วัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนกลุ่มโรงเรียนเครือข่ายที่ 15 สังกัดกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ณัฏฐธิดา มูลทรัพย์
นิษรา พรสุริวงษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1.เพื่อศึกษาระดับวัฒนธรรมองค์กรของโรงเรียนกลุ่มโรงเรียนเครือข่ายที่ 15 สังกัดกรุงเทพมหานคร 2. เพื่อศึกษาระดับองค์การแห่งการเรียนรู้ ของโรงเรียนกลุ่มโรงเรียนเครือข่ายที่ 15 สังกัดกรุงเทพมหานคร 3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์กรกับองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนกลุ่มโรงเรียนเครือข่ายที่15สังกัดกรุงเทพมหานคร 4.เพื่อศึกษาวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนกลุ่มโรงเรียนเครือข่ายที่15 สังกัดกรุงเทพมหานครกลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้บริหารและครูผู้สอนสถานศึกษา จำนวน 205 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างใช้สูตรยามาเน โดยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิและสุ่มแบบง่ายด้วยวิธีการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์สถิติการถดถอยพหุคูณ แบบ Stepwise


ผลการวิจัยพบว่า


1.วัฒนธรรมองค์กรของโรงเรียนกลุ่มโรงเรียนเครือข่ายที่15สังกัดกรุงเทพมหานครโดยภาพรวมมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}=4.17,S.D.=.544)


2.องค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนกลุ่มโรงเรียนเครือข่ายที่15สังกัดกรุงเทพมหานครโดยภาพรวมมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก(gif.latex?\bar{x}=4.17,S.D.=.558)


3.วัฒนธรรมองค์กรมีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ในระดับสูง (rXY=.892)กับองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนกลุ่มโรงเรียนเครือข่ายที่15สังกัดกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


4.ตัวแปรพยากรณ์ที่ดีขององค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนกลุ่มโรงเรียนเครือข่ายที่ 15 สังกัดกรุงเทพมหานคร ดังนี้ ด้านความซื่อสัตย์สุจริต (x9) ด้านการยอมรับนับถือ (x7) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 และ ด้านความมุ่งประสงค์ขององค์กร (x1) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ.958 แสดงว่าตัวแปรพยากรณ์ชุดนี้ร่วมกันสามารถพยากรณ์องค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนกลุ่มโรงเรียนเครือข่ายที่15สังกัดกรุงเทพมหานคร ได้ร้อยละ 91.70 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการพยากรณ์เท่ากับ161ซึ่งสามารถเขียนสมการพยากรณ์ได้ดังนี้


สมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนดิบ


 Y = .102 + .473X9 - .122X7 - .081X1  


สมการในรูปแบบคะแนนมาตรฐาน


ZY = .505X9 - .132X7 - .086X1

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

จินตนา ทายะ และพรศักดิ์ สุจริตรักษ์. (2565). วัฒนธรรมองค์กรกับองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1. สิรินทรปริทรรศน์. (24)2, 277-293. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jsrc/article/view/254356

จิราภรณ์ พงษพัง. (2565). วัฒนธรรมองค์การกับประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครปฐมเขต 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/bitstream/123456789/4342/1/620620004.pdf

ชนิดา จิตตรุทธะ. (2556). วัฒนธรรมปิระมิดกับการทำให้เป็นประชาธิปไตย. คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นพรัตน์ แบบกัน. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนบางบ่อวิทยาคม: สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยบูรพา]. https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6768

นิติพล ภูตะโชติ. (2556). พฤติกรรมองค์การ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ยุรพร ศุทธรัตน์. (2558). องค์การเพื่อการเรียนรู้. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ราตรี พาลาด, กรองทิพย์ นาควิเชตร และศรุดา ชัยสุวรรณ. (2560). ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31. สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์, 4(1), 1-12. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sikkha/article/view/142420

วนิษา สายหยุด. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์กรกับองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พะเยา เขต 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพะเยา]. http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2159

วรญา รัตนดิลก ณ ภูเก็ต, นพรัตน์ ชัยเรือง และมะลิวัลย์ โยธารักษ์. (2563). วัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อการเป็น องค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาเทศบาลนครนครศรีธรรมราช. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 12(3), 126-138. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/nakboot/article/view/244500

วรพล วรพันธ์. (2562, 20 กันยายน). แนวทางการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้. https://www.scribd.com/document/595674312/8504แนวทางการสร-างองค-กรแห-งการเรียนรู

วาสนา สิริอำนวย, พิชญาภา ยืนยาว และธีรวุธ ธาดาตันติโชค. (2565). วัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1. วารสาร สิรินทรปริทรรศน์, 23(1), 156-166. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jsrc/article/view/248544

ศิริวิมล โพธิไข่. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา]. https://buuir.buu.ac.th/xmlui/bitstream/handle/1234567890/7094/Fulltext.pdf?sequence=1&isAllowed=y

สิริยาพร พรหมดิเรก, เยาวลักษณ์ สุตะโคตร และศิกานต์ เพียรธัญญกรณ์. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัย วัฒนธรรมองค์การกับประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สกลนคร. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 10(39), 196-206. https://jeal.snru.ac.th/ArticleView?ArticleID=1103

Marquardt, M. J. (2002). Building the earning rganization: A systems approach to quantum improvement and global success. McGraw-Hill.

Patterson. J. L., Purkey, S. C., & Parker, J. V. (1986). Productive school system for a nonrational world. Alexandria, VA: Association for Supervision and Curriculum Development.