ผลการทดลองใช้บทเรียนเพื่อส่งเสริมทักษะภาษาอังกฤษบนพื้นที่เสมือนจริง เพื่อพัฒนากำลังคนด้านอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการบทเรียนส่งเสริมทักษะภาษาอังกฤษฯ 2) เพื่อออกแบบบทเรียนส่งเสริมทักษะภาษาอังกฤษฯ 3) เพื่อศึกษาผลการใช้บทเรียนส่งเสริมทักษะภาษาอังกฤษฯ และ 4) ความพึงพอใจที่มีต่อบทเรียน ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงทดลอง ประชากรในการศึกษา คือ (1) นักศึกษาฯ จำนวน 270 คน (2) บุคลากรทำงานในระดับปฏิบัติการในวงการภาพยนตร์ จำนวน 114 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสำรวจความต้องการ 2) แบบประเมินความพึงพอใจ และ 3) แบบประเมินความสามารถทางภาษาอังกฤษด้าน คำศัพท์ ไวยากรณ์และการอ่าน และการพูด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. นักศึกษาและบุคลากรฯ พบว่า มีปัญหาเรื่องทักษะการสื่อสารและการฟัง และมีความต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับคำศัพท์เฉพาะและการพัฒนาทักษะการพูด ผ่านเทคโนโลยีสมัยใหม่
2. การออกแบบเนื้อหาบทเรียนส่งเสริมทักษะภาษาอังกฤษฯ มีจำนวน 10 บทเรียน ประกอบด้วย แนะนำอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับภาพยนตร์ บทบาทหน้าที่ สตอรี่บอร์ด สถานที่ แคสติ้ง ฟิตติ้ง กระบวนการถ่ายทำภาพยนตร์เชคฟุตเทจและซิงค์เสียง กระบวนการตัดต่อภาพและเสียง และการใส่เอฟเฟกต์ภาพ
3. ผลลัพธ์การเรียนรู้ทักษะภาษาอังกฤษของนักศึกษาผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 เท่ากับ 73.33 และ (μ=47.78, σ=10.14) ประชากรที่ไม่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 26.67 และ (μ=29.53, σ=3.79) ส่วนกลุ่มบุคลากรฯ ในภาพรวมอยู่ในระดับผ่านเกณฑ์ เท่ากับ 70.18 และ (μ=50.00, σ=6.15) ประชากรที่ไม่ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 29.82 และ (μ=26.15, σ=6.28)
4. ความพึงพอใจที่มีต่อบทเรียน มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก (μ 4.73, σ=0.67)
Downloads
Article Details
References
ใจทิพย์ ณ สงขลา. (2565, 30 มีนาคม). Metaverse อนาคตการศึกษาข้ามพรมแดน การเรียนรู้จากโลกจริงสู่โลกเสมือน. https://www.chula.ac.th/highlight/64690/?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTAAAR3JUCv9uUw5j_DTwT_WK7p_LHfAy0t3uzrfHgilxEPacidrZt_WkmXHC_s_aem_AU6c3D721KVS6pzsun4taw
ศิริรักษ์ ถิรบรรจงเจริญ. (2560). ความต้องการในการพัฒนาทักษะด้านการใช้ภาษาอังกฤษแก่บุคลากรระดับหัวหน้างานและผู้บริหารระดับต้นในบริษัทเอกชน เขตจังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา). https://buuir.buu.ac.th/handle/1234567890/6411
เศรษฐา วีระธรรมานนท์ และอารีรัตน์ ใจประดับ. (2562). ศักยภาพของประเทศไทยด้านธุรกิจการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย: การวิเคราะห์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ที่เกื้อหนุนธุรกิจการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์, 13(1), 12-42. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dpuca/article/view/244378
สถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2565, 30 มีนาคม). เปิดโลกเรียนรู้ภาษาจีนผ่าน Metaverse. https://www.tap-magazine.net/blog-th/metaverse
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน). (2564). รายงานการศึกษาการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์สาขาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ปี 2564. ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Green, C. and Ruhleder, K. (1995), “Globalization, borderless worlds, and the Tower of Babel: Metaphors gone awry”, Journal of Organizational Change Management, 8(4), 55-68. https://doi.org/10.1108/09534819510090213
Hutchinson and Waters. (1987). English for Specific Purposes: A learning – centered approach. United kingdom: Cambridge University Press. https://assets.cambridge.org/97805213/18372/excerpt/9780521318372_excerpt.pdf
Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Tijschrit voor Onderwijsresearch, 2(2), 49-6.
Sarkis, R. (2012). Using Cognitive Strategies to Improve English Speaking Skill and Self confidence. American Journal of Education Sciences. 2(4), 19-23.