การพัฒนาองค์ประกอบและตัวชี้วัดการเรียนรู้แบบกำกับตนเองในการเรียนออนไลน์ ของนิสิตนักศึกษาครูในสถาบันอุดมศึกษา

Main Article Content

วรรณากร พรประเสริฐ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดการเรียนรู้แบบกำกับตนเอง ในการเรียนออนไลน์ของนิสิตนักศึกษาครูในสถาบันอุดมศึกษา และ 2) ตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของ องค์ประกอบและตัวชี้วัดการเรียนรู้แบบกำกับตนเองในการเรียนออนไลน์ของนิสิตนักศึกษาครูในสถาบันอุดมศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตนักศึกษาครูในสถาบันอุดมศึกษา รวมทั้งสิ้น 1,440 คน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ องค์ประกอบเชิงสำรวจ และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน


ผลการวิจัยพบว่า


1. องค์ประกอบและตัวชี้วัดการเรียนรู้แบบกำกับตนเองในการเรียนออนไลน์ของนิสิตนักศึกษาครู ในสถาบันอุดมศึกษา มี 4 องค์ประกอบ 25 ตัวชี้วัด ได้แก่ การจัดการเวลาในการเรียน (7 ตัวชี้วัด) การรับรู้ ความสามารถของตนเองและการขอความช่วยเหลือในการเรียน (7 ตัวชี้วัด) การตั้งเป้าหมายในการเรียน (6 ตัวชี้วัด) และการจัดสภาพแวดล้อมในการเรียน (5 ตัวชี้วัด) โดยองค์ประกอบทั้งหมดสามารถอธิบาย การเรียนรู้แบบกำกับตนเองในการเรียนออนไลน์ได้ร้อยละ 64.39


2. องค์ประกอบและตัวชี้วัดการเรียนรู้แบบกำกับตนเองในการเรียนออนไลน์ของนิสิตนักศึกษาครูในสถาบันอุดมศึกษามีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-square=202.257, df=186, p-value=0.062, RMSEA=0.021, CFI=0.993 และ SRMR=0.035) และมีความตรงเชิงโครงสร้าง ซึ่งพิจารณาได้จากค่าน้ำหนัก องค์ประกอบที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกตัวชี้วัด โดยน้ำหนักองค์ประกอบมีค่าอยู่ระหว่าง 0.345 ถึง 0.796

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

ธานินทร์ อินทรวิเศษ, ธนวัฒน์ เจริญษา, และพิชญาภา ยวงสร้อย. (2564). ภาพสะท้อนการศึกษาไทยหลังภาวะโควิด 2019. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. 7(4), 323-333.

เนาวนิตย์ สงคราม. (2563). การจัดการเรียนการสอนและการประเมินผลผู้เรียนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์ และมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. สำนักบริหารวิชาการและศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประกาศกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2562). มาตรการและการเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2562. https://www.mhesi.go.th/images/Pusit2021/pdfs/CCF_000006.pdf

ประกาศกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เรื่อง กำหนดปรัชญาการอุดมศึกษาไทยและระดับอุดมศึกษาใหม่ ด้านการสร้างบัณฑิตและพัฒนากำลังคน, 2564. (2564, 27 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 138 ตอนพิเศษ 144 ง, หน้า 2.

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรีสาขาครุศาสตร์และสาขาศึกษาศาสตร์ (หลักสูตร 4 ปี) พ.ศ. 2562. (2562, 6 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 136 ตอนพิเศษ 56 ง, หน้า 12-39.

ประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง รายละเอียดของมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครู ตามข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. (2563, 7 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 137 ตอนพิเศษ 109 ง, หน้า 10-14.

มูลนิธิคีนันแห่งเอเชีย. (2563, 30 เมษายน). การแพร่ระบาดของโควิด-19 สร้างผลกระทบต่อการศึกษาไทยที่สำคัญ 3 ประการ. https://www.kenan-asia.org/th/covid-19-education-impact

มหาวิทยาลัยพะเยา. (2563, 24, กรกฏาคม). ประกาศมหาวิทยาลัยพะเยา เรื่อง แนวทางการจัดการเรียนการสอนและการวัดและประเมินผล ภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2563 (ฉบับที่ 2). https://up.ac.th/th/NewsReadAnnounce.aspx?itemID=21972

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

สาลินี จงใจสุธรรม, นำชัย ศุภฤกษ์ชัยสกุล, และวินัย ดำสุวรรณ. (2558). กลวิธีการกำกับตนเองในการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, 7(1), http://ejournals.swu.ac.th/index.php/ jbsd/article/view/5129

สิริพร อินทสนธิ์. (2563). โควิด-19 : กับการเรียนการสอนออนไลน์ กรณีศึกษารายวิชาการเขียนโปรแกรมเว็บ. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 22(2), 203 – 214.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563). รายงาน เรียนออนไลน์ยุคโควิด-19 : วิกฤตหรือโอกาสการศึกษาไทย. สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้, สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ.

Alhazbi, S., & Hasan, M. A. (2021). The Role of Self-Regulation in Remote Emergency Learning: Comparing Synchronous and Asynchronous Online Learning. Sustainability, 13(19),

https://www.mdpi.com/2071-1050/13/19/11070

Artino, A. R. (2009). Online learning: Are Subjective Perceptions of Instructional Context Related to Academic Success? Internet and Higher Education, 12(3-4), DOI:10.1016/j.iheduc.2009.07.003 https://www.researchgate.net/ publication/257495977_Online_learning_Are_subjective_perceptions_of_instructional_context_related_to_academic_success

Bakar, Z. A., Yun, L. M., Keow, N. S., & Li, T. H. (2014). Goal-Setting Learning Principles: A Lesson from Practitioner. Journal of Education and Learning, 8(1), https://www.semanticscholar.org/paper/Goal-Setting-Learning-Principles%3A-A-Lesson-From-Bakar-Yun/1fa18f077b8db2f3b99b31e77057b20b03050356

Barnard, L., Lan, W. Y., To, Y. M., Paton, V. & Lai, S. (2009). Measuring Self-regulation in Online and Blended Learning Environments. Internet and Higher Education, 12(1), DOI:10.1016/j.iheduc.2008.10.005 https://www.researchgate. net/publication/223619785_Measuring_self-regulation_in_online_and_blended_learning_environments

Cho, M.-H., & Jonassen, D. (2009). Development of the Human Interaction Dimension of the Self-regulated Learning Questionnaire in Asynchronous Online Learning Environments. Educational Psychology, 29(1), https://doi.org/10.1080/01443410802516934

Cho, M.-H., & Kim, B. J. (2013). Students’ Self-regulation for Interaction with Others in Online Learning Environments. Internet and Higher Education, 17, https://experts.syr.edu/en/publications/students-self-regulation-for-interaction-with-others-in-online-le

Cho, M., & Shen, D. (2013). Self-regulation in Online Learning. Distance Education, 34(3), https://doi.org/10.1080/01587919.2013.835770

Gilbert, B. (2015). Online Learning Revealing the Benefits and Challenges. St. John Fisher College. https://fisherpub.sjfc.edu/cgi/viewcontent.cgi?article=1304&context=education_ETD_masters

Hair, J. F., Black, W. C, Babin, B. J., Anderson, R. E. (2009). Multivariate Data Analysis (7th ed). Upper Saddle River, NJ: Pearson Prentice Hall.

Hair, J. F., Anderson, R. E., Babin, B. J., & Black, W. C. (2010). Multivariate Data Analysis: A Global Perspective. Upper Saddle River, NJ: Pearson.

Hrastinski, S. (2009). A Theory of Online Learning as Online Participation. Computer & Education, 52(1), 78-82.

Heikonen, L., Toom, A., Pyhältö, K., Pietarinen, J., & Soini, T. (2017). Student-teacher’s Strategies in Classroom Interaction in the Context of the Teaching Practicum. Journal of Education for Teaching, 20, 1-16.

Kaplan, D., (2000). Structural Equation Modeling. California: Sage Publications.

Karabenick, S. A., & Gonida, E. N. (2018). Academic Help Seeking as a Self-regulated Learning Strategy: Current Issues, Future Directions. In D. H. Schunk & J. A. Greene (Eds.), Handbook of Self-regulation of Learning and Performance (pp. 421–433).

Lin, J. (2018). Effects of an Online Team Project-based Learning Environment with Group Awareness and Peer Evaluation on Socially Shared Regulation of Learning and Self-regulated Learning. Behaviour & Information Technology, 37(5), 445-461.

Nicholls, J. G. (1984). Achievement motivation: Conceptions of Ability, Subjective Experience, Task Choice, and Performance. Psychological Review, 91(3), 328–346.

Pichardo, C., Justicia, F., Fuente, J., Martínez-Vicente, J. & Berbén, A. B. G. (2014). Factor Structure of the Self-regulation Questionnaire (SRQ) at Spanish Universities. Spanish Journal of Psychology, 17, 1–8.

Pintrich, P. (1995). Understanding Self-regulated Learning. San Francisco: Jossey-Bass.

Pintrich, P. (2004). A Conceptual Framework for Assessing Motivation and Self-regulated Learning in College Students. Educational Psychology Review, 16(4), 385-407.

Pintrich, P. & Zusho, A. (2002). The Development of Academic Self-regulation: The role of cognitive and motivational factors. Hilldale, NJ: Erlbaum. S

aariaho, E., Anttila, H., Toom, A., Soini, T., Pietarinen, J., & Pyhältö, K. (2018). Student Teachers’ Emotional Landscapes in Self and Co-regulated Learning. Teachers and Teaching, 24(5), 538-558.

Savage, T.V., & Savage, M. K. (2010). Successful Classroom Management and Discipline: Teaching self-control and responsibility (3rd ed.). Los Angeles: SAGE Publications, Inc. T

hibodeaux, J., Deutsch, A., Kitsantas, A., & Winsler, A. (2017). First-Year College Students’ Time Use: Relations with Self-Regulation and GPA. Journal of Advanced Academics, 28(1), 5–27.

Winne, P. H. (1997). Experimenting to Bootstrap Self-regulated Learning. Journal of Educational Psychology, 89(3), 397-410.

Wolters, C. A. & Brady, A. C. (2020). College Students’ Time Management: A Self-regulated Learning Perspective. Educational Psychology Review, 33, 1319–1351.

Zimmerman, B.J. (2008). Investigating Self–regulation and Motivation: Historical Background, Methodological Developments, and Future Prospects. American Educational Research Journal, 45(1), 166-183.

Zimmerman, B. J., & Martinez-Pons, M. (1986). Development of a Structured Interview for Assessing Student Use of Self-Regulated Learning Strategies. American Educational Research Journal, 23(4), 614-628.

Zimmerman, B. J. & Martinez-Pons, M. (1990). Student Differences in Self-Regulated Learning: Relating Grade, Sex, and Giftedness to Self-Efficacy and Strategy Use. Journal of Educational Psychology, 82(1), 51-59.

Zimmerman, B. J., & Schunk, D. H. (2011). Self-regulated Learning and Performance: An Introduction and an Overview. In B. J. Zimmerman & D. H. Schunk (Eds.), Handbook of Self-regulation of Learning and Performance (pp. 1–12). New York, NY: Routledge.