การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1ระหว่างการสอนโดยใช้นิทานมัลติมีเดียกับการสอนแบบปกติ

Main Article Content

ประภัสสร สอนจันทร์
กรวิภา สรรพกิจจำนง

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของนิทานมัลติมีเดีย วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างการสอนโดยใช้นิทานมัลติมีเดีย กับการสอนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนคลองกะจะ (พงษ์สมบัติบำรุง) เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร จำนวน 60 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/1 จำนวน 30 คน เป็นกลุ่มทดลอง สอนโดยใช้นิทานมัลติมีเดีย และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/2 จำนวน 30 คน เป็นกลุ่มควบคุม สอนด้วยวิธีการสอนแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) นิทานมัลติมีเดีย ชุดสองจิ๋วนักแก้ปัญหา พบว่า มีค่าเฉลี่ยผลการประเมินคุณภาพโดยภาพรวม เท่ากับ 4.48 อยู่ในระดับมาก 2) แผนการจัดการเรียนรู้ พบว่า มีค่าเฉลี่ยผลการประเมินคุณภาพโดยภาพรวม เท่ากับ 4.89 อยู่ในระดับมากที่สุด 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ พบว่า ข้อสอบกับจุดประสงค์การเรียนรู้มีความสอดคล้องกัน มีค่า IOC เท่ากับ 1.00 ทุกข้อ มีค่าความยาก (p) อยู่ระหว่าง 0.23-0.50 มีค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.20-0.40 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ เท่ากับ 0.88 ใช้แบบแผนการทดลองแบบ Randomized Group, Pretest-Posttest Design วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที แบบกลุ่มตัวอย่างที่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า นิทานมัลติมีเดียมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 82.50/85.25 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ 75/75 และผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างการสอนโดยใช้นิทานมัลติมีเดียสูงกว่านักเรียนที่เรียนโดยใช้การสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

ฉวีวรรณ เศวตมาลย์. (2545). การพัฒนาหลักสูตรคณิตศาสตร์. สุรีวิยาสาสน์.

ชวลิต ด้วงเหมือน. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หาร ระคน ด้วยเทคนิค KWDL ร่วมกับการใช้แผนภาพ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา].ฐานข้อมูลงานวิจัย Burapha University Library, https://webopac.lib.buu.ac.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00255539

ชัยยงค์ พรหมวงค์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), http://www4.educ.su.ac.th/2013/images/stories/081957-02.pdf

ซัยนัน โดยหะ และมูหัมมัดตอลาล แกมะ. (2563). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้นิทานคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย สาระการเรียนรู้อัลอัคลาก เรื่อง มารยาทในชีวิตประจำวันที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. MENARA : Journal of Islamic and Contemporary Issues (M-JICI), 1(1), 17-29.

ทิพยาภรณ์ ทนงค์. (2562). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดีย เรื่อง การเย็บตะเข็บผ้าพื้นฐาน วิชาการงานอาชีพ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม). [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร]. ฐานข้อมูลงานวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

ปานทอง กุลนาถศิริ. (2557, 25 มิถุนายน). การจัดการศึกษาคณิตศาสตร์ในศตวรรษที่ 21.

https://sites.google.com/site/snpinnrabawxin/home/nana-sara-kab-khnitsastr-1

พรไพลิน เฉิดละออ. (2562). การศึกษาประสิทธิภาพและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้สื่อการสอนมัลติมีเดีย วิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. สักทอง: วารสารวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี (สทวท.), 6(2), 101--109.

พิชญากาญจน์ นวชีวพัฒน์, รสริน พิมลบรรยงก์ และ วันวิสาข์ โชรัมย์ (2559). ผลการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบมัลติมีเดีย เรื่อง Shopping วิชาภาษาอังกฤษชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารราชพฤกษ์, 14(1),

https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Ratchaphruekjournal/article/view/91002

มนตรี วงษ์สะพาน. (2560). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์โดยใช้สื่อการเรียนรู้จากท้องถิ่น สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(2),

https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/88738

รสสุคนธ์ คนงาม. (2564). การสร้างเสริมคุณลักษณะจิตสาธารณะของเด็กปฐมวัย จากการจัดประสบการณ์โดยใช้นิทานมัลติมีเดีย ชุด ต้นอ้อกับกอแก้ว. ใน สำราญ บุญเจริญ (บรรณาธิการ). การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา สู่ชีวิตวิถีใหม่ ด้วยงานวิจัยทางสุขภาพและบริการ, 273-281. สำนักงานวิจัยและพัฒนา วิทยาลัยนครราชสีมา.

.

วิเชียร เกษประทุม. (2560). นิทานพื้นบ้าน. พัฒนาศึกษา.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). คู่มือการใช้หลักสูตร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551.สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สริพร ทิพย์คง. (2545). หลักสูตรและการสอนคณิตศาสตร์. บริษัท พัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.).

สุทธิณี ภาพพิมพ์ใจ. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรมมัลติมีเดีย เรื่อง เทคโนโลยีน่ารู้สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา]. ฐานข้อมูลงานวิจัย Burapha University Library, http://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/54921490.pdf