การพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาโดยใช้โครงงานเป็นฐาน เพื่อพัฒนากระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
Main Article Content
บทคัดย่อ
การพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาโดยใช้โครงงานเป็นฐาน เพื่อพัฒนากระบวนการออกแบบ เชิงวิศวกรรมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่ได้รับการพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้และเพื่อประเมินกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม ตัวอย่างที่ใช้สำหรับการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนตาคลีประชาสรรค์ มีจำนวน 93 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาตามกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม 6 ขั้นตอน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบปรนัยและแบบประเมินโครงงานการออกแบบเชิงวิศวกรรม โดยใช้มาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) สถิติที่ใช้ในงานวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่า t-Test แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน
ผลการวิจัยพบว่า
1. นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาโดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อพัฒนากระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมมีคะแนนผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ .05
2. นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีผลการประเมินกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมในภาพรวม อยู่ในระดับมาก โดยขั้นที่ 6 นำเสนอวิธีการแก้ปัญหา ผลการแก้ปัญหาการพัฒนาในขั้นนี้มากที่สุด รองลงมาคือ ขั้นที่ 2 รวบรวมข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหาและในขั้นที่ 4 วางแผนและดำเนินการแก้ปัญหา ตามลำดับ
Downloads
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 -2564). ุ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
จิตรลดา พิศาลสุพงศ์. (2561, 6 พฤศจิกายน). การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีวิจัยและนวัตกรรม. https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2018/20181106-st-research-innovation-development-strategy.pdf
ดุษฎี โยเหลา และ คณะ. (2557). การศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบ PBL ที่ได้จากโครงการสร้างชุดความรู้เพื่อสร้างเสริมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของเด็กและเยาวชน: จากประสบการณ์ความสำเร็จของโรงเรียนไทย. หจก. ทิพยวิสุทธิ์.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์. และพเยาว์ ยินดีสุข. (2557). การสอนคิดด้วยโครงงานการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ทักษะในศตวรรษที่ 21 (พิมพ์ครั้งที่ 3). ุโรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 7). ุมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
มีนกาญจน์ แจ่มพงษ์. (2560). การพัฒนาชุดฝึกทักษะแบบสตีมศึกษาโดยการ สร้างสรรค์ชิ้นงาน เรื่อง พลังงานรอบตัว. วารสารวิชาการมหาวิทยาอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 7(3), 81-92.
มนัส ชวดดา. (2560). การศึกษากระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมศาสตร์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง ปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำด้วยการจัดการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมสะเต็มศึกษา. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา]. https://webopac.lib.buu.ac.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00229566
ราวรรณ์ ทิลานันทน์. (2558). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานสะเต็มศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถด้านความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2558). ความรู้เบื้องต้นสะเต็มศึกษา (ป.1 - ม.6). โรงพิมพ์ครุสภา.
สุธารส อินสำราญ. (2560). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและกระบวนการสร้างสรรค์ชิ้นงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่องสะพานข้ามคลองบางบัว. [วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์]. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/eduku/article/view/244603
อนุสรา พุ่มพิกุล. (2562). ผลของการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาโดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่เน้นกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณที่มีต่อสมรรถนะการออกแบบวิธีการแก้ปัญหา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]. http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/bitstream/123456789/668/1/gs581130268.pdf
Bellanca, J. & Brandt, R. (Eds), .(2010). 21st Century Skills: Rethinking How Students Learn. Solution Tree Press.
English, L.D. & King, D.. (2017). Engineering education with fourth-grade students: Introducing Design-based problem solving. International Journal of Engineering Education, 33(1), 346-360. https://www.researchgate.net/publication/316664351_Engineering_education_with_fourth-grade_students_Introducing_design-based_problem_solving
Osman, K., Hiong, L. & Vebrianto, R.. (2015). An interdisciplinary approach for biology, technology, engineering and mathematics (BTEM) to enhance 21st century skills in Malaysia. K-12 STEM education, 1(3), 137-147. https://www.researchgate.net/publication/274209734_21st_Century_Biology_An_Interdisciplinary_Approach _of_Biology_Technology_Engineering_and_Mathematics_Education
Wekesa, N. W. & Ongunya, R. O.. (2016). Project Based Learning on Students’ Performance in the Concept of Classification of Organisms Among Secondary Schools in Kenya. Journal of Education and Practice, 7(16), 25-31. https://files.eric.ed.gov/fulltext/EJ1105278.pdf