การศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารของผู้สูงอายุในจังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

วิชชากร บุตรโยธี
อุดม หอมคำ
ขจรศักดิ์ สงวนสัตย์

บทคัดย่อ

การศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้สูงอายุในจังหวัดสุรินทร์ครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหาและความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้สูงอายุในจังหวัดสุรินทร์ 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพ ปัญหาและความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้สูงอายุในจังหวัดสุรินทร์ โดยจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และรายได้ กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุในจังหวัดสุรินทร์จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที (t-test Independence) สถิติเอฟ (F-test : One Way ANOVA)


ผลการวิจัยพบว่าผู้สูงอายุในจังหวัดสุรินทร์มีการใช้และความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอยู่ในระดับปานกลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคม แต่ยังมีปัญหาในการใช้งานอยู่บ้าง โดยเฉพาะ ในด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคมเช่นกัน นอกจากนี้ยังพบว่ามี ความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ระหว่างกลุ่มผู้สูงอายุที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และรายได้ต่างกัน ในด้านสภาพ ปัญหา และความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ยกเว้นในด้านบันเทิงที่ไม่พบความแตกต่างตามอายุ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2566). จำนวนผู้สูงอายุ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 จังหวัดสุรินทร์.

ณรงค์ศักดิ์ ศรีทานันท์. (2554). บทบาทของสื่อใหม่ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยี. วารสารนิเทศศาสตร์, 30(1), 1-23.

ทิศนา แขมมณี. (2560). การบริหารการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(3), 2145-2160.

ธิดารัตน์ สาระพล. (2561). ความต้องการสารสนเทศของผู้สูงอายุเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ โรงเรียนผู้สูงอายุ ตำบลมะอึ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารชุมชนวิจัย. 12(3), 114-123.

วีรณัฐ โรจนประภา. (2560). พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และปัจจัยที่มีผลต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้สูงอายุ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี, 7(3), 88-99.

สถิติจังหวัดสุรินทร์. (2566). จำนวนประชากรผู้สูงอายุ จำแนกตามอำเภอและช่วงอายุ ปี พ.ศ. 2566.

สัญฌา พันธุ์แพง. (2561). พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ของผู้สูงอายุ. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 13(2), 111-121.

สุวิมล โพธิ์กลิ่น และคณะ. (2566). สภาพและปัญหาการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น, 16(1), 104-115.

Wood, R., Lanuza, D. M., Bacin, L., MacKenzie, R. A., & Nosko, A. (2010). Older adults’ attitudes towards and use of information and communications technology. Educational Gerontology, 36(3), 209-226.

Yamane, T. (1960). Elementary sampling theory. Prentice-Hall, Inc.