การประเมินโครงการเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมในสถานศึกษา โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPPIEST Model โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองตาโผ่นมิตรภาพที่ 5

Main Article Content

ฐิติมาภรณ์ โชคสัมฤทธิ์ผล

บทคัดย่อ

การประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินความเหมาะสมของการดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมในสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองตาโผ่น มิตรภาพที่ 5 2) ประเมินผลผลิตของโครงการเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมในสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาลบ้านหนองตาโผ่น มิตรภาพที่ 5 และ3) เพื่อศึกษาแนวทางของการดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมในสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาลบ้านหนองตาโผ่น มิตรภาพที่ ๕ขั้นตอนที่ 1 กลุ่มเป้าหมาย คือ ครูและบุคลากรทางการศึกษาจำนวน 40 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินความเหมาะสม ขั้นตอนที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบง่ายใช้ตารางของ Krejcie & Morgan จำนวน 152 คน และผู้ปกครองของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 152 คน (ตามจำนวนของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง) เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการประเมิน พบว่า การดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมในสถานศึกษา โดยภาพรวม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (equation=4.47, equation=.160) การประเมินผลผลิตของโครงการเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมในสถานศึกษา จากนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ พบว่า โดยรวมผ่านเกณฑ์การประเมิน อยู่ในระดับมาก (equation=4.15, S.D.=.250) จากผู้ปกครองของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ พบว่าโดยรวมผ่านเกณฑ์ การประเมินอยู่ในระดับมาก (equation=4.12, S.D.=.271) และการศึกษาแนวทางของการดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมในสถานศึกษา พบว่า ควรมีแผนการดำเนินโครงการที่สอดคล้องกับนโยบายการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม ดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่องในทุก ๆ ปี มีการเตรียมความพร้อมของครูและบุคลากรทางการศึกษา วิทยากรผู้ให้ความรู้ วัสดุอุปกรณ์และอาคารสถานที่ให้พร้อม กำหนดบทบาทหน้าที่ในการรับผิดชอบวางแผนการดำเนินงานมีการนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผล หลังสิ้นสุดการดำเนินกิจกรรมและรายงานผลการปฏิบัติงานต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้นำข้อค้นพบในปรับปรุงแก้ไข เผยแพร่และขยายผลสู่ชุมชน โดยนำความรู้ที่ได้ไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิผล มีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านความกตัญญูกตเวที  มีวินัยที่ดี ซื่อสัตย์สุจริต พอเพียง และจิตอาสามากขึ้น เป็นแบบอย่างที่ดีและส่งผลต่อความรู้แก่เพื่อน ครอบครัวและคนชุมชนได้ และควรติดตามผลการดำเนินงานและรายงานผลอย่างต่อเนื่อง     เป็นรูปธรรมของการดำเนินโครงการที่ประสบผลสำเร็จไปใช้ปีถัดไป

Downloads

Article Details

บท
Research Article

References

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงาน. (2560). แนวทางการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560. คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

ชำเลือง วุฒิจันทร์. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปลูกฝังคุณธรรม. การศาสนา.

ทิวัฒน์ มณีโชติ. (2561). รูปแบบการประเมินโครงการ ในการประเมินโครงการ หน่วยที่ 1–7 (พิมพ์ครั้งที่ 6). โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ธัญลักษณ์ ชูศรีโฉม และธีระพงศ์ บุศรากูล. (2564). แนวทางการจัดการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมแก่นักเรียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 11(1), 49-62. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/var/article/view/244020

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). สุวีริยาสาส์น.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2562). เทคนิคการประเมินโครงการ: แนวคิดและการประยุกต์ใช้. ศูนย์หนังสือจุฬา.

มนิดา เจริญภูมิ. (2559). การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนแวงน้อยศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

มินตรา สมจิตต์ ศิริชัย กาญจนวาสี และโชติกา ภาษีผล. (2567). การใช้แบบจําลอง CIPP และแนวคิดที่คลาดเคลื่อนในการนําแบบจําลอง CIPP มาใช้ในการประเมินโครงการทางการศึกษา. วารสารการวัด ประเมินผล สถิติ และการวิจัยทางสังคมศาสตร์. 5(2), 38-52. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/mesr/article/view/275105

รัตนะ บัวสนธ์. (2556). รูปแบบการประเมิน CIPP และ CIPPIEST มโนทัศน์ที่คาดเคลื่อนและถูกต้องในการใช้. วารสารศิลปากร ศึกษาศาสตร์วิจัย. 5(2), 7-24. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/257105

เลขาธิการสภาการศึกษา, สำนักงาน. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560–2579. บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

วรัชยา ประจำ. (2564). การประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนในโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โรงเรียนอนุบาลห้วยทับทันโดยใช้ CIPP Model. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. 15(3), 102-123. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sskrujournal/article/view/252452

ศิลชัย ถาวร. (2565). การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ของโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศ ศาลายาในพระสังฆราชูปถัมภ์. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน). (2556). มาตรฐานโรงเรียนคุณธรรม. ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน).

ศูนย์โรงเรียนคุณธรรม มูลนิธิยุวสถิรคุณ. (2558). คู่มือปฏิบัติโรงเรียนคุณธรรม. บริษัท สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสซิ่ง จำกัด.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3), 607–610.

Stufflebeam, D. L. & Shinkfield, A. J. (2007). The Spirit of Consuelo: An Evaluation of Ke Aka Ho’ona. Kalamazoo.

Stufflebeam, D., Gullickson, L. A. & Wingate L. (2002). The Spirit of Consuelo: An Evaluation of Ke Aka Hoona. The Evaluation Center, Western Michigan University.

Stufflebeam, D.L. (1997). Educational evaluation and decision making. Peacock Publishers, Inc.