การพัฒนาทักษะการใช้โปรแกรม Microsoft Word โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน ร่วมกับการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

นพรัตน์ เฉิดวาสนา
วิจิตรา โสเพ็ง
สฤษดิ์ ศรีขาว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนร่วมกับ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ไมโครซอฟต์เวิร์ดเบื้องต้น ตามเกณฑ์ 80/80 (2) เปรียบเทียบทักษะการใช้โปรแกรม Microsoft Word ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน ร่วมกับการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ไมโครซอฟต์เวิร์ดเบื้องต้น และ (3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนร่วมกับการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ไมโครซอฟต์เวิร์ดเบื้องต้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 10 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 5 แผน 2) แบบวัดทักษะการใช้โปรแกรมไมโครซอฟท์เวิร์ด และ 3) แบบสอบถามความพึงใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนร่วมกับการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน รายวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วย t-test (Dependent Samples)


ผลการศึกษาพบว่า


1. ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน ร่วมกับการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ไมโครซอฟต์เวิร์ดเบื้องต้น มีค่าเท่ากับ 78.40/80.60


2. ทักษะการใช้โปรแกรม Microsoft Word โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน ร่วมกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งมีค่าสถิติทดสอบ t-test เท่ากับ 16.661


3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน ร่วมกับการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยรวมอยู่ในระดับมาก (equation= 4.25, S.D.= 0.74) เมื่อพิจารณาผลการวิเคราะห์รายด้าน พบว่าความพึงพอใจของนักเรียน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ นักเรียนมีความพึงพอใจด้านผู้สอนอยู่ในระดับมากที่สุด (equation= 4.57, S.D.=0.58) รองลงมา ได้แก่ ความพึงพอใจด้านเนื้อหาอยู่ในระดับมาก (equation=4.32, S.D.=0.73) ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก (equation=4.27, S.D.=0.72) ด้านสื่อและอุปกรณ์การเรียนรู้อยู่ในระดับมาก (equation=4.18, S.D.=0.87) และ ด้านการวัดประเมินผล อยู่ในระดับมาก (equation=3.93, S.D.=0.75) ตามลำดับ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). การศึกษาไทย 4.0. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

โกเมศ แดงทองดี. (2561). การศึกษาในยุค Thailand 4.0. วารสารการอาชีวศึกษาภาคกลาง, (1), 1-6.https://so01.tci-thaijo.org/index.php/NBU/article/view/251680

เชน ชวนชม. (2561). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน เรื่อง การใช้งานโปรแกรม Microsoft office สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารวิชาการ สถาบันการพลศึกษา, 10(3), 3-5.

ณัฐริน เจริญเกียรติบวร และมัทนา วังถนอมศักดิ์. (2560). คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องการทำงานของคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ ทวีวัฒนา) ในพระราชูปถัมภ์ ฯ, Veridian E-Journal, SilpakornUniversity: ฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 10(2), 2088-2101. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/103438

พาสนา จุลรัตน์. (2561). การจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนในยุค Thailand 4.0. Veridian E-Jurnal Silpakorn University : ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(2), 2363-2380. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/144570

สุนันท์ สีพาย. (2562). บทบาทของครูไทยในการศึกษา 4.0. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,25(2), 3-14. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemmsu/article/view/231917

อาภรณ์ศิริ พลรักษา. (2561). การพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้เกมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม]. https://fulltext.rmu.ac.th/fulltext/2561/M126619/Phonraksa%20Apornsiri.pdf

Vestberg, H. (Sep 21, 2018). Why we need both science and humanities for a Fourth Industrial Revolution education. https://www.weforum.org/agenda/2018/09/why-we-need-both-science-and-humanities-for-a-fourth-industrial-revolution-education/