สมรรถนะด้านดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะด้านดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะด้านดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา และ 4) ศึกษาสมรรถนะด้านดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1 วิธีการศึกษาได้ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน โดยใช้ตารางเครจซี่ และมอร์แกน การสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) จำนวนทั้งสิ้น 278 คน เครื่องมือที่ใช้การวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.80 – 1.00 และค่าความเชื่อมั่นของ Cronbach ทั้งฉบับ .995 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ แบบขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. สมรรถนะด้านดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ 1) ด้านการประเมินการใช้ดิจิทัลเพื่อปรับปรุงการบริหารจัดการ 2) ด้านการรู้และเข้าถึงดิจิทัล 3) ด้านการสร้างสื่อดิจิทัลที่ เหมาะสมและปลอดภัย และ 4) ด้านการใช้ดิจิทัลเพื่อการศึกษา
2. การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ 1) ด้านการวัดผล ประเมินผลการจัดการเรียนการสอน และทะเบียน 2) ด้านงานนิเทศเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา 3) ด้านการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา 4) ด้านการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา และ 5) ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษา
3) ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะด้านดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4) สมรรถนะด้านดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Downloads
Article Details
References
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2561, 20 พฤศจิกายน). กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. http://library.nhrc.or.th/ulib/dublin.php?ID=10558
ขวัญชนก แซ่โค้ว. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารกับการบริหารงานวิชาการของกลุ่มโรงเรียนเมืองฉะเชิงเทรา 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา]. http://ir.buu.ac.th/dspace/bitstream/1513/443/1/63920289.pdf
นารีรัตน์ เพชรคง และชลาภรณ์ สุวรรณสัมฤทธ์. (2565). สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ในพื้นที่เขตจตุจักร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 8(1), 238-255, https://so03.tci-thaijo.org/index.php/rpu/article/view/260275
พิมพ์ใจ พุฒจัตุรัส. (2562). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
ภมรวรรณ แป้นทอง, และอภิชาติ เลนะนันท์. (2561). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการเรียนรู้แบบดิจิทัลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2. วารสาร Veridian E-Journal,11(1), 2687-2703, https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/123283
มลฤดี สวนดี. (2565).ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่ งผลต่ อการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรีเขต 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี] https://etheses.rbru.ac.th/pdf-uploads/thesis-430-file02-2022-07-21-09-34-17.pdf
มาลัย วงศ์ฤทัยวัฒนา. (2564). แนวทางพัฒนาการบริหารงานระบบประกันคุณภาพการศึกษายุคดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(5), 123-139, https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/248346
ฤทธิกร โยธสิงห์, อัจฉรา นิยมาภา และ วิสุทธิ์ วิจิตรพัชราภรณ์. (2565) ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานการณ์ ชีวิตวิถีใหม่ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 10(38), 145-154. https://jeal.snru.ac.th/ArticleView?ArticleID=1052
ศรีนภา ฉิมเฉย และ สายสุดาเตียเจริญ. (2559). สมรรถนะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรีเขต 1. วารสารบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร. 7(1), 109-123. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EdAd/article/view/113744/88378
อดิศักดิ์ ดงสิงห์. (2560). แนวทางการพัฒนาภาวผู้นําเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อิทธิฤทธิ์ กลิ่นเดช. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดสระบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี