การเปรียบเทียบความสามารถการเขียนวิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค CIRC

Main Article Content

ภัทราวรรณ ประกอบเสริม
สาคร อัฒจักร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค CIRC ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการเขียนวิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค CIRC 3) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) การเขียนวิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้แบบ กลุ่มร่วมมือเทคนิค CIRC กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดผลาหาร อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 จำนวน 27 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 การสุ่มแบบความน่าจะเป็น โดยการสุ่มแบบกลุ่ม (cluster simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค CIRC ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 9 แผน เวลา 9 ชั่วโมง 2) แบบวัดทักษะการเขียนวิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เป็นแบบวัดชนิดปรนัย 3 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ใช้สำหรับวัดก่อนเรียนและหลังเรียนซึ่งเป็นแบบทดสอบชุดเดียวกัน มีค่าความยาก (P) ระหว่าง 0.24 ถึง 0.80 หาค่าอำนาจจำแนก (B) ระหว่าง 0.22 ถึง 0.84 และมีความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test (dependent Samples)


ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้


1. แผนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค CIRC ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.07/83.58 ตามเกณฑ์เกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้


2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค CIRC มีความสามารถการเขียนวิชาภาษาไทย หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01


3. ค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) ความสามารถการเขียนวิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค CIRC มีความก้าวหน้าในการเขียนวิชาภาษาไทย คิดเป็นร้อยละ 68.10

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. ชุมนุมการเกษตรแห่งประเทศไทย.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 5(1), http://www4.educ. su.ac.th/2013/images/stories/081957-02.pdf

ญาณินทร ไชยสงค์. และฐิติวรดา พลเยี่ยม (2562). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษโดยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 38(6) http://www.journal.msu.ac.th/upload/articles/article2566_80768.pdf

ทิศนา แขมมณี. (2562). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). หลักการวิจัยเบื้องต้น พิมพ์ครั้งที่ 8. สุวีริยาสาส์น.

เผชิญ กิจระการ (2554). การวิจัยและทฤษฎีเทคโนโลยีการศึกษา. ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

มุทิตา อุดรแผ้ว. และนิราศ จันทรจิตร (2560). การเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจและการเขียนภาษาอังกฤษชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ CIRC และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ KWL-Plus. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์. 3(3) https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Praewa-ksu_Journal/article/view /155132/112778

วัชรา เล่าเรียนดี. (2553). การนิเทศการสอน สาขาหลักสูตรและการนิเทศ. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2542). แผนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง พิมพ์ครั้งที่ 3. วัฒนาพานิช.

สมพร ช่อสูงเนิน. (2560. การเปรียบเทียบการอ่านและการเขียนสื่อความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ CIRC กับการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์. [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์] มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สํานักวิขาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์รับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1. (2563). รายงานผลการประเมินการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2563. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1.

Slavin and Stevens. (1987). Cooperative Learning : Theory, Research and Practice. Allyn and Bacon.