การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และทักษะการนำเสนอโดยใช้การเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับกระดาน Moodboard สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนด้วยการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับกระดาน Moodboard 2) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนด้วยการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับกระดาน Moodboard กับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 3) เปรียบเทียบทักษะการนำเสนอของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนด้วยการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์ เป็นฐานร่วมกับกระดาน Moodboard กับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนการเคหะท่าทราย จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้การวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับกระดาน Moodboard 2) แบบประเมินความคิดสร้างสรรค์ และ 3) แบบประเมินทักษะการนำเสนอ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test for one sample
ผลการวิจัยพบว่า
1) ระดับความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนด้วยการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับกระดาน Moodboard อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 60.27 คะแนน)
2) ความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนด้วยการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับกระดาน Moodboard สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3) ทักษะการนำเสนอของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนด้วยการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับกระดาน Moodboard สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Downloads
Article Details
References
กนิษฐา พูลลาภ. (2563). การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานสำหรับนักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนผดุงนารี. การประชุมวิชาการการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 21. (562-575) มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ณัฐทิญาภรณ์ การะเกตุ. (2566). การพัฒนาทักษะการสื่อสารด้านการนําเสนอผลงานของนักศึกษาชั้นปี 3 สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 9(8), 1803-1812. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jsa-journal/article/view/265795
ณัฐวรรณ เฉลิมสุข (2563). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน วิชาศิลปศึกษาตามแนวทางการคิดเชิงออกแบบร่วมกับการเรียนศิลปะปฏิบัติที่บูรณาการเครื่องมือทางปัญญาเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างผลงานศิลปะของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3274
ณัฐสุดา ธุมาลา และภูมิพงศ์ จอมหงษ์พิพัฒน์. (2563). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบลวดลายผ้าบาติกตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานสำหรับนักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 คณะศิลปกรรม วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 17(2), 471-482. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/umt-poly/article/view/246117
เทพ สงวนกิตติพันธุ์. (2558). เทคนิคในการนำเสนอ. ศูนย์วิทยพัฒนามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช อุดรธานี.
ปัญจนาฏ วรวัฒนชัย. (2565). ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์. วารสารครุศาสตร์สาร, 16(1), 14-31.
ภาวิณี โตสำลี และณัฐทิญาภรณ์ การะเกตุ. (2563). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ด้วยการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์. วารสารลวะศรีมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, 5(1), 53-66. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/lawasrijo/article/view/250926
วิพรพรรณ ศรีสุธรรม. (2562). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานเพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และผลสัมฤทธ์ทางการเรียนของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม]. https://fulltext.rmu.ac.th/fulltext/2562/M126716/Srisutham%20Wipornphan.pdf
วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ และ วรวรรณ นิมิตพงษ์กุล. (2562). สอนสร้างสรรค์เรียนสนุกยุค 4.0. ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ศศิมา สุขสว่าง. (2563). การพัฒนาความคิดเชิงนวัตกรรม. HCD Innovation. https://www.sasimasuk.com/16805006/การพัฒนาความคิดเชิงนวัตกรรม-innovative-thinkng-เพื่อพัฒนานวัตกรรมในองค์กร
ศิริรัตน์ ศิริวรรณ. (2557). พรีเซนต์อย่างโปร. ปัญญมิตร.
สรัล สุวรรณ และอุบลวรรณ ส่งเสริม. (2566). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้ศิลปะเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 13(1), 91-100. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/ajpbru/article/view/259991
สุภัทรดิศ ดิศกุล และ เขียน ยิ้มศิริ. (2559). บทความ ข้อเขียน และงานศิลปกรรมของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี. หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. (2566). รายงานสถิติการศึกษา ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. https://webportal.bangkok.go.th/user_files/116/2052212579651f64bf7549d6.15479121.pdf
สุธีพร กุลค้อ, นงลักษณ์ วิริยะพงษ์, และ มนชยา เจียงประดิษฐ์. (2566). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง รูปเรขาคณิตสามมิติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปที่ 6. วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา, 6(2), 293-302. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSSE/article/view/264744
ไสว ฟักขาว และ อาภาพร สิงหราช. (2566). วิทยาการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน. ศูนย์ผลิตตำราเรียนและสิ่งพิมพ์ดิจิทัล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
Chishiti., R., Anwar, M., Anwar, A., Ali, S., Yousaf, F. & Mughal, Z. (2022). Visual Arts Pedagogy and Its Impoact on Creativity and problem Solving Ability of Elemenyary School Students. Webology, 19(3), 3835-3846.
Guilford, J. P. (1967). The nature of human intelligence. McGraw-Hill Book Company.
Shedd, M. K. & Coyner, R. L. (2015). Preschool and Kindergarten: Every Color on the Canvas Using Art to Explore Preschoolers’ Understanding of Differences. YC Young Children, 70(3), 84-75. https://www.jstor.org/stable/ycyoungchildren.70.3.84
Wagner, T. (2021). Learning by Heart: An Unconventional Education. Viking.