การพัฒนาบทเรียนการ์ตูนแอนิเมชันโดยใช้การจัดการเรียนรู้ ตามหลักการพัฒนาสมองเป็นฐาน เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านสะกดคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมายของการวิจัย1)เพื่อพัฒนาบทเรียนการ์ตูนแอนิเมชันโดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามหลักการพัฒนาสมองเป็นฐานเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านสะกดคำ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบคะแนนความสามารถในการอ่านสะกดคำในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้บทเรียนการ์ตูนแอนิเมชัน กับเกณฑ์ที่กำหนด 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้บทเรียนการ์ตูนบทเรียนการ์ตูนแอนิเมชันกลุ่มตัวอย่างได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านหญ้าคา จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 25 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบวัดการอ่านสะกดคำ 3) บทเรียนการ์ตูนแอนิเมชัน 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติทดสอบค่าที (t- test แบบ Dependent Samples)
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1) บทเรียนการ์ตูนแอนิเมชันโดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามหลักการพัฒนาสมองเป็นฐาน เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านสะกดคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ 81.26/93.20 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
2) ความสามารถในการอ่านสะกดคำก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนการ์ตูนแอนิเมชัน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.61, S.D.= 0.14)
Downloads
Article Details
References
โกวิท ประวาลพฤกษ์. (2548). การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการทำงานของสมองสร้างพหุปัญญาด้วยโครงงาน. สำนักพิมพ์ บริษัท พัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.).
ขวัญนภา บุญนิธี. (2564). การพัฒนาทักษะด้านการอ่านสะกดคํานักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แบบฝึกวินิจฉัยเป็นรายบุคคล. [การค้นคว้าอิสระปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร]. http://www.edu.nu.ac.th/th/news/docs/download/2021_06_17_15_52_09.pdf
ชัยยงค์ พรหมวงศ์ และคณะ. (2556). ประมวลสาระชุดวิชาการพัฒนาหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ชวิน พงษ์ผจญ. (2562). การออกแบบหน่วยการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้แนวคิด วรรณคดีเป็นฐาน: แนวคิด แนวทางปฏิบัติ และประเด็นที่ควรพิจารณา, วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ, 26(2), 95-125. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/abc/article/view/179443/157003
ณัฐพล ฉัตรมงคลยิ่ง และปุญญรัตน์ รังสูงเนิน. (2562). การศึกษาผลการรับรู้และความพึงพอใจของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ต่อการ์ตูนแอนิเมชัน 3 มิติ เรื่อง “อดทนรอไปด้วยกันนะ”. Journal of Information Science and Technology, 9(1), 53-62
ทิศนา แขมมณี. (2551). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิจารณ์ พานิช. (2557). การเรียนรู้เกิดขึ้น อย่างไร (พิมพ์ครั้งที่2). มูลนิธิสยามกัมมาจล.
วิจารณ์ พานิช. (2554). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่21. สำนักพิมพ์ถาตาพลับลิเคชั่น จำกัด.
วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2554). การออกแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดแบบ Backward Design. ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุรินทร์ ฉ่ำมาก. (2561). การพัฒนาการ์ตูนแอนิเมชันวิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง กาล (Tense) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 5. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี]. http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/bitstream/123456789/3389/1/RMUTT%20159682.pdf
อัจฉรา ชีวพันธ์. (2546). คู่มือการสอนภาษาไทย กิจกรรมเล่นประกอบการสอน. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.