การพัฒนาหนังสือการ์ตูนเออาร์ด้วยเทคนิค PWIM เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านสำหรับนักเรียนประถมศึกษาตอนต้น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความคิดเห็นของผู้เรียน 2) พัฒนาหนังสือการ์ตูน เออาร์ที่ใช้เทคนิค PWIM 3) ศึกษาผลการใช้หนังสือการ์ตูนเออาร์ที่ใช้เทคนิค PWIM เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านสำหรับนักเรียนประถมศึกษาตอนต้น ซึ่งการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความคิดเห็นของผู้เรียน ระยะที่ 2 พัฒนาหนังสือการ์ตูนเออาร์ที่ใช้เทคนิค PWIM ระยะที่ 3 ศึกษาผลการใช้หนังสือการ์ตูนเออาร์ที่ใช้เทคนิค PWIM เพื่อพัฒนาความสามารถ ในการอ่านสำหรับนักเรียนประถมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาผลการใช้ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โดยแบ่งเป็น กลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบทดสอบก่อนเรียนและ หลังเรียน 2) หนังสือการ์ตูนเออาร์ด้วยเทคนิค PWIM 3) แบบบันทึกการอ่านออกเสียงและการอ่านรู้เรื่อง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน T-test dependent sample (Paired t-test) และ t-test independent sample
ผลการวิจัย พบว่า ระยะที่ 1 ผู้เรียนส่วนใหญ่ชอบการ์ตูนที่มีสีสดใส ดูสบายตา ตัวการ์ตูนน่ารัก เท่ เห็นเส้นของการ์ตูนชัดเจนและลักษณะการ์ตูนที่ผู้เรียนไม่ชื่นชอบคือการ์ตูนที่มีสีอ่อน ไม่สดใส สีดำหรือมืด ตัวการ์ตูนหน้าบึ้ง มองเห็นลายเส้นของการ์ตูนไม่ชัด และทฤษฎีเกี่ยวกับเทคนิค PWIM มี 4 หลักการคือ 1. การดูรูปภาพและระบุคำศัพท์ 2. การอ่านออกเสียงเพื่อเชื่อมโยงคำและรูป 3. การจัดกลุ่มคำหรือการคิดแบบอุปนัย 4. การนำไปใช้ ระยะที่ 2 องค์ประกอบของหนังสือการ์ตูนเออาร์ฯ ประกอบด้วย 1. การ์ตูนแอนิเมชัน 2 มิติ และการ์ตูนประกอบเรื่อง 2. ตัวชี้วัดภาษาไทย 3. เนื้อเรื่อง 4. ตัวละคร 5. ความเป็นจริงเสริม ขั้นตอนการใช้เทคนิค PWIM มี 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1. การดูรูปภาพและระบุคำศัพท์ 2. การอ่านออกเสียงเพื่อเชื่อมโยงคำและรูป 3. การจัดกลุ่มคำหรือการคิดแบบอุปนัย 4. การนำไปใช้ และมีคุณภาพของหนังสือการ์ตูนเออาร์ด้วยเทคนิค PWIM อยู่ในระดับดี (=4.36,S.D.=0.72) ระยะที่ 3 1) ความสามารถในการอ่านก่อนเรียนและหลังเรียนของกลุ่มทดลองเก่ง กลาง อ่อน กลุ่มทดลองทุกกลุ่มมีความสามารถ ในการอ่านหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความสามารถในการอ่านหลังเรียน ของกลุ่มทดลองกลุ่มเก่ง กลาง อ่อนมีความสามารถในการอ่านหลังเรียนสูงกว่ากลุ่มควบคุมกลุ่มเก่ง กลาง อ่อนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05
Downloads
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ กรมวิชาการ. (2545). คู่มือการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน. ม.ป.ท.
คุณานนต์ มงคลสิน, ธารหทัย สุหญ้านาง, ณัชพล ผกานนท์, สุวิช ถิระโคตร และชญา หิรัญเจริญเวช. (2561). พฤติกรรมการเปิดรับและปัจจัยที่มีผลต่อการเลียนแบบการ์ตูนแอนิเมชันของเยาวชน. วารสารวิทยาการสารสนเทศและเทคโนโลยีประยุกต์. 1(2) https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jait/article/ download/164928/127507/
จรรยวรรณ เทพศรีเมือง. (2560). การทำหนังสือสำหรับเด็ก. ุคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
จินตนา ใบกาซูยี. (2542). เทคนิคการเขียนหนังสือสำหรับเด็ก. ุกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.
เจด็จ คชฤทธิ์. (2554). เด็กกับหนังสือ: คู่มือเพื่อความเข้าใจเด็กและหนังสือสำหรับเด็ก. บ้านหนังสือ.
จุไร อินทร์ทอง. (2559). ผลของการสอนด้วยภาพประกอบเสียงเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่าน คำที่ประสมด้วยสระเดี่ยวไม่มีตัวสะกดของนักเรียนที่มีภาวะ
บกพร่องทางการเรียนรู้ด้วยการอ่าน. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร].
ณัฐญา นาคะสันต์ และศุภรางค์ เรืองวานิช. (2559). Augmented Reality: เติมชีวิตให้สื่อสิ่งพิมพ์ทางการศึกษา. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก. 34(2).
https://www.tci-thaijo.org/index.php/romphruekj/article/download/91902/72057
ดนัยพร ลดากุล และปุญญรัตน์ ปุญญา. (2561). การพัฒนาการ์ตูนแอนิเมชัน 3 มิติ เพื่อส่งเสริมคุณธรรมด้านความซื่อสัตย์ สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2. วารสารวิทยาการสารสนเทศและเทคโนโลยีประยุกต์. 1(1) https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jait/article/download/94941/103587/
ปิยณัฐ สุนทรประเสริฐ. (2561). การจัดทำหนังสือสำหรับเด็ก. พิมพ์ครั้งที่ 3. ธรรมรักษ์การพิมพ์.
พจน์ศิรินทร์ ลิมปินันทน์. (2560). เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมส่งเสริมความคงทนในการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษ. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยี
สารสนเทศและวัฒนธรรม. 4(2) https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/itm-journal/article/view/115305/89116
นงนุช สลับศรี. (2562). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบการ์ตูนเรื่องคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดดอนดำรงธรรม จังหวัดชลบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์] มหาวิทยาลัยบูรพา. http://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/
files/57920390.pdf
รุสดี แวนาแซ, วิชัย นภาพงศ์, โอภาส เกาไศยาภรณ์ และ อิบรอเฮม เต๊ะแห. (2563). ผลการใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านออกเสียงพยัญชนะภาษาอาหรับของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. Journal of Information and Learning. 31(3) https://so04.tci-
thaijo.org/index.php/jil/article/view/246067/168495
วาสนา บัวศรี, อลงกต ภูมิสายดร, ประวิทย์ สิมมาทัน และ ขุนเพชร ใจปันทา. (2562). เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์และความคงทนทางการเรียนสาระการเรียนรู้หน่วย
ธรรมชาติรอบตัวของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ระหว่างการเล่านิทานจากหนังสือภาพและการเล่านิทานโดยสื่อการ์ตูนแอนิเมชั่น 2 มิติ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 3(3) https://so05.tci-thaijo.org/index.php/rmuj/article/view/29977/25822
วิวัฒน์ มีสุวรรณ์. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการอ่านกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เรียนด้วยหนังสือ การ์ตูนร่วมกับเทคโนโลยีออกเมนเต็ดเรียลลิตี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 21(1) https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/77468/126106
สกชาติ วินิตกฤษฎา. (2560). การพัฒนาหนังสือการ์ตูน เรื่องรูปเราขาคณิต สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต
ไม่ได้ตีพิมพ์] มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สง่า วงค์ไชย. (2562). Picture Word Inductive Model: รูปแบบการสอนอ่านและเขียนสำหรับเด็กไทย Picture Word Inductive Model: Literacy Model for Thai Children. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts). 12(2) https://he02.tci-thaijo. org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/128691
สายแก้ว เรืองทัพ และ สุธาทิพย์ งามนิล. (2560). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอนแบบอุปนัยที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้
วิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ. 7(12) https://so02.tci-thaijo.org/ index. php/JGNRU/article/view/72537
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560–2579. ุพริกหวานกราฟฟิค. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2562). สรุปผลที่สำคัญการสำรวจการอ่านของประชากร พ.ศ.2561 www.nso.go.th/sites/2014/DocLib13/ด้านสังคม/สาขาหญิงและชาย/การอ่านหนังสือของประชากร/2561/sum-report_61.pdf
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช2551. พิมพ์ครั้งที่ 2. ุโรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.
สุพัตรา ศรีธรรมมา และอุบลวรรณ ส่งเสริม. (2563). การพัฒนาความสามารถในการอ่านและการเขียนสะกดคำของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดการเรียนรู้แบบ PWIM ร่วมกับแผนผังความคิด The Development of Reading and Writing Word Spelling Abilities of The First Grade Students Taught by Learning PWIM and Mind Mapping. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 12(1),
สุรินทร์ ฉ่ำมาก. (2561). การพัฒนาการ์ตูนแอนิเมชั่นวิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง กาล (Tense) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. [วิทยานิพนธ์ปริญญา
มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์ล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
อดิศักดิ์ เมฆสมุทร, สุรพล บุญลือ และ กีรติ ตันเสถียร. (2560). การพัฒนาความสามารถการอ่านคำควบกล้ำโดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านร่วมกับเทคโนโลยีผสานความจริง ที่ใช้ในกิจกรรมการเรียนรู้เทคนิคเกมมิฟิเค ชั้นสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(1) https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E- Journal/ article/view/86446
Ablyaev, M., Abliakimova, A., & Seidametova, Z. (2019). Design of Mobile Augmented Reality System for Early Literacy. ICTERI 2019. 274-285. https://www.semanticscholar.org/paper/Design-of-Mobile-Augmented-Reality-System-for-Early-Ablyaev-Abliakimova/1684ccda 73f64d756802613ec4538a75739ecac5#
Branch, R.M. (2009). Instructional Design: The ADDIE Approach. https://link.springer.com/book/10.1007/978-0-387-09506-6#about
Bursali, H., & Yilmaz, R.M. (2019). Effect of augmented reality applications on secondary school students’ reading comprehension and learning permanency. Computers in Human Behavior. 95 https://doi.org/10.1016/j.chb.2019.01.035
Calhoun, E.F. (2000). Teaching Beginning Reading and Writing with The Picture Word Inductive Model. https://www.academia.edu/38341979
Delprato, D.J. (2009). Mind and Its Evolution: A Dual Coding Theoretical Approach. The Psychological Record. 59 https://doi.org/10.1007/BF03395664
Jiang, X. (2018). Exploring Young English Learners’ Perceptions of the Picture Word Inductive Model in China.TESOL International Journal. 13(1) https://files.eric.ed.gov/fulltext/EJ1247206.pdf
Lee, B.C., Pandian, A., Rethinasamy, S., & Tan, D.A.L. (2019). Effects of PWIM in the ESL Classroom: Vocabulary Knowledge Development Among Primary Malaysian Learners. 3L: The Southeast Asian Journal of English Language Studies. 25(4) http://doi.org/10.17576/3L-2019-2504-11
Mahayuddin, Z. R., & Saif, A. F. M. S. (2020). Augmented reality based AR alphabets towards improved learning process in primary education system. Journal of Critical Reviews. 7(19) doi:10.31838/jcr.07.19.66
Richards, R. G. (n.d.). Writing Made Easier: Helping Students Develop Automatic Sound/Symbol Correspondence. https://www.readingrockets.org/article/writing-made-easier-helping-students-develop-automatic-soundsymbol-correspondence
Wulan, N. S., & Rahma, R. (2020). Augmented reality-based multimedia in early reading learning: Introduction of ICT to children. ournal of Physics: Conference Series. 1477. https://www.researchgate.net/publication/340652195_Augmented_Reality-Based_Multimedia_ in_Early_Reading_Learning_Introduction_of_ICT_to_Children
Triwahyuni, E., Degeng, I. N. S., Setyosari, P., & Kuswandi, D. (2020). The effects of picture word inductive model (PWIM) toward student’s early reading skills of first-grade in the primary school. Elementary Education Online. 19(3) https://ilkogretim-online.org/index.php?mno=121778