การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้บนเว็บแอปพลิเคชันโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้อิงประสบการณ์และชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้บนเว็บแอปพลิเคชันโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้อิงประสบการณ์และชุมชนเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ สังเคราะห์ทฤษฎี หลักการ วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญ 2) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้บนเว็บแอปพลิเคชันฯ 3) ศึกษาผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้บนเว็บแอปพลิเคชันฯ และ 4) ประเมินผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้บนเว็บแอปพลิเคชันฯ ซึ่งการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/6 โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบประเมินตนเอง 2) แบบทดสอบเป็นแบบอัตนัย 3) แบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้กิจกรรมการเรียนรู้บนเว็บแอปพลิเคชันฯ 4) แบบสังเกตพฤติกรรมนักเรียนการใช้กิจกรรมการเรียนรู้บนเว็บแอปพลิเคชันฯ และ 5) แบบประเมินผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้บนเว็บแอปพลิเคชันฯ
ผลการวิจัยพบว่า
1. การศึกษา สังเคราะห์ทฤษฎี แนวคิดการเรียนรู้อิงประสบการณ์และชุมชนเป็นฐานส่งผลให้เกิดกิจกรรม การเรียนรู้ 6 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นวางแผนและกำหนดขอบเขตการเรียนรู้ ขั้นทบทวนประสบการณ์เดิม ขั้นไตร่ตรองและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ขั้นดำเนินการศึกษาและเรียนรู้ ขั้นสรุปและสะท้อนผลการเรียนรู้ และขั้นประยุกต์ใช้ ในสถานการณ์จริง
2. ผลการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้บนเว็บแอปพลิเคชันฯ ผู้วิจัยนำกิจกรรมการเรียนรู้ทั้ง 6 ขั้นตอนมาใช้ ร่วมกับเว็บแอปพลิเคชันโดยมีฟังก์ชันสำคัญ ได้แก่ การอภิปรายกลุ่ม การตอบคำถาม เกม การวางแผนการทำงาน และการจดบันทึกรายการซึ่งเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน
3. ผลการทดลองใช้กิจกรรมการเรียนรู้บนเว็บแอปพลิเคชันโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้อิงประสบการณ์และ ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน พบว่า 1) ผู้เรียนมีค่าคะแนนเฉลี่ยความสามารถด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านเจตคติหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 2) ผลการวัดระดับความพึงพอใจต่อการใช้กิจกรรมการเรียนรู้บนเว็บแอปพลิเคชันฯ โดยภาพรวมอยู่ใน ระดับมากที่สุด (=4.59, S.D.=0.23) 3) ผลการวัดการสังเกตพฤติกรรมนักเรียนโดยภาพรวมการแสดงพฤติกรรม อยู่ในระดับมาก (=3.88, S.D.=0.58) และ 4) ผลการประเมินการใช้กิจกรรมการเรียนรู้บนเว็บแอปพลิเคชันฯ โดย ผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า ผู้ทรงคุณวุฒิมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับความเหมาะสมมากที่สุด (= 4.81, S.D. = 0.27)
Downloads
Article Details
References
จรัส พงเจริญ. (2560). ผลการเรียนด้วยเว็บแอปพลิเคชันการศึกษาโดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนโปรแกรมบนเว็บของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. [การค้นคว้าอิสระ ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์] มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ชลิดา จูงพันธ์ และนฤพจน์ พุธวัฒนะ. (2563). การศึกษาวิธีการจัดการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาในโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
(Eco–school): กรณีศึกษา โรงเรียนในจังหวัดปทุมธานี. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้, 11(1),
DOI: http://doi.org/10.14456/jstel.2020.7 http://ejournals.swu.ac.th/index.php/JSTEL/article/view/11549
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2540). การประชุมเชิงปฏิบัติการ “การผลิตชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์” คู่มือปฏิบัติการโรงเรียนเกษมพิทยา. ม.ป.ท.. ม.ป.ป.
ชุติมา ปาลวิสุทธิ์. (2562). การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันเพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 โรงเรียนอนุบาลราชบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร]. http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/bitstream/123456789/2690/1/58257302 .pdf
โชติมา กลิ่นบุบผา. (2562). รูปแบบการสอนแบบอิงประสบการณ์ร่วมกับการสอนด้วยแหล่งการเรียนรู้ในชุมชนเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทำงานกลุ่ม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ระดับประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดบ่อ (นันทวิทยา) นครปากเกร็ด. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม, 9(1), https://so01.tci-thaijo.org/index.php/e-jodil/search/authors/view?givenName=โชติมา&familyName=กลิ่นบุบผา&affiliation =&country=TH&authorName=กลิ่นบุบผา%2C%20โชติมา
ฐากร สิทธิโชค. (2559). การจัดกระบวนการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษาในสถานศึกษา. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 11(พิเศษ), https://so02.tci-thaijo.org/index.php/HUSOTSU/article/view/154620
ดาวรถา วีระพันธ์. (2561). ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บแอปพลิเคชัน. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 5(1), http://it.rmu.ac.th/itm-journal/downloads/entry/566
นิพนธ์ บริเวธานันท์, สัญชัย พัฒนสิทธิ์ และศศิฉาย ธนะมัย. (2562). การพัฒนารูปแบบเว็บแอปพลิเคชันด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือผ่านห้องเรียนไร้กรอบเพื่อ
ส่งเสริมการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสาหรับผู้เรียนระดับอุดมศึกษา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, 15(2),
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pkrujo/article/view/242200
ประเวศ อินทองปาน. (2559). พระพุทธศาสนากับสิ่งแวดล้อม. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ลัดดา ศิลาน้อย. (2545). ปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง: หลักการสู่ปฏิบัติ. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วิไลภรณ์ ฤทธิคุปต์. (2561). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน : กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพของครูในศตวรรษที่ 21. วารสารบัณฑิตศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 11(3), https://so01.tci-thaijo.org/index.php/crrugds_ejournal/article/view/169135
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2565, 18 มกราคม). นโยบายและแผนการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2540 – 2559. https://www.onep.go.th/book/นโยบายและแผนการส่งเสริ-2/
สุวิชา เกิดขำ. (2559). การพัฒนาชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ เรื่อง Amazing Nakhonchum สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์] มหาวิทยาลัยนเรศวร.
อาทิตยา ขาวพราย และ วารีรัตน์ แก้วอุไร. (2563). การพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดการจัดการเรียนการสอนตามสภาพจริงเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษาสำหรับนักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 22(3), 308–323.
Kolb, D. A.. (1984). Experiential learning: experience as the source of learning and development. Prentice – hall.
Martina J. (2022,19 Febuary). Introduction to community-based learning. Faculty of engineering, built environment and information technology. https://en.wikiversity.org/wiki/Introduction_to_Community-Based_Learning
Newmann, F. M., Secada, W. G., & Wehlage, G. G.. (1995). A guide to authentic instruction and assessment: Vision, standards, and scoring. Wisconsin center education.
Owens, T. R. & Wang, C. (1996). Community - based learning: a foundation for meaningful educational reform. University of Nebraska
Omaha.
Rovinelli, R.J. and Hambleton, R.K. (1977). On the Use Content Specialists in the Assessment of Criterin Reference Test Item Validity,
Dutch Journal of Educational Research, 2, https://psycnet.apa.org/record/1979-12368-001.