การพัฒนาบทเรียนดิจิทัล เรื่องการแก้ปัญหา โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

สุภาวดี บินดิโตวา
สัญชัย พัฒนสิทธิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนดิจิทัลเรื่องการแก้ปัญหา โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม ให้มีคุณภาพดีและมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนดิจิทัล เรื่องการแก้ปัญหา โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนดิจิทัลเรื่องการแก้ปัญหา โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนขจรทรัพย์อำรุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีเขต 1 ซึ่งเป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 มีทั้งหมดจำนวน 1 ห้องเรียน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) บทเรียนดิจิทัลเรื่องการแก้ปัญหา โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม 2) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การแก้ปัญหา โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม 3) แบบประเมินคุณภาพด้านเนื้อหา สื่อและวัดประเมินผล 4) แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่าดัชนีประสิทธิผล


ผลการวิจัยที่สำคัญพบว่า


1) บทเรียนดิจิทัล เรื่องการแก้ปัญหา โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม มีคุณภาพซึ่งประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับดีมาก ด้านเนื้อหามีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.72 ในด้านสื่อการเรียนการสอนมีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.90 ในด้านวัดและประเมินผลมีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.75 และมีค่าประสิทธิภาพ เท่ากับ 81/80.3 ซึ่งเป็นไปตามที่กำหนดไว้


2) ดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนดิจิทัล เรื่องการแก้ปัญหา โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม มีค่าเท่ากับ 0.76 ซึ่งแสดงว่าบทเรียนดิจิทัล ฯ สามารถทำให้ผู้เรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้ร้อยละ 76


3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อบทเรียนดิจิทัลเรื่องการแก้ปัญหาโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งมีค่าเฉลี่ย (μ=4.59 )

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article
Author Biography

สัญชัย พัฒนสิทธิ์, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ตำแหน่งทางวิชาการ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์
ตำแหน่งบริหาร :
คุณวุฒิการศึกษา : กศ.ด. (เทคโนโลยีการศึกษา) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
กศ.ม. (เทคโนโลยีการศึกษา) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม
ศศ.บ (การปกครอง) มหาวิทยาลัยรามคำแหง
สาขาที่เชี่ยวชาญ / สาขาที่สนใจ : เทคโนโลยีการศึกษา / วิทยาการคอมพิวเตอร์ / นวัตกรรมทางการศึกษา / จิตวิทยาการศึกษา / การสื่อสารเพื่อการพัฒนา

References

โกวิท ประวาลพฤกษ์. (2527). การประเมินในชั้นเรียน. ุไทยวัฒนาพานิช.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์. 5 (1)

http://www4.educ.su.ac.th/2013/images/ stories/081957-02.pdf

ธนพล กัณหสิงห์. (2562). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมผ่านการกระบวนการเรียนรู้แบบกรณีศึกษา เรื่อง ความหลากหลายทางสังคมและการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์] มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

เผชิญ กิจระการ และสมนึก ภัททิยธนี. (2561). ดัชนีประสิทธิผล (Effectiveness Index : E.I.) การวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 8, https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemmsu/article/view/154725

พรชัย เจดามาน และคณะ. (2559). ยุทธศาสตร์การพัฒนาเพื่อการบริหารจัดการสู่การเปลี่ยนผ่านศตวรรษที่ 21: ไทยแลนด์ 4.0. วารสารหลักสูตรและการเรียนการสอนคณะคุรุศาสตร์, 10(2), 1-14.

ไพฑูรย์ ศรีฟ้า. (2556). การผลิตสื่อการเรียนการสอนยุคใหม่สไตล์ AURASMA. กรุงเทพฯ: ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

รักษพล ธนานุวงศ์. (2556). สื่อเสริมการเรียนรู้โลกเสมือนผสมโลกจริง (Augmented Reality) ชุดการจมและการลอย นิตยสาร สสวท. 41(181), 28-31.

วัชรพัฒน์ ศรีคำเวียง. (2561, 21 กันยายน). วิทยาการคำนวณ (Computing Science).

https://www.scimath.org/lesson-technology/item/8808-computing-science

สุรัตนาพร ศักดิ์อุดมทรัพย์, สิทธิชัย ลายเสมา, สมหญิง เจริญจิตรกรรม และ น้ำมนต์ เรืองฤทธิ์. (2560). การพัฒนาสื่อเทคโนโลยีเสมือนจริงร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ KWDL ที่มีต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 14: ตามรอยพระยุคลบาท เกษตรศาสตร์กำแพงแสน 1024-1032).

อเนก พุทธิเดช, กานต์พิชชา แตงอ่อน และวาฤทธิ์ กันแก้ว. (2561). การพัฒนาบทเรียนเรื่องการประยุกต์ปริพันธ์จำกัดเขตโดยประยุกต์ใช้เทคนิคความจริงเสริมบนโทรศัพท์เคลื่อนที่สมาร์ทโฟน. การวิจัยสาขาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

Fitz-Gibbon, C. T., & Morris, L. L. (1987). How to design a program evaluation. Newbury Park: Sagh.