ผลการศึกษากระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ 5E ร่วมกับการใช้สื่อเทคโนโลยีความจริงเสริมเพื่อพัฒนาการคิดแบบอภิปัญญา เรื่อง เซลล์และการทำงานของเซลล์ ในรายวิชาชีววิทยา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบ 5E ร่วมกับการใช้สื่อเทคโนโลยี ความจริงเสริม 2) เพื่อศึกษาความสามารถด้านอภิปัญญา 3) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน และ 4) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนต่อการพัฒนาอภิปัญญาแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้ 5E ร่วมกับ สื่อเทคโนโลยีความจริงเสริม เรื่อง เซลล์และการทำงานของเซลล์ วิชาชีววิทยา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุกูลนารี จำนวนนักเรียน 36 คน รูปแบบ การวิจัยแบบศึกษากลุ่มเดียววัดสองครั้ง ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้วิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดการคิดแบบอภิปัญญา 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบสอบถาม ความคิดเห็นของผู้เรียน และ 5) แบบบันทึกผลการเรียนรู้ของผู้เรียน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบค่าที (t-test) แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน
ผลการวิจัยพบว่า
1. การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบ 5E ร่วมกับการใช้สื่อเทคโนโลยีความจริงเสริมเพื่อพัฒนาการคิดแบบอภิปัญญาหลังการจัดการเรียนรู้นักเรียนมีอภิปัญญาเพิ่มขึ้นทุกองค์ประกอบ
2. ผลการวัดความสามารถด้านอภิปัญญาของผู้เรียน คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
3. ผลการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาชีววิทยา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีระดับนัยสำคัญ ทางสถิติที่ .05
4. ผลการศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียนเห็นด้วยกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยพัฒนาอยู่ระดับเหมาะสมมากที่สุด
Downloads
Article Details
References
พงศ์ประพันธ์ พงษ์โสภณ. (2563). การสอนชีววิทยาในเนื้อหาที่ซับซ้อนโดยใช้แบบจำลองเป็นฐานนิตยสาร สสวท. 48(224), 16.
พันทิพา หนูซื่อตรง (2560). ผลการเรียนด้วยหนังสือเรียนร่วมกับเทคโนโลยีความจริงเสริม และกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ วิชา สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร]. http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/bitstream/123456789 /1482/1/57257308.pdf
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2551). หลักการวัดและการประเมินผลการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 6). เฮ้าส์ ออฟเคอร์มิสท์.
ไพฑูรย์ ศรีฟ้า. (2556). การผลิตสื่อการเรียนการสอนยุคใหม่สไตล์ AURASMA. ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ศศิธร เยื่อใย, ธิติยา บงกชเพชร, และปราณี นางงาม. (2563). การพัฒนาอภิปัญญาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานเรื่องการเจริญ เติบโตและการตอบสนองของพืช สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 5. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 15(2), https://so02.tci-thaijo.org/ index.php/Pitchayatat/article/view/244332/165641
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (2556). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กระทรวงศึกษาธิการ.
สุดารัตน์ เกียรติจรุงพันธ์, ศรัณย์ ภิบาลชนม์ และสมศิริ สิงห์ลพ. (2560). การศึกษามโนทัศน์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 วิชาชีววิทยาเพิ่มเติม เรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 11(2), https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDGKKUJ/article/view/113613 /88300
เสาวลักษณ์ อนุยันต์. (2563). อนาคตทางการศึกษา ผลกระทบจากวิกฤติการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 14(2), 14-25. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/EDUCLoei/article/view/259273/172749
Ahmad, S., Sultana, N., & Jamil, S. (2022). Students’ Attitude towards Biology and Academic Achievement in Biology at Secondary Level, in Islamabad, Pakistan. American Journal of Educational Research, 10(5), 268-275. http://pubs.sciepub.com/education/10/5/1
Flavell, J. H. (1979). Metacognition and cognitive monitoring: A new area of cognitive-developmental inquiry. American Psychologist, 34(10), 906-911. https://doi.org/10.1037/0003-066X.34.10.906
Sahin, D., & Yilmaz, R. M. (2020). The effect of Augmented Reality Technology on middle school students’ achievements and attitudes towards science education. Computers & Education, 144, 103710. https://doi.org/10.1016/j.compedu.2019.103710