภูมิ จากเอกสารที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และข้อมูลจากแผนปฏิบัติการประจำปีและรายงานผลการปฏิบัติงานรอบ 6 เดือนและ 12 เดือน


      กระบวนการติดตามและประเมินผลแผนปฏิบัติการ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำหนดให้มีการติดตามและประเมินผลแผนปฏิบัติการปีละ 2 ครั้งคือ ติดตามครั้งแรกในช่วงรอบ 6 เดือน (1 ตุลาคม 2561 – 31 มีนาคม 2562) และครั้งที่ 2 ติดตามในรอบ 12 เดือน (1 ตุลาคม 2561 – 31 กันยายน 2562) โดยผลการดำเนินงานของแผนปฏิบัติการของปี 2562 ประกอบด้วยโครงการทั้งหมด 151 โครงการ และตัวชี้วัด 186 ตัวชี้วัด โดยสามารถดำเนินการได้สูงกว่าเป้าหมาย 50 ตัวชี้วัด คิดเป็นร้อยละ 26.88 เป็นไปตามเป้าหมาย 96 ตัวชี้วัดคิดเป็นร้อยละ 51.61 ต่ำกว่าเป้าหมาย 27 ตัวชี้วัด คิดเป็นร้อยละ 14.52 มีการยกเลิกการดำเนินงาน 8 ตัวชี้วัด คิดเป็นร้อยละ 4.30 และมีการเพิ่มเติม แก้ไขตัวชี้วัด 5 ตัวชี้วัด คิดเป็นร้อยละ 2.69 ซึ่งถือว่าในปี 2562 หน่วยงานสังกัดสำนักงานอธิการบดีสามารถดำเนินงานตามตัวชี้วัดได้บรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติการในระดับดี คือบรรลุเป้าหมายที่ร้อยละ 81.18  ซึ่งจากการศึกษาพบว่าโครงการที่ตัวชี้วัดไม่บรรลุผลเกิดจากอุปสรรคในการจัดงาน หรือการดำเนินโครงการยังไม่แล้วเสร็จภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 บางโครงการมีอุปสรรคจากการประชาสัมพันธ์ที่ส่งผลให้มีจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการไม่ครบตามเป้าหมาย หรือไม่ได้มีการประเมินผลการดำเนินโครงการตามแผนที่กำหนด


ในส่วนของกลยุทธ์ทั้ง 7 ข้อของสำนักงานอธิการบดีนั้น พบว่าโครงการและกิจกรรมที่มีการดำเนินการสามารถสนับสนุนกลยุทธ์ทั้ง 7 ข้อได้ตามเป้าหมายในระดับดี โดยมีค่าเฉลี่ยที่ร้อยละ 83.59 โดยมีกลยุทธ์ด้านการปรับปรุงกระบวนการทำงานด้วยเทคโนโลยีที่สามารถดำเนินการได้ร้อยละ 100


 


ข้อเสนอแนะจากการวิเคราะห์


  1. การเสนอให้มีการกำหนดโครงการพร้อมมีงบประมาณกำกับ เพื่อสำนักงานอธิการบดีจักสามารถวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการดำเนินโครงการได้

  2. การใช้ประโยชน์จากแผนปฏิบัติการประจำปีและกระบวนการติดตามและประเมินผลซึ่งสามารถช่วยให้ผู้บริหารรับทราบข้อบกพร่องและร่วมแก้ไขข้อผิดพลาดได้

  3. การมีส่วนร่วมในการวางแผนปฏิบัติการของบุคลากรภายในหน่วยงานเพื่อให้ทุกคนได้มีส่วนในการผลักดันผลงานและกำหนดทิศทางในการบริหารหน่วยงานต่อไป

 


คำสำคัญ (Keywords) : การติดตามและประเมินผล, แผนปฏิบัติการประจำปี (Action plan), กลยุทธ์และตัวชี้วัด

Article Details

How to Cite
praphudtham, nida. (2020). An Analysis and evaluation report of the annual action plan : the office of the president of Kasetsart University: รายงานการวิเคราะห์การติดตามและประเมินผลแผนปฏิบัติการประจำปี พ.ศ.2562 สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. Journal of KMITL Business School, 10(1), 85–100. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/fam/article/view/240450
Section
Articles

References

คู่มือการติดตามและประเมินผล. (2550). กลุ่มงานติดตามและประเมินผล สำนักนโยบายและแผน สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2563. จาก https://www.senate.go.th/assets/portals/1/files/manual_assess.pdf/บทที่ 3 หลักการประเมินผลโครงการ/
คู่มือการประเมินผล. (2556). ศูนย์ประเมินผล สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร.
พสุ เตชะรินทร์. (2544). เส้นทางกลยุทธ์สู่การปฏิบัติด้วย Balanced Scorecard และ Key Performance Indicators. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เสนาะ ติเยาว์ (2543). หลักการบริหาร. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Kaplan, Robert and Norton, David. (1996). The Balanced Scorecard: Translating Strategy into Action. Harvard Business School Press.