ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่บ้านเพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านอาหารของเด็กปฐมวัย

Main Article Content

กมลกาญจน์ มินสาคร
ชลาธิป สมาหิโต
ปิยะนันท์ หิรัณย์ชโลทร

บทคัดย่อ

การศึกษานี้นี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลความฉลาดรู้ด้านอาหารของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการใช้ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่บ้าน 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่บ้าน ในการส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านอาหารของเด็กปฐมวัย กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาครั้งนี้ คือ เด็กอายุระหว่าง 4-5 ปี ที่กำลังศึกษา อยู่ในระดับชั้นอนุบาล 1/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนลำสาลี (ราษฎร์บำรุง) สำนักงานเขตบางกะปิ จำนวน 20 คน และผู้ปกครองของเด็กกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่บ้าน เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านอาหารของเด็กปฐมวัย แบบประเมินความฉลาดรู้ด้านอาหารของเด็กปฐมวัย และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่บ้าน ในการส่งเสริม ความฉลาดรู้ด้านอาหารของเด็กปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการศึกษาพบว่า


1. เด็กปฐมวัยที่ใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่บ้านมีความฉลาดรู้ด้านอาหารสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง ทั้งโดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับ ดี คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 9.70 ได้แก่ ด้านความรู้ด้านอาหารและโภชนาการ เด็กสามารถเลือกรับประทานที่มีประโยชน์ต่อร่างกายได้ คะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 4.85 และด้านทักษะด้านการประกอบอาหาร เด็กสามารถประกอบอาหารร่วมกับผู้ปกครองได้ คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.85


2. ความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่บ้าน ในการส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านอาหารของเด็กปฐมวัย ในรายด้าน ได้แก่ ด้านเนื้อหา คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.90 ด้านองค์ประกอบชุดกิจกรรม คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.80 และด้านคุณค่าและประโยชน์จากการเรียนรู้ชุดกิจกรรม คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 5.00 โดยผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีมาก
 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จิรัชญา สายจีน. (2561). ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดชุมชนการเรียนรู้มืออาชีพ วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล]. http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/bitstream/123456789/3421/1/RMUTT%20160323.pdf

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9 ฉบับปรับปรุงใหม่). สุวีริยาสาส์น.

แพรวพรรณ ม่วงแก้ว และปัทมาวดี เล่ห์มงคล. (2565). ผลการจัดกิจกรรมประกอบอาหารโดยใช้กระบวนการสืบเสาะ หาความรู้เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านอาหารในเด็กปฐมวัย. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 10(1), 235-248. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JMA/article/view/259992

สิทธิพงศ์ ปาปะกัง. (2565). บทบาทของผู้ปกครองในการประเมินพัฒนาการเด็กตามคู่มือ DSPM The Roles of Parents in child development assessment according to the DSPM Manual. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 19(2), 176-185. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/258107

สุปรียา ผาสุกลสถิตพงศ์. และปิยะนันท์ หิรัณย์ชโลทร. (2566). ผลการใช้ชุดกิจกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง “PLAY AT HOME” เพื่อส่งเสริมการกํากับตนเองในเด็กปฐมวัย. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 7(2), 438-454. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/261427

LDCP Healthy Eating Team. (2018). Food literacy A Framework for Healthy Eating. https://www.publichealthontario.ca/-/media/documents/l/2017/ldcp-food-literacy-call-to-action.pdf?la=enSustain

Ontario. (2013). Backgrounder on Food Literacy, Food Security, and Local Food Procurement Ontario’s Schools. https://sustainontario.com/custom/uploads/2011/02/SustainOntario_EducationBackgrounder_Oct20131.pdf

Vidgen, H. & Gallegos, D. (2012).Defining food literacy, its components, development and relationship to food intake: A case study of young people and disadvantage. https://eprints.qut.edu.au/216311/