ผลการจัดกิจกรรมศิลปะจากวัสดุธรรมชาติ เพื่อส่งเสริมการกำกับตนเองของเด็กปฐมวัย

Main Article Content

เสาวลักษณ์ แก่นกระโทก
ปัทมาวดี เล่ห์มงคล

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง ผลการจัดกิจกรรมศิลปะจากวัสดุธรรมชาติ เพื่อส่งเสริมการกำกับตนเองของเด็กปฐมวัย มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมศิลปะจากวัสดุธรรมชาติ เพื่อส่งเสริมการกำกับตนเองของเด็กปฐมวัย 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการกำกับตนเองของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมศิลปะจากวัสดุธรรมชาติ กลุ่มตัวอย่างการศึกษาครั้งนี้ เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เป็นเด็กชาย-หญิงที่อายุระหว่าง 5-6 ปี กำลังศึกษาในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2/3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 20 คน โรงเรียนวัดทรัพย์สโมสร แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แผนการจัดประสบการณ์กิจกรรมศิลปะจากวัสดุธรรมชาติ จำนวน 24 แผน และแบบประเมินการสังเกตการกำกับตนเองของเด็กปฐมวัย มีทั้งหมด 10 ข้อ ประกอบด้วย การจดจ่อใส่ใจ จำนวน 3 ข้อ การควบคุมอารมณ์ จำนวน 4 ข้อ การติดตามประเมินตนเอง จำนวน 3 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


ผลการศึกษาพบว่า                                                                               


 1. ผลการจัดกิจกรรมศิลปะจากวัสดุธรรมชาติ เพื่อส่งเสริมการกำกับตนเองของเด็กปฐมวัย พบว่าก่อนการจัดกิจกรรมศิลปะจากวัสดุธรรมชาติ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 16.75 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.77 การกำกับตนเองของเด็กปฐมวัยอยู่ในระดับปานกลาง และหลังได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะจากวัสดุธรรมชาติมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 27.30 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.51 การกำกับตนเองของเด็กปฐมวัยอยู่ในระดับดีมาก


2. ผลการเปรียบเทียบการกำกับตนเองของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมศิลปะจากวัสดุธรรมชาติ พบว่า มีคะแนนการกำกับตนเองประกอบด้วย การจดจ่อใส่ใจ การควบคุมอารมณ์ การติดตามประเมินตนเอง หลังการจัดกิจกรรมศิลปะจากวัสดุธรรมชาติสูงขึ้นทุกด้าน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2547). รูปแบบการเรียนการสอนปฐมวัยศึกษา. เอดิสันเพรสโปรดักส์.

จุฑาทิพย์ โอบอ้อม และพัทธนันท์ วงษ์วิชยุตม์. (2563). การจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการกำกับตนเองของเด็กปฐมวัยโดยใช้นิทานชาดก. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 6(2), 103-113.

บุศกร บัวพุฒ. (2556). การพัฒนากิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สุภาวดี พึ่งฉิ่ง. (2562). ผลการจัดกิจกรรมศิลปะจากวัสดุธรรมชาติโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ SSAPA+c เพื่อพัฒนาการกำกับตนเองและความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 12 (2), 156-173.

สุภาวดี หาญเมธี. (2558). EF ภูมิคุ้มกันชีวิตและป้องกันยาเสพติด คู่มือสำหรับครูอนุบาล. รักลูกบุ๊คส์.

สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. (2556). ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม (พิมพ์ครั้งที่ 8). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. และสถาบัน RLG รักลูก เลิร์นนิ่งกรุ๊ป. (2561). คู่มือพัฒนาทักษะสมอง EF Executive Functions สำหรับครูปฐมวัย. โรงพิมพ์ไอดี ออล ดิจิตอล พริ้นท์ จำกัด.

อารี พันธ์มณี. (2545). ฝึกให้คิดเป็น คิดให้สร้างสรรค์. ใยไหม ครีเอทีฟ กรุ๊ป.

Carver, C. S., & Scheier, M. F. (1998). On the self-regulation of behavior. Cambridge University Press.