การพัฒนารายวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารในระบบการจัดการเรียนรู้แบบเปิด (MOOCs) สำหรับกำลังคนพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก

Main Article Content

พิมพ์สุพร สุนทรินทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นที่จะพัฒนารายวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ในระบบการจัดการเรียนรู้แบบเปิด(MOOCs) 2) พัฒนารายวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารในระบบการจัดการเรียนรู้แบบเปิด (MOOCs) และ 3) ศึกษาผลการใช้รายวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารในระบบการจัดการเรียนรูแบบเปด (MOOCs) สำหรับกําลังคนพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก มีวิธีการดำเนินการวิจัย 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาความต้องการจำเป็นฯ กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มบุคลากรทางการศึกษา ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก จำนวน 400 คน กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามความต้องการจำเป็น และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก ระยะที่ 2 การพัฒนารายวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารในระบบการจัดการเรียนรู้แบบเปิด (MOOCs) กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบประเมินคุณภาพของรายวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารในระบบการจัดการเรียนรู้แบบเปิด (MOOCs) และระยะที่ 3 การทดลองใช้รายวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารในระบบการจัดการเรียนรู้แบบเปิด (MOOCs) กลุ่มผู้เข้าร่วมใช้ฯ จำนวน 40 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ รายวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารในระบบการจัดการเรียนรู้แบบเปิด (MOOCs) และแบบประเมินความพึงพอใจรายวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารในบทเรียนออนไลน์ระบบเปิด


ผลการวิจัยพบว่า


1. ค่าเฉลี่ยความต้องการจำเป็นด้านการเขียน (PNIModified = 0.47) มีความต้องการจำเป็นลำดับที่ 1 รองลงมา คือ ด้านการอ่าน (PNIModified = 0.37), ด้านความรู้เบื้องต้นภาษาไทย (PNIModified = 0.29),และด้านปัญหา อุปสรรคและการประยุกต์ใช้ภาษาไทยในชีวิตประจำวัน (PNIModified = 0.16) มีความต้องการจำเป็นน้อยที่สุด


2.บทเรียนรายวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารในระบบการจัดการเรียนรู้แบบเปิด(MOOCs) มีประสิทธิภาพเท่ากับ E1/ E2 = 81.45/83.99 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด


3. คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน (gif.latex?\bar{x}= 8.15) (S.D=0.85) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบการจัดการเรียนรู้แบบเปิด(MOOCs)ฯ โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก. (gif.latex?\bar{x}= 3.93) (S.D=0.73) แสดงให้เห็นว่าการเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ระบบเปิด BUU MOOCs สามารถเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในยุคดิจิทัล

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ. (2561). แผนการศึกษาแห่งชาติ 2560 - 2574. พริกหวานกราฟฟิค.

จำเนียร จวงตระกูล. (2563). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์:ทฤษฎีและการปฏิบัติ. ซึเอ็ดยูเคชั่น.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2565). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อการเรียนการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 5(1), 7-20. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/view/28419

เบญจวรรณ ศริกุล, จตุพล ยงศร และ จักรกฤษณ์ โปณะทอง. (2562). การศึกษาทักษะภาษาไทยเพื่อการสื่อสารสำหรับนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา กลุ่มภาคใต้ตอนบน. วารสารสุทธิปริทัศน์, 33(108), 90-104. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/view/242263

สิริกัญญา มณีนิล และศศิฉาย ธนะมัย. (2563). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์แบบเปิดตามแนวคิดการเรียนรู้ร่วมกันสำหรับผู้เรียนกลุ่มใหญ่ที่มีลีลาการเรียนรู้แตกต่างกัน. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ, 13 (1), 15-29.

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. (2662). แผนภาพรวมเพื่อการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (พ.ศ. 2560-2565). https://www.eeco.or.th/th/filedownload/1478/cf4092afd2456bb1f03995574db27a75.pdf

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ. (2565). Massive Open Online Courses. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. https://arit.sru.ac.th/th/news-activities/arit-share/751-moocs.html

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2562). รายงานประจำปี 2562 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. สำนักพิมพ์บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2562). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น (พิมพ์ครั้งที่ 3). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.