การพัฒนามัลติมีเดียแบบปฏิสัมพันธ์ เรื่อง ทศนิยม ร่วมกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนามัลติมีเดียแบบปฏิสัมพันธ์ เรื่อง ทศนิยมร่วมกับการจัดการเรียนรู้ เชิงรุกเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยมัลติมีเดีย แบบปฏิสัมพันธ์ เรื่อง ทศนิยมร่วมกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 75 3) ศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนมัลติมีเดียแบบปฏิสัมพันธ์ เรื่อง ทศนิยมร่วมกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อมัลติมีเดียแบบปฏิสัมพันธ์ เรื่อง ทศนิยมร่วมกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก งานวิจัยนี้ศึกษากับกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดสุขใจ จำนวน 23 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ สื่อมัลติมีเดียแบบปฏิสัมพันธ์ แบบประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาและสื่อ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติทดสอบ Wilcoxon signed rank test
ผลการวิจัยพบว่า
1) มัลติมีเดียแบบปฏิสัมพันธ์ เรื่อง ทศนิยมร่วมกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อเสริมสร้างความสามารถใน การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.00 / 82.56 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
2) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 75 พบว่า มีค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 80.86 ซึ่ง สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
3) ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังเรียน มีค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 83.26 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 4) นักเรียนมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Downloads
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). คู่มือการใช้หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาสาสตร์และเทคโนโลยี.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์. 5 (1), 1-20. http://www4.educ.su.ac.th/2013/images/stories/081957-02.pdf
ฐาปนี สีเฉลียว และธิดาวรรณ โพธิ์ทอง. (2562). ผลการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียโดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องการหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 . วารสารวิชาการ การจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม .6(2), 176-182 https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/itm-journal/article/view/231314
ณัฐกร สงคราม. (2553). การออกแบบและพัฒนามัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ ( Multimedia fore Learning : Learning &
development ). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฐวดี ธาตุดี. (2561). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) . วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, (17)2, https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/176881
ดาวรถา วีระพันธ์ และ ชุมพล จันทร์ฉลอง. (2562). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียแบบปฏิสัมพันธ์กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมป์, 14(3), 92-102.
เนาวนิตย์ สงคราม. (2556). การศึกษานอกสถานที่และการศึกษานอกสถานที่เสมือนจริงเพื่อการเรียนรู้เชิงรุก. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2543). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 6. สุวีริยาสาสน์.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2561). การเรียนเชิงรุกแบบรวมพลังกับPLC เพื่อการพัฒนา. : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พงษ์ศักดิ์ ไชยทิพย์. (2560). สื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ และกิจวัฒน์ จันทร์ดี. (2560). คู่มือออกแบบการสอนใน ศตวรรษที่ 21. มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2563, 7 มกราคม) . ผลการประเมิน PISA 2018: นักเรียนไทยวัย 15 ปี รู้และทำอะไรได้บ้าง, https://pisathailand.ipst.ac.th/issue-2019-48/
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) . (ม.ป.ป.). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ขั้นพื้นฐาน (O-NET), www.niets.or.th
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. บริษัทพริกหวานกราฟฟิคจำกัด.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ. (2562,30 เมษายน). พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553, https://www.sesao30.go.th/aca_detail.php?id=8
Anwar, M.S., Choirudin,C., Ningsih, E. F., Dewi, T., & Maseleno, A. (2019). Developing an Interactive Mathematics Multimedia LearningBased on Ispring Presenter in Increasing Students’ Interest in Learning Mathematics. Jurnal Pendidikan Matematika 10 (1): 135-150. https://doi.org/10.24042/ajpm.v10i1.4445