ผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสอนรูปแบบโต้แย้ง (ADI) ร่วมกับการเรียนรู้ดิจิทัล เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วรรณคดีไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

 ทักษิณ แก้วประเสริฐ
สุภัชฌาน ศรีเอี่ยม
ฐาปนา จ้อยเจริญ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วรรณคดีไทย ด้วยกระบวนการสอนรูปแบบโต้แย้ง (ADI) ร่วมกับการเรียนรู้ดิจิทัลของห้องทดลอง ระหว่างหลังได้รับการเรียนรู้เทียบกับเกณฑ์ ร้อยละ 70 และ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วรรณคดีไทยหลังได้รับการเรียนรู้ระหว่างห้องทดลองกับห้องควบคุม ที่ได้รับกระบวนการสอนรูปแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 2 ห้องเรียน คือ ห้องทดลอง (ม.3/6) จำนวน 40 คน และห้องควบคุม (ม.3/7) จำนวน 40 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ที่ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ รูปแบบโต้แย้ง (ADI) ร่วมกับการเรียนรู้ดิจิทัล แผนการจัดการเรียนรู้ รูปแบบปกติ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที


ผลการวิจัยพบว่า


1) ห้องทดลองมีผลสัมฤทธิ์หลังจัดการเรียนรู้วรรณคดีไทยด้วยกระบวนการสอนรูปแบบโต้แย้ง (ADI) ร่วมกับการเรียนรู้ดิจิทัลสูงกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


2) ห้องทดลองมีผลสัมฤทธิ์หลังจัดการเรียนรู้วรรณคดีไทยด้วยกระบวนการสอนรูปแบบโต้แย้ง (ADI) ร่วมกับการเรียนรู้ดิจิทัลสูงกว่าห้องควบคุมที่จัดการเรียนรู้วรรณคดีไทยด้วยรูปแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. ครุสภาลาดพร้าว.

ชัยวัฒน์ แก้วพันงาม. (2561). แนวทางในการผสมผสานดิจิทัลเทคโนโลยีเพื่อการสอนภาษา. วารสารภาษาปริทัศน์, 33, 241-266.

ญาณิศา เนียมหอม และสุมาลี เชื้อชัย. (2564). การเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนสื่อสารวิชาภาษาไทยของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการเรียนรู้ดิจิทัลกับการสอนแบบ ปกติ. [ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]. http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/1504

ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2561). นวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาในยุคการเรียนรู้ 4.0. ตองสาม ดีไซน์.

นัชชา เพ็งภิญโญ. (2566). แนวทางในการผสมผการพัฒนาสื่อการเรียนรู้เทคโนโลยีความจริงเสริม ในรายวิชาภาษาไทย เรื่อง นิราศภูเขาทอง ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเซนต์คาเบรียลสานดิจิทัลเทคโนโลยีเพื่อการสอนภาษา. วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร, 8(2), 36-47.

ปัณณพร จันชัยภูมิ และณวรา สีที. (2563). ผลของหน่วยการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสืบเสาะที่ขับเคลื่อนด้วยกลวิธีการโต้แย้ง ที่มีต่อ ความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]. http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/896

พัชรี ดินฟ้า และประยุทธ สุระเสนา. (2564). ผลการจัดการเรียนแบบใฝ่รู้ด้วยเทคนิคทําเป็นกลุ่ม-ทําคนเดียว เทคนิคร่วมกันคิดเทคนิคการสร้างแบบ เทคนิคการร้องเพลง เทคนิคการโต้วาทีเทคนิคการแสดงบทบาทสมมุติเทคนิควิธีการอภิปรายกลุ่ม ที่มีต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจในการเรียนรายวิชาภูมิศาสตร์การท่องเที่ยวไทย. วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏ นครสวรรค์, 8(1), 109-123. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/hssnsru/article/view/248989/171023

พาอีหม๊ะ เจะสา และณัฐวิทย พจนตันติ. (2561) ผลของการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะแบบมีการโต้แย้งที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยาการคิดวิเคราะห์ และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่์ 4. [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร]. http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12159

ภัทรพันธุ์ นิธิวรัตน์สกุล, ฆฬิสา สุธดาอนันตโภคิน และนัชพล คงพันธ์. (2566). การเรียนรู้ดิจิทัลสําหรับครูยุคใหม่. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 7(2), 677-686. https://doi.org/10.14456/jeir.2023.45

วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2562). Digital Learning. http://www.curriculumandlearning.com/upload/Books/Digital%20Learning_1567488037.pdf

วิภาวรรณ ประทุมวัน. (2566). ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 กับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning). วารสารปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 2(2), 15-32. https://so08.tci-thaijo.org/index.php/dpssj/article/iew/1805

วีรพล แสงปัญญา. (2562). จิตวิทยาการเรียนการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 2. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2566, 6 ธันวาคม). การแถลงข่าวผลการประเมิน PISA 2022. https://pisathailand.ipst.ac.th/news-21/

อรุโณทัย อินทนิด, ภัคพล คำหน้อย และกาญจนา วิชญาปกรณ์. (2565). สถานภาพงานวิจัยด้านการเรียนการสอนวรรณคดีไทยช่วงปี พ.ศ.2555-2564. วารสารครุพิบูล, 9(2), 337-354. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsru/article/view/259654/174702

DigitalLearningNow. (2014). Digital Learning. http://digitallearningnow.com

Lukitasari, M., Handhika, J., Murtafiah, W. and Sukri, A. (2021). The schemes of students’ understanding through digital argumentation in online learning during pandemic COVID-19. Journal of Education and Learning (Edu Learn), 15(3), 368-375. https://files.eric.ed.gov/fulltext/EJ1311444.pdf

Mellanby, J. & Theobald, K. (2014). Education and learning: An evidence-based approach. Ho Printing(M) Sdn Bhd.

KAÇAR, S. (2021). Investigating the Effects of Argument-Driven Inquiry Method in Science Course on Secondary School Students’ Levels of Conceptual Understanding. Journal of Turkish Science Education, 18(4), 816-845. https://files.eric.ed.gov/fulltext/EJ1339469.pdf

The ADI Design Challenge Model. (n.d.). Argument-Driven Inquiry. https://www.argumentdriveninquiry.com/the-adi-model/the-adi-design-challenge-8-stage-model

Tomei, L. (2007). Integrating information & communications technologies into the classroom. Robert Morris University.

Walker, J. P., Sampson, V., Grooms, J., Anderson, B., & Zimmerman, C. O. (2012). Argument-driven inquiry in undergraduate chemistry labs: The impact on students’ conceptual understanding, argument skills, and attitudes toward science. Journal of College Science Teaching, 41(4), 74-81. https://www.researchgate.net/publication/259041844_Argument-Driven_Inquiry_in_undergraduate_chemistry_labs_The_impact_on_students’_conceptual_understanding_argument_skills_ and_attitudes_toward_science

Shu, X.Y. 2018. Promoting Pragmatic Competence in Teaching English as a Foreign Language. Open Access Library Journal, 5(4), 1-8. https://www.scirp.org/pdf/OALibJ_2018042516112769.pdf

Zhang, D., Wang, M., and Wu, J. G. 2020. Design and Implementation of Augmented Reality for English Language Education. Augmented Reality in Education, 217–234. https://www.researchgate.net/publication/338829552_Design_and_Implementation_of_Augmented_Reality_for_English_Language_Education