การสังเคราะห์รูปแบบห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์เสมือนจริงด้วยการเรียนแบบผสมผสาน เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

Main Article Content

อัญชนา กลิ่นเทียน
วรรณชัย วรรณสวัสดิ์

Abstract

บทคัดย่อ


               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสังเคราะห์รูปแบบห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์เสมือนจริงด้วยการเรียนแบบผสมผสาน เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และ 2) เพื่อประเมินความเหมาะสมของรูปแบบห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์เสมือนจริงด้วยการเรียนแบบผสมผสาน เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการจัดการเรียนการสอนที่เน้นการเรียนแบบผสมผสาน ด้านการคิดวิเคราะห์ ด้านการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา และด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการศึกษา โดยนำเสนอรูปแบบการเรียนรู้ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการเรียนในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์เสมือนจริงด้วยการเรียนแบบผสมผสานเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และแบบประเมินต้นแบบรูปแบบการเรียน จากการสังเคราะห์รูปแบบการเรียนและการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ พบว่า องค์ประกอบพื้นฐานของรูปแบบการเรียน ประกอบด้วย ส่วนของผู้เรียน ส่วนของผู้สอน ส่วนของเนื้อหา ส่วนของการเรียนแบบผสมผสาน และส่วนของการประเมินผล สำหรับกระบวนการเรียนรู้ของรูปแบบการเรียน ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 เตรียมก่อนการเรียนการสอน ขั้นที่ 2 นำเสนอเนื้อหาที่เรียน ขั้นที่ 3 ตั้งคำถามหรือปัญหา ขั้นที่ 4 ทำการทดลองในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์เสมือนจริง ขั้นที่ 5 อภิปรายร่วมกันและบันทึกผลการทดลอง ขั้นที่ 6 สรุปผลการทดลอง ขั้นที่ 7 จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ขั้นที่ 8 นำเสนอผลงาน และขั้นที่ 9 ทดสอบหลังเรียน และการประเมินผลของรูปแบบการเรียน ประกอบด้วย การประเมินความก้าวหน้า


            การประเมินผลรวมสรุป แบ่งออกเป็น ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และความสามารถในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ซึ่งผลการประเมินรูปแบบการเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 9 คน พบว่า ผู้เชี่ยวชาญทั้งหมดให้การยอมรับรูปแบบที่สังเคราะห์ขึ้นว่ามีความเหมาะสมและสอดคล้อง สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ได้


 


ABSTRACT


            The research aimed to synthesize virtual science laboratory and blended learning for developing analytical thinking skill of secondary students and to evaluate an appropriate instructional model. The purposive sampling group was 9 various specialists who specialize in blended learning model, analytical thinking, sciences teaching in secondary level, and computer and technological education.  The data were collected by in-depth interview.  The research instrumentations were a model of virtual science laboratory combining with blended learning and evaluation form of the instructional model prototype. The finding was that the key fundamental factors which would drive the analytical thinking of a student consisted of student module, instructor module, content module, blended learning module and assessment module.  The learning processes of the model were comprised of 9 steps which are 1) learning preparation 2) lesson introduction 3) questions asking / problems finding 4) experimenting with virtual science lab 5) discussing and recording results 6) making conclusion 7) creating a science project learning 8) presenting outputs 9) doing a post-test. 


          The evaluation of the instructional model consisted of two forms which were formative evaluation and summative evaluation which was divided into two parts: analytical thinking ability and science project learning ability.  Furthermore, the 9 specialists verified the model which was appropriate and would be able to apply to teach in a classroom for developing the analytical thinking of students.

Article Details

Section
Research Article

References

จันทร์จิรา แก้วโกย. (2554). ผลของการใช้ห้องทดลองเสมือนแบบสืบสอบแบบมีและไม่มีการกำหนดแนวทางที่มีต่อการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2545). Design e-learning: หลักการออกแบบและการสร้างเว็บเพื่อการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.
นิภารัตน์ วิธี. (2553). หัวนาศึกษาวิทย์. สืบค้นจาก https://www.gotoknow.org/posts/210156.
นวลเสน่ห์ วงศ์เชิดธรรม. (2549). การวิจัยในชั้นเรียน. โครงการส่งเสริมการแต่งตำรามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
บุญเกื้อ ควรหาเวช. (2553). ห้องเรียนเสมือนจริง (Vitual Classroom). สืบค้นจาก http://www.st.ac.th/av/inno_virtclass.htm.
มิ่งขวัญ ทรัพย์ถาวร. (2545). การเปรียบเทียบการควบคุมการเคลื่อนที่แบบอิสระและแบบจำกัดของบทเรียนเสมือนจริงบนเว็บที่มีต่อความเข้าใจในการเรียนวิชาชีววิทยาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ฤทัยรัตน์ ธรเสนา. (2546). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบช่วยเสริมศักยภาพ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูงของนักศึกษาพยาบาล. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิจารณ์ พานิช. (2556). ห้องปฏิบัติการจริง และห้องปฏิบัติการเสมือน. สืบค้นจาก: https://www.gotoknow.org/posts/534946.
วนิดา ฉัตรวิราคม. (2554). ปัญหาการสอนแบบโครงงานของครูวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขึ้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
ศุภางค์ ไทยสมบูรณ์สุข. (2547). การพัฒนารูปแบบการเรียนร่วมมือแบบร่วมกลุ่มเรื่องการบริหารโครงการในห้องเรียนเสมือนจริง สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรุจิรา บุญเลิศ. (2556). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยบทปฏิบัติการทดลองเสมือนจริง เรื่อง สารละลายกรดและเบส. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเคมี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุรพล บุญลือ. (2550). การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้ห้องเรียนเสมือนจริงแบบใช้ปัญหาเป็นหลักในระดับอุดมศึกษา. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อนันต์ ระงับทุกข์. (2557). “ผู้ตรวจราชการ ศธ. ย้ำเด็กไทยคิดวิเคราะห์ต่ำจี้เขตฯ ล็อกเป้าเปลี่ยนการสอน.” เดลินิวส์ 24 ตุลาคม 2557 : ออนไลน์.
อำภารัตน์ นวลทอง. (2554). ผลของการเรียนแบบโครงงานวิชางานธุรกิจที่มีวิธีการกลุ่มบนเว็บล็อกแบบมีโครงสร้างแตกต่างกันที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Beyer, B. K. (1987). Practical strategies for the teaching of thinking. Boston, MA: Allyn and Bacon.
Bloom, B.S. (1956). Taxonomy of educational objectives: The classification of educational goals. New York, NY: Longmans, Green.
Collis, B. and Moonen, J. (2001). Flexible Learning in a Digital World: Experiences and Expectations. London: Kogan-Page.
Herga, N. R., & Dinevski, D. (2012). Virtual laboratory in chemistry – experimental study of understanding, reproduction and application of acquired knowledge of subject’s chemical content. Organizacija, 45, 108-116. DOI: 10.2478/v10051-012-0011-7.
Hiltz, S. R. (1997). The virtual classroom: A new option for learning via computer networking. NorwoodNJ: Ablex.
Graham, C. (2006). Blended learning systems: Definitions, current trends and future directions. In C. Bonk & C. Graham (Eds.).The handbook of blended learning: Global perspectives, local designs. San Francisco: John Wiley and Sons.
Ruggiero, V. R. (1988). Teaching thinking across the curriculum. New York: Harper & Row.
Thorne, K. (2003). Blended learning: How to integrate online and traditional learning. London: Kogan Page.