การพัฒนาความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบวิธีอุปนัยและนิรนัย สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบวิธีอุปนัยและนิรนัย สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบวิธีอุปนัยและนิรนัยกับเกณฑ์ร้อยละ75 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยรามคำแหง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 21 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 4 แผน แบบทดสอบวัดความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ และแบบสำรวจความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบ one sample t-test
ผลการวิจัยพบว่ากิจกรรมการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีเรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 คะแนนความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์สูงกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และระดับความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (่= 4.75)
Downloads
Article Details
References
ชมนาด เชื้อสุวรรณทวี. (2561). การเรียนการสอนคณิตศาสตร์. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อการเรียนการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 5(1), 7-20.
ณัฐภัทร แสงมาลา. (2564). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบอุปนัยและนิรนัยร่วมกับการใช้คำถามระดับสูงที่มีผลต่อมโนทัศน์และความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ เรื่อง วงกลม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา]. http://ir.buu.ac.th/dspace/bitstream/1513/199/1/61910026.pdf
ทิศนา แขมมณี. (2556). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2557). ทักษะ 7C ของครู 4.0 PLC and Log book. โรงพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (2560). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มคณิตศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
อัมพร ม้าคนอง. (2557). คณิตศาสตร์สำหรับครูมัธยม. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Bruner, J. S. (1993). Explaining and Interpreting: Two ways of using mind. In G. Harman (Ed.), Conceptions of the human mind: Essays in honor of George A. Miller. Lawrence Erlbaum Associates.
Eggen, P. D. and Kauchak, D. P. (2006). Strategies and Models for Teachers: Teaching content and thinking Skills. Pearson.
Guilford, J.P. (1967). The Nature of Human Intelligence. McGraw–Hill, Book Company.
Lardizabal, A. S. and others. (1970). Methods and Principles of Teaching. Alemar–Phoenix.
Maslow, A. (1970). Motivation and personality. Harper and Row.
Milne, R. J. (1985). A causal analysis of relationship of selected student trails to achievement under a computer-delivered inductive method of instruction in finite mathematics (past analysis, conceptual tempo). http://www.lib.umicom/dissertations/fullcit/8516608
Piaget, J. (1962). Play dreams and imitation in childhood. Norton
Rowan, T. E., & Morrow, L. J. (1993). Implementing K-8 curriculum and evaluation standards: reading from the arithmetic teacher. The National Council of teachers of Mathematics.
Skinner, B. F. (1953). Science and Human Behavior. The Free Press.