การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้ชุดการสอนด้วยความเป็นจริงเสริม (AR) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาจีน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

นพรัตน์ น้ำคำ
เหมมิญช์ ธนปัทม์มีมณี

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้ชุดการสอนด้วยความเป็นจริงเสริม (AR)  2) ศึกษาทักษะการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาจีนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้ชุดการสอนด้วยความเป็นจริงเสริม (AR)  3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาจีนของนักเรียนก่อนและหลังการเรียนรู้ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้ชุดการสอนด้วยความเป็นจริงเสริม (AR) 4) ศึกษาความคงทน ในการเรียนรู้ของนักเรียนหลังการเรียนรู้ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้ชุดการสอนด้วยความเป็นจริงเสริม(AR) และ 5) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้ชุดการสอนด้วยความเป็นจริงเสริม(AR)  กลุ่มตัวอย่างที่นำมาวิจัยในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนปทุมรัตต์พิทยาคม ที่เรียนรายวิชาภาษาจีน (จ22201) จำนวน 38 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน 2) ชุดการสอนด้วยความเป็นจริงเสริม(AR) 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบวัดทักษะการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาจีน และ 5) แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่า t-test for dependent Samples


ผลการวิจัยพบว่า 


1)ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้ชุดการสอนด้วยความเป็นจริงเสริม (AR)  มีค่าเท่ากับ 81.78/83.95  เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด


2)ทักษะการอ่านออกเสียงคำศัพท์ภาษาจีนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยรวมอยู่ในระดับดี เท่ากับร้อยละ 82.80 


3)ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียนรู้ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 


4) นักเรียนมีความคงทนในการเรียนรู้หลังการเรียนรู้ไป 14 วันมีค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}=21.37, S.D.= 4.13) และ 


5) ความพึงพอใจของผู้เรียนหลังการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.59, S.D. = 0.52)

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กรกนก สอนจันทร์. (2565). การจัดการความรู้ด้านการสอนภาษาจีนในการพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาจีนของนักเรียนโรงเรียนหนองรีประชานิมิต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัย ราชภัฏ เพชรบุรี, 11(3), 113-119.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560). กระทรวงศึกษาธิการ.

กัญญารัตน์ ทองชุม. (2561). การพัฒนาแอปพลิเคชันคันจิด้วยเทคโนโลยี Augmented Reality โดยกระบวนการเรียนรู้เชื่อมโยงภาพ (The Development of Kanji Application with Augmented Reality Technology by Association Image Method). สถาบันเทคโนโลยี ไทย-ญี่ปุ่น.

กุลธิดา ทุ่งคาใน. (2564). การเรียนรู้แบบผสมผสาน Blended Learning ในวิถี New Normal. วารสารครุศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 15(1), 29-43.

จินตนา วิเศษจินดา และ สมพงศ์ จิตระดับ. (2561). แนวทางการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนระดับ มัธยมศึกษา ตอนปลาย. วารสาร Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ, 11(2), 445-455. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/138823

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2013). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน, วารสารศิลปากร ศึกษาศาสตร์วิจัย. 5(1), 8-19.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2520). ระบบส่ือการสอน. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2535). หลักการวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 3). สุวีริยาสาสน์. .

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). หลักการวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). สุวีริยาสาสน์.

ปรัชญนันท์ นิลสุข, ปณิตา วรรณพิรุณ, วิษณุ นิตยธรรมกุล และอนุชิต อนุพันธ์. (2556). สภาพปัญหาและความต้องการใช้งานแหล่งเรียนรู้สมัยใหม่ในยุคดิจิทัลสำหรับผู้เรียนในวัยแรงงาน. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยี, 1(1), 64-71.

พัชรี ปุ่มสันเทียะ และคณะ. (2563). การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมในรายวิชาภาษาจีน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. Journal of Education Studies, 48(2), 184-202.

พิชัย แก้วบุตร. (2019). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม(Augmented Reality: AR) กับการเรียนภาษาจีน. Chinese Studies Journal, 12(1), 113-139.

มัสลิน มรรคสินธุ์. (2564). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการจดจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษด้วยสื่อเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. Narkbhutparitat Journal Nakhon Si Thammarat Rajabhat University, 14(2), 216-228.

สุธน วงค์แดง. (2565). การเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning) ที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในห้องเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน: โอกาสและความท้าทายของผู้สอนและผู้เรียนในยุคของการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning). สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.) 28( 2), 1-15.

Bingling Zhong วีระพันธ์ พานิชย์ นคร ละลอกน้ำ. (2022). การพัฒนาการสอนแบบผสมผสานเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาจีนขั้นพื้นฐาน สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. HRD journal 13(2), 21-39. https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/hrd/article/view/8430

Hsu, C. C., Su, C., Yen, L. P., and Gong, W. F. Augmented Interface for Children Chinese Learning, Seventh IEEE International Conference on Advanced Learning Technologies (ICALT 2007 Niigata, Japan, 2007, (268-270) . http://doi.org/10.1109/ICALT.2007.76

Liang, S., Liu, Y., Hu, S., Shen, A., Yu, Q., Yan, H., & Bai, M. (2019). Experimental study on the physical performance and flow behavior of decorated polyacrylamide for enhanced oil recovery. Energies, 12(3), 562.

Tulgar, A. T., Yilmaz, R. M., and Topu, F. B. (2022). Research Trends on the Use of Augmented Reality Technology in Teaching English as a Foreign Language. Participatory Educational Research (PER), 9(5),76-104.