แนวทางการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

Main Article Content

ธงชัย ทองเสวก
จารุวรรณ พลอยดวงรัตน์
อัคพงศ์ สุขมาตย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก 2) ศึกษา การสร้างแนวทางการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และ3) ศึกษาความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ต่อแนวทางการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก กลุ่มตัวอย่าง แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสัมภาษณ์ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานอาคารและสถานที่ ข้าราชการครู ผู้ประกอบการ และ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) จาก 5 วิทยาลัย รวม 45 คน โดยเลือกแบบเจาะจง กลุ่มที่ 2 กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการสร้างแนวทางการพัฒนา คือ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานอาคารและสถานที่ ข้าราชการครู และ อาจารย์ด้านการบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา จาก 4 วิทยาลัย รวม 12 คน ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง กลุ่มที่ 3 กลุ่มผู้ให้ผู้ข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็น คือผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานอาคารและสถานที่ ข้าราชการครู และนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) จำนวน 361 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม ที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องของแบบสอบถาม เท่ากับ 1.00 ทุกข้อคำถาม และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า


1) การพัฒนาสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ด้วยการสัมภาษณ์ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานอาคารและสถานที่ ข้าราชการครู ผู้ประกอบการและนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) มีความเห็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ ควรพัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพออกแบบการเรียนการสอนให้ผู้เรียนได้เกิดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เป็นกระบวนการหนึ่งที่สำคัญการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เหมาะสม จะช่วยสร้างบรรยากาศทางการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน สภาพแวดล้อมทางจิตวิทยา การเตรียมพร้อมในการส่งเสริมสัมพันธภาพที่ดีความรู้สึกที่ดีระหว่างทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมผู้เรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สร้างบรรยากาศการเรียนรู้อย่างเป็นกันเองกับผู้เรียนผู้สอนต้องจัดหาวิธีที่จะตอบสนองต่อความต้องการพื้นฐาน ของผู้เรียนให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อความสำเร็จแห่งการเรียนรู้ของผู้เรียนต่อไป สภาพแวดล้อมทางสังคม นอกจากการเตรียมความพร้อมในการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้อย่างเป็นกันเองระหว่างผู้สอนและผู้เรียนแล้ว การเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้บริหารครูและชุมชนเป็นสิ่งจำเป็นเช่นกัน


2) การสร้างแนวทางการพัฒนา สภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ด้วยการสัมภาษณ์ ผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่านมีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันมีทั้งหมด 9 แนวทาง และเมื่อนำไปสังเคราะห์เป็นพฤติกรรมเป็น 9 พฤติกรรม เพื่อนำไปใช้สร้างแนวทางในการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ 1) การจัดสภาพแวดล้อมภายในชั้นเรียน 2) การจัดสภาพแวดล้อมภายนอกห้องเรียน 3) การสร้างบรรยากาศห้องเรียนเสมือนจริง 4) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในห้องเรียน 5) การจัดกิจกรรม การเรียนรู้นอกห้องเรียน 6) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ห้องเรียนเสมือนจริง 7) ความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน 8) ความสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้ปกครอง และ 9) ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนกับเพื่อน แล้วนำผ่านการประเมิน จากผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งล้วนแต่เป็นผู้เชี่ยวชาญและเข้าใจในการจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ทุกคนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการสร้างแนวทางในการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มีความเหมาะสมและเป็นไปได้


3) ความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อแนวทางการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นต่อ 3 องค์ประกอบ 9 แนวทาง ภาพรวมอยู่ในระดับมาก

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2562). แผนสิ่งแวดล้อมในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561-2564. ม.ป.ท.

กัญญ์ธิดา ยอดดี. (2563, 21 เมษายน). สภาพแวดล้อมทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 1 จังหวัดชลบุรี. http://C:/Users/ASUS/Downloads/58990096.pdf

กิตติยา โพธิสาเกตุ, และธัชชัย จิตรนันท์. (2561). การพัฒนาแนวทางการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ภายในสถานศึกษาเอกชนสังกันอัครสังฆมณฑลท่าแร่ หนองแสง. วารสารมหาวิทยาลัยพนมสารคาม, 8(2), 54-62.

ภัทรพร บุญนำอุดม. (2563, 20 กันยายน). ห้องเรียนในฝันของการศึกษาศตวรรษที่ 21: บทบาทสำคัญของห้องเรียน ในการส่งเสริมการเรียนรู้ในโลกสมัยใหม่. http://www.tcde.or.th/aritcles/design_creativity/25279/

วิภา ร่วมโพธิ์รี. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในโรงเรียนกับมาตรฐานคุณภาพสถานศึกษาด้านผู้เรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษาเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี. [วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์] มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วีซานา อับดุลเลาะ และ วุฒิชัย เนียมเทศ. (2563). การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 แนวคิด ทฤษฎี และแนวทางปฏิบัติ. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(2), 615-619.

ศราวุธ บุญปลอด. (2562). การพัฒนาแนวทางการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 จังหวัดนครพนาม. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนครพนม]. https://tdc.thailis.or.th/tdc/ index.php

ศศิลักษณ์ พิณพาทย์. (2560). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาสภาพแวดล้อมทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียน สวนกุหลาบวิทยาลัยชลบุรี อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์] มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา. (2561). สรุปผลการดำเนินงานศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. พริกหวานกราฟฟิคการพิมพ์.

สิวาภรณ์ เจริญวงศ์. (2561) ห้องเรียนเสมือนจริงกับการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาพยาบาลในยุคดิจิตอล วารสารพยาบาลทหารบก, 19(2), 125.

อรพันธ์ ประสิทธิรัตน์. (2563). สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ สานุกรมศึกษาศาสตร์. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อรรถสิทธิ์ สุทธิวารี. (2564). สภาพแวดล้อมทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝัน อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

Jill, B. (2012). Re Positioing Australia’s International Education In Global Knowledge Economics: Implications Of Shifts In Skilled Migration Policies for University. Journal of Higher Education Policy and Management, 5(3), 110-205.

Jo O’Mara. (2010). Australian Bureau of Statistics Census. S.I. : s.n.

Khine, M.S. (2005). Reframing Transformational Leadership: New School Culture and Effectiveness. Sense Publishers.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Robert, E. H. (2000). Strategic management: competitiveness and globalization. South-Western College Pub.