ปัจจัยและการเปลี่ยนแปลงลักษณะการใช้ภาษาไทยในสื่อสังคมออนไลน์แห่งยุควิถีใหม่

Main Article Content

วันจรัตน์ เดชวิลัย
โสพิตา สุขช่วย
สิรินดา โอศิริ

บทคัดย่อ

ภาษาสัมพันธ์กับสังคมและมนุษย์เรียนรู้การใช้ภาษาตามบริบทของสังคมและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันไป บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยและการเปลี่ยนแปลงลักษณะการใช้ภาษาไทยในสื่อสังคมออนไลน์ แห่งยุควิถีใหม่ ซึ่งศึกษาและเก็บข้อมูลของคำในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่ เดือนมกราคม 2563- ธันวาคม 2565 โดยนำแนวคิดการเปลี่ยนแปลงของภาษาตามตัวแปรเชิงภาษาศาสตร์สังคมมาเป็นกรอบการวิเคราะห์ ผลการวิเคราะห์พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของภาษามี 2 ปัจจัย คือ 1) ปัจจัยภายใน (ผู้ใช้ภาษา) ได้แก่ การออกเสียงตามสะดวก การใช้ภาษาตามความรู้สึกของผู้พูด และการใช้ภาษาตามฐานะและสถานภาพของผู้ใช้ภาษา 2) ปัจจัยภายนอก (สังคม) ได้แก่ ความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการ ความเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมและวัฒนธรรม และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ภาษาไทยในสื่อสังคมออนไลน์ ของคนยุควิถีใหม่ 3 ด้าน คือ 1) ด้านเสียง ได้แก่ การกลมกลืนเสียง การเพิ่มเสียง การสูญเสียง การเปลี่ยนเสียง และการเปลี่ยนรูปวรรณยุกต์ 2) ด้านคำ ได้แก่ คำประสม คำซ้ำ คำซ้อน การรวมคำ การตัดคำ และการยืมทับศัพท์ 3) ด้านความหมาย ได้แก่ ความหมายกว้างขึ้น และความหมายแคบลง อันสอดรับกับความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศและสะท้อนให้เห็นถึงพลวัตของวิวัฒนาการทางภาษาที่มีการเลื่อนไหลไปตามสภาวะของสังคม ระหว่างการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 ความท้าทายในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารในสังคมแห่งยุควิถีใหม่ คือ ผู้ใช้ภาษาต้องมีศักยภาพในการสื่อสาร คือ การใช้ภาษาอย่างมีประสิทธิภาพทั้งด้านเนื้อหาและวิธีการใช้ภาษาทั้งด้านเนื้อหาและวิธีการใช้ภาษา

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Articles

References

กรมสุขภาพจิต. (2563, 27 พฤษภาคม). New Normal ชีวิตวิถีใหม่. https://dmh.go.th/news/view.asp?id=2288

กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล. (2565, 11 มกราคม). ‘มนุษย์ป้า’ กับ ‘เด็กสมัยนี้’ เพราะเราอยู่ในโลกคนละใบ. ประชาไท. https://prachatai.com/journal/2023/01/102236

กองโรคติดต่อทั่วไป. (ม.ป.ป.). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. https://ddc.moph.go.th/uploads/files/2426720220330084652.pdf

ค้นหาศัพท์สแลง ศัพย์วัยรุ่น ศัพท์วงใน. (ม.ป.ป.) https://slang.in.th/

จำนงค์ ทองประเสริฐ. (ม.ป.ป.). การอ่านตามหลักกับการอ่านตามความนิยม. http://legacy.orst.go.th/?knowledges=การอ่านตามหลักกับการอ่าน

ช่างแม่ง คําพูดที่ช่วยทําให้เราก้าวข้ามอุปสรรค และเดินทางไปสู่ความก้าวหน้าได้. (ม.ป.ป.). The Practical. https://thepractical.co/%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%87/

ซารีณา นอรอเอ และคณะ. (2561). ลักษณะการใช้ภาษาบนสื่อสังคมออนไลน์ของวัยรุ่นไทยในปัจจุบัน. ในการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 9 ประจำปี 2561. (940-952).

เด็กเสิร์ฟ “แกงเทโพ”ตำรวจ!!. (2563, 19 ตุลาคม). 9 MCOT. https://www.facebook.com/watch/?v=2703016896629177

ดูจากคลิปมึงผิดเต็ม ๆ เลี้ยวกระทันหันไม่เปิดไฟเลี้ยว. (2565, 20 เมษายน). อีเจี๊ยบ เลียบด่วน. https://www.facebook.com/ejeab

ตัวแม่มาแรง 20 ศัพท์โซเชียล คำฮิต 2022 พร้อมเปิดที่มาและความหมาย. (2565, 21 ธันวาคม). ไทยรัฐออนไลน์. https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2583216

ตัวแม่” ยืนหนึ่ง คําศัพท์โซเชียลยอดฮิตแห่งปี 2022. (2564, 22 ธันวาคม). Thai PBS. https://www.thaipbs.or.th/news/content/322824

“ตำ” คืออะไรกันแน่??? แอดมีคำตอบมาบอก. (2563, 2 กุมภาพันธ์). One31Playground. https://www.facebook.com/One31Playground/posts/160445242055219/?locale=th_TH

ตำแครอทแซลมอน ยั่ว ๆ จร้า. (2564, 31 ตุลาคม). ไอซ์ซี่ กินยั่ว, https://www.facebook.com/watch/?v=3190196247868015

ทองสุก เกตุโรจน์. (2534). ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

“ทิพานัน”แจงนายกฯลงพื้นที่เรื่องปกติติงฝ่ายค้านอย่าระแวงสร้างเงื่อนไขขัดแข้งขัดขา. (2565, 2 เมษายน). ผู้จัดการออนไลน์. https://mgronline.com/politics/detail/9650000031961

นิตยา กาญจนะวรรณ. (2554). ภาษาของโลกไร้สาย: จัดการอย่างไรดี. เอกสารประกอบการสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง“นโยบายภาษาต่างประเทศ : ภาวะวิกฤตที่ต้องแก้”. วันที่ 29-30 สิงหาคม 2554 ณ ศูนย์ประชุม บางกอกคอนเวนชันเซนเตอร์ กรุงเทพมหานคร.

นิตยา กาญจนะวรรณ, เสาวลักษณ์ อนันตศานต์ และทิพย์สุเนตร อนัมบุตร. (2535). ลักษณะและการใช้ภาษาไทย. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

บูด = พัง ไม่เริ่ด ไม่เก๋ แดกไม่ได้ เหม็น เละเทะ # ก็บูดไปเลยสิคะเออ. (2564, 21 พฤษภาคม). เพจฉันชอบดูนางงาม. https://www.facebook.com/315749459070863/posts/818218818823922/

ปราณี กุลละวณิชย์ และคณะ. (2540). ภาษาทัศนา (พิมพ์ครั้งที่ 4). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เปิดพฤติกรรมคนใช้อินเตอร์เน็ตปี 65 คนกรุงเทพวันละ 10 ชั่วโมง (2565, 24 ส.ค.) Thairath Money. https://www.thairath.co.th/money/economics/thailand_econ/2480711

พจนานุกรมเกรียน. (ม.ป.ป.). เจา มันย่อมาจาก จะเอา นั่นเอง ที่มามาจากคนชื่อเจา. https://pojnanukrian. com/%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%B2

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ 2554. (ม.ป.ป.). ศัพท์บัญญัติ. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. https://dictionary.orst.go.th/

พระมหานพรัตน์ ขนฺติธมฺโม (ศิลากุล), เจษฎา จันทนาภรณ์ และไกรเทพ ผลจันทร์. (2563). เหลียวหลัง - แลหน้า การใช้ภาษาไทยวิบัติในสังคมยุคนิวนอร์มอล. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร, 8(2), 132-145. http://202.29.86.169/index.php/edj/article/view/1144/845

ภัทรกรณ์ สุ่มมาตย์. (2564, 14 ธันวาคม). แพลตฟอร์ม (platform). พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ. https://www.nsm.or.th/nsm/th/node/5722

“ภัยความมั่น (หน้า)” เรื่องอันตรายในที่ทำงาน. (2565, 4 กันยายน). สนุก (sanook) https://www.sanook.com/campus/1411148/

ยืน ภู่วรวรรณ. (2561, 27 มิถุนายน). คนรุ่นใหม่กับการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล. https://www.okmd.or.th/okmd-opportunity/FutureLearningPlatform/1127/

รวม 8 คำศัพท์วัยรุ่นยุคใหม่ ที่ชาวนักเขียนรู้ติดตัวไว้ไม่มีตกเทรนด์!. (2564, 10 กันยายน) Avocado book. https://avocadobooks.co/trends/thai-slang-2021/

รับมือกับการโดนเท. (2565, มีนาคม). Wikihow. https://www.facebook.com/wikihow.th/posts/2620416791573323/?locale=es_LA

ราชบัณฑิตยสภา. (2563, 13 พฤษภาคม). ราชบัณฑิตยบัญญัติศัพท์ คำว่า “New normal” https://royalsociety.go.th/%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0

โรงพยาบาลสิรินธร. (2563, 19 สิงหาคม). “Social Distancing” (การรักษาระยะห่างทางสังคม). http://www.sirindhornhosp.go.th/

เลี้ยงลูกเชิงบวก. (2563, 17 กรกฎาคม). เพจหมอเสาวภา. https://www.facebook.com/PositiveparentingDrsaowapa/

วชิรา บุญเกื้อ. (2553). การศึกษาการเปลี่ยนแปลงสำนวนภาษาไทยถิ่นอีสาน.การศึกษามหาบัณฑิต. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]. http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Ed_Lin/Wachira_B.pdf

วันจรัตน์ เดชวิลัย และเรวดี คงสุวรรณ (2566). เทคนิคการจำ: สะท้อนการเรียนรู้การสะกดคำในภาษาไทย. ในการประชุมวิชาการระดับชาติ “นอร์ทเทิร์นวิจัย ครั้งที่ 9” (365–380). มหาวิทยาลัยนอร์ทเทิร์น จังหวัดตาก.

ศัพท์วัยรุ่น ศัพท์ใหม่ สแลงไทย หาความหมาย. (2564, ธันวาคม). slang.in.th. https://slang.in.th/

ศิวาพร พิรอด. (2562) การเปลี่ยนแปลงของภาษาไทยจากการใช้เฟชบุ๊ค. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์, 21(1). 147-159.

สมทรง บุรุษพัฒน์. (2560). ภาษาศาสตร์เชิงประวัติ (พิมพ์ครั้งที่ 2). สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล.

หิวแสง คืออะไร. (2564, 9 พฤษภาคม). สัพเพเหระ/แต่มีสาระ. https://www.blockdit.com/posts/6097722f5181b90c4e48cf23

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2564, 17 พฤศจิกายน). พลเมืองดิจิทัล (Digital Citizenship). https://www.thaihealth.or.th/

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2548). ภาษาในสังคมไทย (พิมพ์ครั้งที่ 4). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2544). ภาษาศาสตร์สังคมไทย (พิมพ์ครั้งที่ 4). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อธิพงษ์ อมรวงศ์ปีติ. (2565, 11 กันยายน). ช็อตฟีล: สำนวนว่าด้วยการเบรกอารมณ์. THE MOMENTUM. https://themomentum.co/wordodyssey-buzzkill/

NEW NORMAL : ผ่า 8 พฤติกรรมใหม่ จับใจผู้บริโภคยุคเสพติดโซเซียล. (2561, 22 กันยายน) Brandbuffe, https://www.brandbuffet.in.th/2018/09/the-new-normal-consumer-mediacom/

Switch! รักเปลี่ยนหัวใจยัยตัวป่วน. (ม.ป.ป.). นายอินทร์. https://www.naiin.com/product/detail/5829