การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้บริบทท้องถิ่นเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ เพื่อความเข้าใจและทักษะการคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้บริบทท้องถิ่น 2) เพื่อหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนรู้ แบบเน้นภาระงานร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้บริบทท้องถิ่นให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนก่อนและหลังการใช้รูปแบบ 4) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนก่อนและหลังการใช้รูปแบบ และ 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนพิศาลปุณณวิทยา ที่ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) รูปแบบการเรียนรู้ แบบเน้นภาระงานร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้บริบทท้องถิ่น 2) แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ 3) แบบทดสอบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ 4) แบบทดสอบทักษะการคิดวิเคราะห์ และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ที่สร้างขึ้น สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ พบว่า จุดมุ่งหมายของหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษคือ การพัฒนาและส่งเสริมความสามารถในการอ่านและทักษะการคิดวิเคราะห์โดยเน้นผู้เรียนได้ปฏิบัติงานอย่างมีขั้นตอนและสร้างเป้าหมายของการปฏิบัติอย่างชัดเจนช่วยเสริมสร้างแรงจูงใจความตระหนักในการเรียน มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ มีความรับผิดชอบและมีความสุขในการเรียนรู้
2. รูปแบบการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ มีชื่อว่า “PASAR Model” ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลักได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผล ซึ่งมีกระบวนการเรียนรู้ได้แก่ ขั้นเตรียมความพร้อมและสร้างแรงจูงใจ (P: Preparing and Motivating) ขั้นกระตุ้นความรู้เดิม (A: Activating background knowledge) ขั้นเรียนรู้อย่างมีความหมายและฝึกภาษา (S: Studying and Practicing) ขั้นวิเคราะห์ และนำความรู้ไปใช้ (A: Analyzing and Applying) และขั้นสะท้อนความคิด (R: Reviewing) ซึ่งรูปแบบการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.76/ 83.50
3. ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้สูงกว่าก่อนเรียนด้วยรูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ทักษะการคิดวิเคราะห์หลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
5. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้บริบทท้องถิ่น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
Downloads
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). ทักษะที่จำเป็นแห่งอนาคต (Future Skill) เพื่อเตรียมการพัฒนาคุณภาพคนไทยทุกช่วงวัยรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (Disruption) ของโลกศตวรรษที่ 21: ผลการศึกษาและแนวทางการ ส่งเสริม. เพชรเกษมพรินติ้ง กรุ๊บ.
ทิศนา แขมมณี. (2566). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 26). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุษราคัม อินทสุก. (2563). ผลการใช้รูปแบบการสอนอ่าน-เขียนภาษาอังกฤษโดยใช้เนื้อหาวัฒนธรรมไทยภาคเหนือร่วมกับการสอนด้วยกิจกรรมภาระงานต่อความสามารถในการอ่าน-เขียนเพื่อการสื่อสารสำหรับนักศึกษา ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ภูมินทร์ เหลาอำนาจ. (2562). การพัฒนารูปแบบการสอนเน้นภาระงานและการสอนอ่านแบบเน้นมโนทัศน์เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและกลวิธีการอ่านสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ภัธภร หลั่งประยูร. (2565). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนผสมผสานตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของนักศึกษา สาขาการสอนภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วิภาวินี พันธุตา. (2566). ผลของการใช้กลยุทธ์การสอนอ่านแบบ Directed Reading Thinking Activity (DR-TA) ร่วมกับเนื้อหาตามบริบทในท้องถิ่น เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2565). ผลการวิเคราะห์ผลการสดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน. กลุ่มงานผลิตและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผล.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2566). สมรรถนะการศึกษาไทยในเวทีโลก ปี 2565 (IMD 2022). 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.
Chen, S & Wang. (2019). Effects of Task-Based Language Teaching (TBLT) Approach and Language Assessment on Students Competences in Intensive Reading Course. English Language Teaching, 12(3), 119-138.
Grabe, W., & Stoller, F. L. (2019). Teaching and researching reading (3rded.). Routledge.
Jacob, G.M., & Kimura, H. (2023). Cooperative learning and teaching (2nded.). TESOL International Association.
Maulana, A. (2020). Cross-culture understanding in EFL teaching: An analysis for Indonesia context. Linguistics: Journal of Linguistics and Language Teaching 6,(2), 98-107.
Wang, G. (2020). On the Application of Cooperative Learning in College English Teaching. International Education Studies, 13(6), 62-66.