ผลการใช้กิจกรรมนาโนเลิร์นนิงเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมพื้นฐานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

พระครูวินัยธรโกมินทร์ สุโกวิโท (เตียแอก)
นุชจรี บุญเกต
ขจรศักดิ์ สงวนสัตย์

บทคัดย่อ

การวิจัยผลการใช้กิจกรรมนาโนเลิร์นนิงเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมพื้นฐานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จังหวัดสุรินทร์ วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1.เพื่อเปรียบเทียบคุณธรรมจริยธรรมพื้นฐานก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนด้วยกิจกรรมการวิเคราะห์คลิปนาโนเลิร์นนิง 2.เพื่อเปรียบเทียบคุณธรรมจริยธรรมพื้นฐานก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการสร้างคลิปนาโนเลิร์นนิง 3.เพื่อเปรียบเทียบคุณธรรมจริยธรรมพื้นฐานหลังเรียนของนักเรียน ด้วยกิจกรรมการวิเคราะห์คลิปนาโนเลิร์นนิงกับกิจกรรมการสร้างคลิปนาโนเลิร์นนิง ตัวอย่างได้แก่ นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนสิรินธร จำนวน 59 คน ซึ่งได้มาได้มาโดยการสุ่ม แบบแบ่งกลุ่ม ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา ตัวแปรต้น คือ กิจกรรมนาโนเลิร์นนิง (Nano Learning) 2 แบบ ได้แก่ 1) กิจกรรมการวิเคราะห์คลิปนาโนเลิร์นนิง มีนักเรียนตัวอย่าง จำนวน 27 คน 2) กิจกรรมการสร้างคลิปนาโนเลิร์นนิง มีนักเรียนตัวอย่าง จำนวน 32 คน ตัวแปรตาม ได้แก่ 1) ความรู้เชิงคุณธรรมจริยธรรมพื้นฐาน 2)เหตุผลเชิงคุณธรรมจริยธรรมพื้นฐาน 3) พฤติกรรมเชิงคุณธรรมจริยธรรมพื้นฐาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คุณธรรมจริยธรรมพื้นฐาน2)คลิปประกอบกิจกรรมการเรียนรู้ 3) แบบวัดคุณธรรมจริยธรรมพื้นฐาน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ x̅, S.D., t-test, one-way MANCOVA


ผลการวิจัยพบว่า


1) นักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการวิเคราะห์คลิปนาโนเลิร์นนิง มีคะแนนความรู้ และเหตุผลเชิงคุณธรรมจริยธรรมพื้นฐาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05


2) นักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการวิเคราะห์คลิปนาโนเลิร์นนิง ก่อนเรียนและหลังเรียนมีคะแนนพฤติกรรมเชิงคุณธรรมจริยธรรมพื้นฐาน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05


3) นักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการสร้างคลิปนาโนเลิร์นนิงก่อนเรียนและหลังเรียนมีคะแนนความรู้ และพฤติกรรมเชิงคุณธรรมจริยธรรมพื้นฐานหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05


4) นักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการสร้างคลิปนาโนเลิร์นนิง ก่อนเรียนและหลังเรียนมีคะแนนเหตุผล เชิงคุณธรรมจริยธรรมพื้นฐานไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05


5) นักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการวิเคราะห์คลิป และการสร้างคลิปมีคะแนนความรู้ การมีเหตุผล การมีพฤติกรรมเชิงคุณธรรมจริยธรรมพื้นฐานหลังเรียนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05

Downloads

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552,15 พฤศจิกายน). 8 คุณธรรมพื้นฐาน.กระทรวงศึกษาธิการ. https://www.moe.go.th/๘-คุณธรรมพื้นฐาน/?utm_source=chatgpt.com

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุงปรุง 2560). โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ชยนุช ไชยรัตนะ และโรส ภักดีโต (2561). ผลของการสอนโดยใช้สถานการณ์ผ่านสื่อการเรียนรู้อีเลิร์นนิงต่อการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมและทัศนคติเชิงจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 11(2), 204-218. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/trcnj/article/view/164314

พระสมุห์เขตโศภน ธีรปญฺโญ (เข็มแก้ว) พระครูใบฎีกาเวียง กิตติวณฺโณ และทวีศักดิ์ ทองทิพย์. (2566). ผลสําเร็จของการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนบ้านขะเนก ตําบลหนองขวาว อําเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์. วารสารมหาจุฬาคชสาร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์, 14(2), 298-310. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/gajasara/article/view/264728

อัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว. (2561). สื่อศาสตร์ หลักการ แนวคิด นวัตกรรม. สำนักพิมพ์นาคร.

Khlaif, Z.N. and Salha, S. (2021). Using TikTok in Education: A Form of Micro-learning or Nano-learning?. Interdisciplinary Journal of Virtual Learning in Medical Sciences, 12(3), 213-218, https://ijvlms.sums.ac.ir/article_47678_c8873a984de4d9c3596440743c0abcdb.pdf

Killen, M., & Dahl, A. (2021). Moral development in context: Culture, social interactions, and morality. Annual Review of Developmental Psychology, 3, 45-70.

Mardan, N. (2021). NANO LEARNING-The Futuristic Approach to Education. IJIRT. 8(5), 116-120. https://ijirt.org/master/publishedpaper/IJIRT152958_PAPER.pdf

NANPED. (2564, 10 สิงหาคม). รวมไอเดียการสอนโดยใช้ TikTok. https://inskru.com/idea/-MgjLvHjpOFbj53zS6an

Puthanveedu, L. (2022, 26 October). Nano-Learning: How to run Bite-Sized Lessons with Big Impacts. Ahaslides. https://ahaslides.com/blog/nano-learning

Smetana, J. G. (2020). The development of morality in childhood and adolescence. Current Directions in Psychological Science, 29(2), 167-173.