การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียน โรงเรียนเทศบาล 4 (วัดคลองเรียน) อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน 2) เพื่อพัฒนาการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน 3) เพื่อศึกษาผลการดำเนินงาน ได้แก่ การประเมินประสิทธิภาพการดำเนินงาน การประเมินความร่วมมือของบุคลากรในการดำเนินงานและการเปรียบเทียบทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียนระหว่างก่อนและหลังการดำเนินงาน 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจและปรับปรุงการบริหารงาน การวิจัยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ บุคลากรของโรงเรียนเทศบาล 4 (วัดคลองเรียน) 58 คน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา พื้นฐาน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ บุคลากรของโรงเรียนเทศบาล 4 (วัดคลองเรียน) 58 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ 10 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 68 คน ขั้นตอนที่ 3 การศึกษาผลการดำเนินงาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 169 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น และขั้นตอนที่ 4 การศึกษาความพึงพอใจ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ บุคลากรของโรงเรียนเทศบาล 4 (วัดคลองเรียน) 58 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ การประชุมกลุ่ม แผนการดำเนินงาน แบบประเมินประสิทธิภาพการดำเนินงานวิชาการ แบบประเมินความร่วมมือของบุคลากร แบบประเมินทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียนและแบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมุติฐานด้วย t-test Dependent Sample และการพรรณนาวิเคราะห์
ผลการศึกษาพบว่า
1) ข้อมูลพื้นฐานด้านบุคลากรมีปัญหาในการบริหารงานวิชาการโดยรวมอยู่ในระดับมาก และต้องการมีส่วนร่วมในระดับมากทั้งโดยรวมและรายด้าน ส่วนผู้ปกครองและชุมชนต้องการมีส่วนร่วมโดยรวมในระดับมาก
2) การพัฒนาการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมโดยใช้ชุมชนเป็นฐานสรุปได้ 5 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมในชุมชน (2) การพัฒนาหลักสูตรร่วมกับชุมชน (3) การจัดการเรียนรู้โดยชุมชนมีส่วนร่วม (4) การนิเทศการสอนโดยชุมชนมีส่วนร่วม และ (5) การประเมินผู้เรียนโดยชุมชนมีส่วนร่วม
3) ผลการดำเนินงาน พบว่า ประสิทธิภาพการดำเนินงานการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมโดยใช้ชุมชนเป็นฐานของโรงเรียนเทศบาล 4 (วัดคลองเรียน) โดยรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.42) การมีส่วนร่วมของบุคลากรในการพัฒนาผู้เรียนด้านทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมโดยรวมในระดับมากที่สุด (= 4.55) และนักเรียนมีทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมสูงขึ้นทุกด้าน และ
4) การประเมินความพึงพอใจต่อการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมโดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียน พบว่ามีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.46)
Downloads
Article Details
References
กล้า ทองขาว. (ม.ป.ป.). การจัดการศึกษาฐานชุมชน. วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
จิรัฐิติกาล บุญอินทร์, ถาวร สารวิทย์ และชวน ภารังกุล. (2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการ แบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 16(1), 318-325. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/umt-poly/article/view/192475
ณฐวัฒน์ ล่องทอง. (ม.ป.ป.). การปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21. คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ชิดา แย้มศรี และพัชรา เดชโฮม. (2564). การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนบางขุนเทียนศึกษา สำนักงานเขตบางขุนเทียน สังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 15(1), 5-14. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RRBR/article/view/250654
ดิษยุทธ์ บัวจูม, อังศินันท์ อินทรกำแหง, พรรณี บุญประกอบ และ สุภาพร ธนะชานันท์. (2557). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อสร้างความสนใจและทักษะในอาชีพท้องถิ่นของนักเรียนโรงเรียน บ้านพะแนงวิทยา. Journal of Behavioral Science, 2(20), 18–36. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/BSRI/article/view/20138
ธีรกุล พงษ์จงมิตร และกาญจน์ เรืองมนตรี. (2563). การพัฒนาแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมโดยใช้ชุมชนเป็นฐานสำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(6), 229-243. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/244542
ธีระวัฒน์ มอนไธสง. (2561). การบริหารสถานศึกษาอย่างผู้บริหารมืออาชีพ. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ พระนครศรีอยุธยา.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์. วิ
สมปอง จันทคง. (ม.ป.ป.). การจัดการศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน. โรงเรียนยโสธรพิทยาสรรค์. https://www.kroobannok.com/24541
สุมาลี ชัยเจริญ. (2557). การออกแบบการสอนหลักการ ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อุมาพร พิมพ์สุตะ. (2564). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 15(2), 19-35. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sskrujournal/article/view/251690
Melaville, A., Berg, A. C., and Blank, M. J. (2006). ommunity-Based Learning: Engaging Students for Success and Citizenship. Partnerships/Community. 40. https://digitalcommons.unomaha.edu/slcepartnerships/40
Trilling, B., & Fadel, C. (2009). 21st Century Skills: Learning for Life in Our Times (1st edition). John Wiley & Sons.