การพัฒนารูปแบบกิจกรรมเสริมทักษะการใช้ไวยากรณ์จีนระดับ HSK4 ในห้องเรียนออนไลน์วิถีใหม่ Active Learning ผ่านโปรแกรม Zoom

Main Article Content

พรรณทิพา จันทร์เพ็ง
เสาวลักษณ์ โคตรสุวรรณ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบกิจกรรมเสริมทักษะการใช้ไวยากรณ์จีนระดับ HSK4 ในห้องเรียนออนไลน์วิถีใหม่ Active Learning ผ่านโปรแกรม Zoom 2) เพื่อหาประสิทธิภาพของรูปแบบกิจกรรมเสริมทักษะการใช้ไวยากรณ์จีนระดับ HSK4 ในห้องเรียนออนไลน์วิถีใหม่ Active Learning ผ่านโปรแกรม Zoom 3)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการใช้ไวยากรณ์จีนระดับ HSK4ก่อนและหลังการเรียนด้วยรูปแบบกิจกรรมเสริมทักษะการใช้ไวยากรณ์จีนระดับ HSK4 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนหลังเรียนด้วยรูปแบบกิจกรรมเสริมทักษะการใช้ไวยากรณ์จีนระดับ HSK4 ในห้องเรียนออนไลน์วิถีใหม่ Active Learning ผ่านโปรแกรม Zoom กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ลงทะเบียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มอย่างง่าย โดยวิธีการจับฉลาก จำนวน 40 คน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน โดยการใช้ t-test for dependent samples
ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบกิจกรรมเสริมทักษะการใช้ไวยากรณ์จีนระดับHSK4 ในห้องเรียนออนไลน์วิถีใหม่ Active Learning ผ่านโปรแกรม Zoom เป็นรูปแบบ “PESPA Model” มีองค์ประกอบ 5 ประการ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน การวัดการประเมินผล และเงื่อนไขของการนำรูปแบบกิจกรรมที่พัฒนาขึ้นไปใช้ ในส่วนของกระบวนการสอนนั้นมีทั้งหมด 5 ขั้น คือ ขั้น 1 นำเข้าบทเรียน (Presentation : P) ขั้น 2 อธิบายหลักไวยากรณ์ (Explanation : E ) ขั้น 3 สรุปกฎเกณฑ์ (Summarize : S) ขั้น 4 ฝึกฝน (Practice : P) โดยรูปแบบกิจกรรมActive Learning ขั้น 5 วิเคราะห์ข้อผิดพลาด (Analyze : A) 2) ประสิทธิภาพเท่ากับ 81.60/83.58 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 และ 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนตามรูปแบบกิจกรรมเสริมทักษะฯ (PESPA Model) สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้เรียนมีความสามารถ ในด้านทักษะการใช้ไวยากรณ์ภาษาจีนระดับ HSK4 ในแต่ละด้าน คือ (1) ด้านความรู้ความเข้าใจไวยากรณ์ ภาษาจีนแบบเจาะจงประเด็น (2) ด้านความสามารถในการใช้ไวยากรณ์ที่อยู่ในประโยค (3) ความสามารถในการใช้ไวยากรณ์ที่อยู่ในงานเขียน หลังการใช้สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบกิจกรรมเสริมทักษะฯ รูปแบบ (PESPA Model) และ 4) ผู้เรียนมีระดับความพึงพอใจต่อรูปแบบกิจกรรมเสริมทักษะ (PESPA Model) โดยรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\tilde{x}= 4.49, S.D.= 0.58)

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กาญจนา คุณารักษ์. (2558). การออกแบบการเรียนการสอน. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

กาญจนา วุฒิศักดิ์. (2561). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษตามแนวคิด“สอนแบบไม่สอน” เพื่อเสริมสร้างความสามารถการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 5. [วิทยานิพนธ์ ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์]. https://opacdb01.dpu.ac.th/cgi-bin/koha/opac-detail.pl?biblionumber=113223

ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2533). เทคโนโลยีการสอน: การออกแบบและการพัฒนา. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

ฐิติกาญจน์ คงชัย และกาญจนา บุญส่ง. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการปฏิบัติงานของครูในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา ในจังหวัดเพชรบุรี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts), 10(2), 351-364. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/96976

นิพาดา ไตรรัตน์. (2563). การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนเชิงรุกบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนระดับอุดมศึกษา. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 21)2), 142-130. https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/13019

ไพรินทร์ ศรีสินทร์. (2559). การบูรณาการกิจกรรมในวิชาไวยากรณ์จีน กรณีศึกษาการใช้เกมประกอบการสอน. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้, 2)1(, 65-79. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jliwu/article/download/95067

พิมพ์วิภา มะลิลัย, ดำรัส อ่อนเฉวียง, และสุขมิตร กอมณี. (2563). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ วิชาภาษาจีนกลาง เรื่องพินอินด้วย Google classroom สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. e-Journal of Educaotion studies,Buerapha University, 2(2), 31-43. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejes/article/view/241795

แพรไหม คำดวง (2562). การสอนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ สำหรับนักศึกษา ชั้นปีที่ 1 คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร. [วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/bitstream/123456789/2421/1/60254312.pdf

สิรจิต เดชอมรชัย. (2562).การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาฝรั่งเศสเชิงรุกโดยใช้กระบวนการกลุ่ม. วารสารศิลปศาสตร์, 19(2), 83-101. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalarts/article/view/128489

สุพิชฌาย์ ทวีธนวิริยา, สุกัญญา วศินานนท์ และLiu Jiaxiang. (2559). กลยุทธ์พิชิตการสอบวัดระดับความรู้ภาษาจีนแบบใหม่ ระดับ 4. วารสารวิจัยUTKราชมงคลกรุงเทพ, 10(2), 123-135. https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/rmutk/article/download/156776/

Amran, R, Yokoyama, F. & Nishino, K. (2016). Development of active learning methods of English in Japanese high schools to support student activities in group discussions. Procedia Computer Science. https://doi.org/10.1016/j.procs.2016.08.193

Bonwell, C. and Eison, J. (1991). Active Learning: Creating Excitement in the Classroom AEHE-ERIC Higher Education Report No.1.Jossey-Bass. https://files.eric.ed.gov/fulltext/ED336049.pdf.

Cresswell, J. W. and Plano Clark. V. L. (2007). Designing and Conducting Mixed Methods Research. United States of America: Sage Publications, Inc.

Peng, C., & Chen, G. (2007). The Introduction of Teaching Chinese as a Foreign Language. World Book Press.