การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการสอนทางไกล โดยใช้ DLTV สำหรับครูโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ DLTV 2) เพื่อออกแบบและพัฒนากระบวนการนิเทศด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการสอนทางไกลโดยใช้ DLTV 3) เพื่อศึกษาผลการส่งเสริมสมรรถนะการสอนทางไกลโดยใช้ DLTV และ 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของครูที่มีต่อกระบวนการและกิจกรรมการนิเทศ เก็บรวบรวมข้อมูลจาก ครูในโรงเรียนขนาดเล็กในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 จำนวน 62 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสำรวจสภาพปัจจุบันการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ DLTV คู่มือการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการสอนทางไกลโดยใช้ DLTV แบบทดสอบสมรรถนะการสอนทางไกลโดยใช้ DLTV ก่อน-หลังการอบรม แบบนิเทศและประเมินสมรรถนะการสอนทางไกลโดยใช้ DLTV และแบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อกระบวนการนิเทศ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิตินอนพาราเมตริก ใช้วิธีทดสอบแบบ The Wilcoxon signed-rank test
ผลการวิจัยพบว่า
1) สภาพปัจจุบันการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ DLTV ของครูโรงเรียนขนาดเล็ก ตามมาตรฐานของการสอนโดยใช้การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ระดับสถานศึกษา โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับปานกลาง (=3.36, S.D.=0.25)
2) กระบวนการนิเทศด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการสอนทางไกลโดยใช้ DLTV ประกอบด้วยขั้นตอน วางแผนการนิเทศ (Planning) อัพเดทความรู้ (Updating) ชวนครูปฏิบัติ (Doing) ชื่นชมเสริมพลัง (Reinforcing) รับฟังและปรับปรุง (Evaluating and Revising) ผลจากการตรวจสอบความเหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.51, S.D.=0.52)
3) การส่งเสริมสมรรถนะการสอนทางไกลโดยใช้ DLTV พบว่า คะแนนหลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการอบรม และสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4) ความพึงพอใจของครูที่มีต่อกระบวนการและกิจกรรมการนิเทศอยู่ในระดับมาก (=3.95, S.D.=0.50)
Downloads
Article Details
References
จตุพล สอนจิตร และวิเชียร รู้ยืนยง. (2564). แนวทางการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (NEW DLTV) ของสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 5. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(8), 151-163.
นิชาภัทร วิลเลี่ยมส์. (2559). การพัฒนาการนิเทศภายในโดยใช้กระบวนการสร้างชุมชนการเรียนรู้.ทางวิชาชีพในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, 23(2), 120-136.
มูลนิธิการศึกษาทางไทยผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์ และ ศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล. (2561). แนวทางการดำเนินงานการจัดการเรียนการสอนโดย ใช้การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ให้ได้มาตรฐาน. มูลนิธิการศึกษาทางไทยผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
มูฮำมัด ประจัน. (2563). การพัฒนากระบวนการนิเทศแบบ APICRER เพื่อส่งเสริมการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 1. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 1.
วิชญุฒม์ ทองแม้น วัชรา สามาลย์ ชัยสิทธิ์ คุณสวัสดิ์ และ พชรพรรณ ด่านวิไล. (2564). การประยุกต์ดิจิทัลแพลตฟอร์ม สำหรับการนิเทศแบบออนไลน์ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ ปีการศึกษา 2564 ครั้งที่ 1/2564 ที่ส่งผลต่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกบนระบบออนไลน์ด้วยกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพผ่านการเปิดชั้นเรียน. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาสุรินทร์.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1. (2564). “สพป.มค.1 วิถึใหม่ วิถีคุณภาพ”มาตรการและแนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยใช้พื้นที่เป็นฐาน. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). การจัดการเรียนการสอนโดยใช้การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563). รายงาน เรียนออนไลน์ยุคโควิด–19 วิกฤตหรือโอกาสการศึกษาไทย. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). รายงานการศึกษา รูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ Covid 19. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
สุธิดา การีมี. (2562). การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพแบบออนไลน์โดยใช้แนวคิดการพัฒนาบทเรียนร่วมกันเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนสะเต็มศึกษาของครูประถมศึกษา[วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สุวิมล มธุรส. (2564). การจัดการศึกษาในระบบออนไลน์ในยุค New Normal Covid-19. วารสารรัชต์ภาคย์,15(40), 33-42.
อติพร เกิดเรือง. (2560). การส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อรองรับสังคมไทยในยุคดิจิทัล. วารสารมหาวิทยาลัย ราชภัฏลำปาง, 6(1), 173-184.
Kenan Foundation Asia. (2564, 20 สิงหาคม). ครูไทยปรับตัวปรับใจอย่างไรในยุคโควิด-19. Kenan Foundation Asia. https://www.kenan-asia.org/th/teachers-covid/