การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเกมเป็นฐานร่วมกับเทคนิค CER สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบเกมเป็นฐานร่วมกับเทคนิค CER 2) เปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบเกมเป็นฐานร่วมกับเทคนิค CER กับเกณฑ์ร้อยละ 70 3) เปรียบเทียบมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบเกมเป็นฐานร่วมกับเทคนิค CER และ 4) เปรียบเทียบมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบเกมเป็นฐานร่วมกับเทคนิค CER กับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี จำนวน 45 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานร่วมกับเทคนิค CER 2) แบบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ และ 3) แบบวัดมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า
1) ทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบเกมเป็นฐานร่วมกับเทคนิค CER สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2) ทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบเกมเป็นฐานร่วมกับเทคนิค CER สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3) มโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบเกมเป็นฐานร่วมกับเทคนิค CER สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4) มโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบเกม เป็นฐานร่วมกับเทคนิค CER สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Downloads
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด. http://academic.obec.go.th/images/document/1580786506_d_1.pdf
กฤดาภัทร สีหารี. (2561). มุมมองวิศวกรรมซอฟต์แวร์ต่อการเรียนรู้ด้วยเกมดิจิทัลสำหรับการศึกษาประเทศไทย 4.0 วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 28(2), 477-488. http://ojs.kmutnb.ac.th/index.php/kjournal/article/view/1207
กลวิชร เคนโยธา. (2563). การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค TGT ร่วมกับการสอนโดยใช้เกมคอมพิวเตอร์ ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง พันธะเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. ใน วีระศักดิ์ จินารัตน์ (บ.ก.), คุณภาพของการบริหารจัดการและนวัตกรรม. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 5 ประจำปี 2563, 484-494, มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น.
ชลทิพย์ จันทร์จําปา, ดวงกมล ฐิติเวส, พีรนันท์ ยอดบ่อพลับ และนฤมล บุญมั่น. (2562). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เกมการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ เรื่อง การสืบพันธุ์ของพืชดอก และการเจริญเติบโต. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 18(3), 36-44. https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/215807
ซารีฟ สุรินราช. (2563). การพัฒนามโนทัศน์ เรื่องพันธะเคมี โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับเกมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยทักษิณ]. http://ir.tsu.ac.th/jspui/handle/123456789/519
ไซฟูดิน เจ๊ะหะ, อับดุลรอแม สุหลง และมูหำมัดสุใหมี เฮงยามา. (2565). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์รายวิชาอัลฟิกฮฺโดยใช้เกมกล่องกฎหมายสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. Journal of Islamic and Contemporary Issues, 3(1), 1-13. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/M-JICI/article/view/256165
ฐิติรัต สุรทิณฑ์. (2565, 8 มิถุนายน). เสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์และการสื่อสารในห้องเรียนวิทย์. Kenan Foundation Asia. https://www.kenan-asia.org/th/claim-evidence-reasoning/
ทินกร พันเดช. (2561). การพัฒนามโนทัศน์เรื่องโมลและสูตรเคมีของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายด้วยการจัดการเรียนรู้ด้วยเกมเป็นฐาน. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73246
ทิศนา แขมมณี. (2554). ทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างสรรค์ และการคิดอย่างมีวิจารญาณ: การบูรณาการในการจัดการเรียนรู้. สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง.
ทิศนา แขมมณี. (2563). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มี ประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 24). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธนัญภัสร์ ศรีเนธิยวศิน. (2564). การจัดการเรียนการสอนโดยใช้เกมเป็นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา. วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์, 7(3), 40-55. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Palisueksabuddhaghosa/article/view/253003
ธมนพัชร์ นิธิกิจโภคินกุล, เชษฐ์ ศิริสวัสดิ์ และนพมณี เชื้อวัชรินทร์. (2562). การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานต่อความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ วิชาชีววิทยา เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. CMU Journal of Education, 3(3), 1-13.
โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี. (2565). ข้อมูลนักเรียน. SKP ONLINE. https://online.skp.ac.th/ศูนย์ดำเนินงาน PISA แห่งชาติ
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และทคโนโลยี. (2564). ผลการประเมิน PISA 2018 การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). https://pisathailand.ipst.ac.th/pisa2018-fullreport/
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2565). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2564. สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). https://www.niets.or.th/uploads/editor/files/O-NET/rapid%20report%20M3-2564.pdf
อิทธิเดช น้อยไม้. (2564). การพัฒนาทักษะการคิดเชิงมโนทัศน์ในวิชาสังคมศึกษาเพื่อผู้เรียนแห่งศตวรรษที่ 21. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 49(3), 1-12. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/251842
Allen, J. & Rogers. M. P. (2015). Formulating scientific explanations using the Claim, Evidence, and Reasoning (CER) framework. Science and Children, 57(3), 32-37.
Cojocariu, V. M., & Boghian, I. (2014). Teaching the Relevance of Game-Based Learning to Preschool and Primary Teachers. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 142, 640-646. https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S1877042814046072
Holme, T. A., Luxford, C. J., & Brandrite, A. (2015). Defining conceptual understanding in general chemistry. Journal of Chemical Education, 92(9), 1477-1483.
Loch, Q. (2017). The impact of claim-evidence-reasoning writing techniques on argumentation skills in scientific investigations. [Doctoral dissertation, Montana State University]. ScholarWorks. https://scholarworks.montana.edu/xmlui/bitstream/handle/1/13677/LochQ0817.pdf?sequence=3&isAllowed=y
McNeill, K. L. & Krajcik, J. S.. (2008). Scientific explanations: Characterizing and evaluating the effects of teachers’ instructional practices on student learning. Journal of Research in Science Teaching, 45(1), 53-78. http://hdl.handle.net/2027.42/57509
Oakman, H. (2016). The rise of game-based learning. Education Technology. https://edtechnology.co.uk/latest-news/the-rise-of-game-based-learning/
Samosa, R. C. (2021). Effectiveness of claim, evidence and reasoning as an innovative to develop students’ scientific argumentative writing skills. Galaxy International Interdisciplinary Research Journal, 9(5), 135-150. https://doi.org/10.17605/OSF.IO/76CG5