การศึกษาความต้องการจำเป็นและปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้โมไบล์แอปพลิเคชัน ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์เสมือนจริงเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

Main Article Content

ณัฐพล สิงสุข
พรสุข ตันตระรุ่งโรจน์

บทคัดย่อ

  การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 2) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการใช้โมไบล์แอปพลิเคชันห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์เสมือนจริงเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการใช้โมไบล์แอปพลิเคชันห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์เสมือนจริงเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ในทุกภาค ทั่วประเทศไทย จำนวน 438 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม โดยมีข้อคำถามแบบตรวจสอบรายการแบบจัดอันดับ และแบบมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้เทคนิค Modified Priority Need Index (PNI Modified) ในการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นส่วนใหญ่ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ในการเข้าถึงสารสนเทศต่าง ๆ มากที่สุด 2) ความต้องการจำเป็นในการใช้โมไบล์แอปพลิเคชันห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์เสมือนจริงเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น พบว่า ช่วยให้ฉันเกิดการคาดคะเนคำตอบล่วงหน้าได้อยู่ในลำดับที่ 1 รองลงมาคือ ช่วยให้ฉันกำหนดตัวแปรได้ และช่วยให้ฉันสามารถสรุปผลจากการทดลองได้ ตามลำดับ 3) ด้านปัจจัยที่มีผลต่อการใช้โมไบล์แอปพลิเคชันห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์เสมือนจริงเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อวิเคราะห์รายข้อ พบว่า การออกแบบสวยงาม น่าสนใจ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือสามารถเรียนรู้และฝึกทักษะกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์ได้ด้วยตนเอง และสามารถทำการทดลองวิทยาศาสตร์ได้ด้วยตนเอง ตามลำดับ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ (2564, 16 กันยายน). แผนปฏิบัติการดิจิทัลเพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2563-2565. https://bict.moe.go.th/wp-content/uploads/2022/03/digital-63-65.pdf

กาญจนาภา วัฒนธรรม และจินตวีร์ คล้ายสังข์. (2564). การศึกษาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ความต้องการจำเป็นและปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้โมไบล์แอปพลิเคชันเพื่อส่งเสริมทักษะการฟัง-พูดภาษาจีนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 4(12), https://so02.tci-thaijo.org/index.php/etcedumsujournal/article /view/249174/170260

เกตุแก้ว ยิ่งยืนยง. (2563). การพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับการเรียนรู้ เรื่องเซลล์และโครงสร้างของเซลล์ เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่1. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 8(1), https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JMA /article/view/240329/170428

กุลนิดา ศรีคำเวียง, พงศ์เทพ จิระโร และ เสกสรรค์ ทองคำบรรจง (2562). การตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 38(3), http://journal.msu.ac.th/upload/articles/article2492_26605.pdf

ชินวัจน์ งามวรรณากร. (2562). การพัฒนาแอปพลิเคชันสื่อการเรียนรู้บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ เรื่อง ภาษาอังกฤษสำหรับนักสารสนเทศ. รายงานวิจัยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์. (2560). การพัฒนาการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ใน ประมวลสาระชุดวิชาสารัตถะวิทยวิธีและธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ หน่วยที่ 1-5 ฉบับปรับปรุงครั้งที่1 (พิมพ์ครั้งที่ 4). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่12 (พ.ศ. 2560-2564). (ม.ป.ป.). http://www.bic.moe.go.th /images/stories/article12.pdf

ศิริรัตน์ บุญเขียว. (2563). ความต้องการจำเป็นในการใช้ดิจิทัลของนักเรียนเตรียมทหาร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์] มหาวิทยาลัยรังสิต.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (2565, 20 ตุลาคม). รายงานรายงานสถิติจำนวนสถานศึกษาของประเทศไทย จำแนกตามชั้นที่เปิดสอน https://catalog.moe.go.th/dataset/dataset-15_05

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (2565, 11 ตุลาคม). รายงานสถิติจำนวนห้องเรียนและนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลายในระบบโรงเรียนของประเทศไทย จำแนกตามสังกัดและชั้น https://gdcatalog.go.th/dataset/gdpublish-dataset-15_17

สุวิมล ว่องวานิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น (พิมพ์ครั้งที่2). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัญชนา กลิ่นเทียน และวรรณชัย วรรณสวัสดิ์. (2560). การสังเคราะห์รูปแบบห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์เสมือนจริงด้วยการเรียนแบบผสมผสานเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11(ฉบับพิเศษ) https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JournalGradVRU/article/view/116517

Gunawan, G., Harjono, A., Hermansyah, H., & Herayanti, L. (2019). Guided Inquiry model through Virtual laboratory to enhance students’ Science Process Skills on heat concept. Cakrawala Pendidikan, 38(2), https://journal.uny.ac.id/index.php/cp/article/view/23345/pdf

Sholihah, N.A.A., Sarwanto & N.S., Aminah. (2020). Development of two-tier multiple choice instrument to measure science process skill. Journal of Physics: Conference Series, 1521(2), https://doi.org/10.1088/1742-6596/1521/2/022053

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (Edition 3). Harper and Row Publications.